วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การจำหน่ายพัสดุตามที่ทางราชการกำหนดต้องทำอย่างไร

การจำหน่ายพัสดุตามที่ทางราชการกำหนดต้องทำอย่างไร

วันนี้จะขอพูดถึงวิธีการจำหน่ายพัสดุตามที่ทางราชการกำหนด โดยจะพูดหลักการโดยรวม จะพูดหลักปฏิบัติกันแบบจริง ๆ โดยให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ด้วย   ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นปัญหาค่อนข้างมากสำหรับการจำหน่ายพัสดุออกจากบัญชีคุมของทางราชการ  ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงออกเรื่องซื้อ ออกเรื่องสอบราคา ออกเรื่องประกวดราคา ออกเรื่อง e-Auction กันเป็นส่วนใหญ่  ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเรื่องจำหน่ายกันบ้างเลย   ทุกวันนี้ทุกหน่วยหน่วยงานออกเรื่องซื้อข้าวซื้อของกันมาเต็มไปหมด ของเก่า ๆ ก็กองสุมไว้ในห้องเก็บ หรือไม่ก็วางอยู่ด้านหลังตึกบ้าง ข้าง ๆ อาคารบ้าง ริมกำแพงบ้าง  ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี  จะเอาไปขายเศษเหล็กก็ไม่กล้า กลัวว่าจะผิดกฎหมายอีก  เลยปล่อยมันไว้อย่างนั้นแหละดีแล้ว  ไม่ต้องทำอะไร  ไม่เหนื่อยด้วย อยู่ไปวัน ๆ ดีแล้ว  

     หากทุก ๆ หน่วยงานคิดกันแบบนี้แล้ว ระบบราชการเมืองไทยก็จะไปกันใหญ่ หากเราควรที่จะช่วยกันทำไปทีละเล็กละน้อย ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะไม่เกิด บัญชีคุมต่าง ๆ ก็จะเรียบร้อย และยังมีที่ว่างสำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกด้วย  แต่ปัญหาก็คือว่าเราจะเริ่มกันอย่างไรดีล่ะถึงจะถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เรามาเริ่มต้นกันเลยดีกว่า    สมมุติว่าเราจะทำการจำหน่ายเก้าอี้ชำรุดสัก 100 ตัว ที่วางกองเป็นเศษเหล็กอยู่ด้านหลังหอประชุม ตามที่ หัวหน้างานได้สั่งงานเรา หรือว่าเราอยากที่จะหน่ายเองก็ได้  ได้ผลงานอีกด้วย  เอาเป็นว่าเราจะจำหน่ายเก้าอี้  100 ตัวก็แล้วกันน่ะ  เริ่มเลย
     1. เราก็รายงานซ่อมเก้าอี้จำนวน 100 ตัวก่อน   รายงานซ่อมไปที่หน่วยงานที่เป็นหน่วยซ่อมทำของเรา  เช่น กองสนับสนุน ,กองซ่อมบำรุง, กองบริการ หรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่  แต่หน่วยงานนี้มีหน้าที่ซ่อมทำตามระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ ก็เป็นพอ
     2. เมื่อเรารายงานการซ่อมทำเก้าอี้ จำนวน 100 ตัวไปแล้ว  เราก็จะนำส่งซากเศษเก้าอี้ที่ว่านั้นกี่ตัวก็สุดแล้วแต่  ที่พอจะนับตัวได้  หรือว่าคุยกับหน่วยงานซ่อมทำว่าต้องส่งซากไปหมดหรือไม่อย่างไรก็ว่ากันไป  
     3. เมื่อหน่วยงานซ่อมทำรับเรื่องเก้าอี้ จำนวน 100 ตัวแล้ว เขาก็จะดำเนินการตรวจสอบซ่อมทำว่าสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร เขาก็จะคิดคำนวณเองว่าต้องใช้เหล็กเท่าไร ลวดเชื่อมเท่าไร น็อตกี่ตัว สีกี่กระป๋อง อื่น ๆ อีกว่ากันไป   สุดท้าย ก็คำนวณออกมาว่าค่าซ่อมในแต่ละตัวเท่าไร  เช่นราคาเก้าอี้ตัว 500 บาท คำนวณค่าซ่อมต่อตัวแล้วประมาณ 400 บาท แบบนี้หน่วยงานซ่อมก็คิดคำนวณตามหลักเศรษฐศาสตร์ ว่าคุ้มค่ากับการซ่อมทำหรือไม่  หากไม่คุ้มก็จะรายงานไปที่ หน.ส่วนราชการว่า   แผนกของเราได้ส่งของไปให้เขาซ่อม  ได้ตรวจสอบซ่อมทำแล้วปรากฎว่าไม่คุ้มค่า เห็นควรยกเลิกการซ่อมทำ และให้หน่วยที่ส่งของมาให้ซ่อมทำนั้น ทำการเสนอขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง เก้าอี้ชำรุด จำนวน 100 ตัวนั้น ชำรุดอย่างไร ชำรุดโดยสภาพของการใช้งานปกติ หรือว่ามีบุุคคลทำให้ชำรุด    ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการชำรุดตามปกติ เสื่อมสภาพตามใช้งาน นั่นแหละ  (เห็นไหม ง่ายนิดเดียวเอง)
     4. เมื่อหน่วยงานซ่อม ได้ซ่อมเก้าอี้แล้ว ปรากฎว่าไม่คุ้มค่ากับการซ่อมทำ  เขาก็จะรายงานตามข้อ 3. กลับมาให้เรา  เราก็เสนอขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ในการชำรุดของเก้าอี้ 100 ตัว ว่าชำรุดแบบไหนอย่างไร เช่น ชำรุดเสื่อมสภาพตามการใช้งานปกติ  เป็นต้น แค่นี้เอง ง่าย ๆ 
     5. หน่วนต้นสังกัดก็จะทำการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงของเก้าอี้ จำนวน 100 ตัวที่ชำรุดต่อไป  (หน่วยที่มีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการ) เช่น หน่วยระดับกรม พล.ร.ต. เป็นต้น
     6. เมื่อหน่วยที่แต่งตั้งคณะกรรมการเรียบร้อย  คณะกรรมการฯ ที่มีชื่อตามรายชื่อที่ได้แต่งตั้งนั้นก็ทำการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงว่าเก้าอี้จำนวน 100 ตัว ที่ชำรุดนั้น เป็นการชำรุดแบบไหน อย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่ ในรายงานของคณะกรรมการฯ ก็จะรายงานว่า เป็นการชำรุดเสื่อมสภาพตามการใช้งานปกติ ไม่มีบุคคลใดเป็นผู้ที่ทำให้เก้าอี้ชำรุด ไม่ต้องมีผู้รับผิดชอบชดใช้ทางแพ่งแต่อย่างได เป็นต้น แค่นี้เอง ง่าย ๆ
     7. จากนั้น แผนกเราที่ส่งเก้าอี้ไปก็นำรายงานนั้นเสนอ ผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้น จนถึงผู้มีอำนาจในการอนุมัติจำหน่วยบัญชีต่อไป   
     8. เมื่อ หน.ส่วนราชการที่มีอำนาจในการอนุมัติจำหน่ายบัญชีแล้ว ก็จะส่งเรื่องตามลำดับชั้นมาจนถึงแผนกของเรา กองของเรา  เราก็ดำเนินการตัดบัญชีเก้าอี้ จำวน 100 ตัว ออกจากบัญชีคุม โดยแนบรายละเอียดการอนุมัติจำหน่ายไว้เป็นหลักฐานต่อไป หรือจะลงบันทึกหมายเหตุไว้ก็ได้ ว่าเอกสารการอนุมัติจำหน่ายบัญชีเลขที่เท่าไร ก็ได้ และเก็บเรื่องไว้เป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบต่อไป

ที่กล่าวมานี้เป็นการปฎิบัติตามขั้นตอนที่ดูเหมือนว่าจะซับซ้อนค่อนข้างยาก แต่ถ้าเรามาพิจารณาทำตามขั้นไปทีละขั้น ทีละขั้น ทำสักเรื่องหนึ่งแล้ว เรื่องอื่น ๆ ก็เหมือนกันเลย  หรือว่าเราจะหน่วยพัสดุที่ต่างรายการกันก็ได้ เช่น เก้าอี้  โต๊ะทำงาน ตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น  แต่ก็ควรที่จะอยู่ในหมวดเดี่ยวกันน่ะ  ไม่ใช่ข้ามหมวดหมู่ไป เช่น เก้าอี้ กับ รถยนต์บรรทุก ซึ่งมันต่างกันมากน่ะครับเจ้านาย......