วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 9

บทที่ ๓ เครื่องมือยกขน
ข้อ ๑ เครื่องมือยกขน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเคลื่อนย้ายพัสดุ ทำให้ประหยัด แรงงาน เวลาและค่าใช้จ่าย
ข้อ ๒ การยกขนคือ การเคลื่อนย้ายเข้าสู่ที่เก็บและยกขึ้นบรรทุกยานพาหนะ หรือยกลง
ข้อ ๓ ประเภทของเครื่องมือยกขนแบ่งได้ ๒ วิธี คือ
๑ แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ มี ๓ ชนิด คือ
๑ ชนิดเคลื่อนที่ คือ ยกขนได้ไกล เช่น รถยนต์
๒ ชนิดกึ่งเคลื่อนที ยกได้ขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่ ได้แก่ รถปั้นจั่น รางเลื่อน และ
๓ ชนิดอยู่กับที่ คือ สร้างติดกับที่ เช่น ลิฟท์
๒ แบ่งตามลักษณะเครื่องกำเนิดกำลัง มี ๓ ชนิด คือ กำลังพายใน กำลังภายนอก และอาศัยแรงดึงดูด เช่นลางเลื่อน

ข้อ ๔ การเลือกใช้เครื่องมือยกขน มี ๔ แบบ คือ
๑ เลือกใช้โดยยึดถือพันธกิจหลัก เช่น ลางเลื่อน
๒ เลือกประเภทมีกำลังในตัว คือ ปั้นจั่น, รถพ่วง ,รถยกของ ใช้ระยะไม่เกิน ๔๐๐ ฟุต รถลากจูงประกอบรถพ่วง
๓ เลือกที่ใช้มือ คือ รถเข็น ๒ , ๔ ล้อ
๔ เลือกตามลักษณะพื้นผิวการเก็บรักษาคือ การรับน้ำหนัก โครงสร้าง ผิวพื้น ประโยชน์ ประเภทและลักษณะ

ข้อ ๕ หลักการใช้เครื่องมือยกขน คือพิจารณาให้เกิดประโยชน์และประหยัด ที่สุดมีแนวทางการใช้คือ
๑ ยกขนให้น้อยที่สุด
๒ ใช้วิธีการและเครื่องช่วยมาตรฐาน
๓ ใช้เครื่องยกขนที่ใช้ได้หลายทาง
๔ ใช้เครื่องมือพิเศษให้น้อยที่สุด
๕ เอาปริมาณเป็นตัวกำหนดวิธียกขน
๖ วางแผนล่วงหน้า
๗ ระยะทางและจำนวนครั้งให้น้อยที่สุด
๘ ใช้เครื่องมือตามขีดความสามารถ
๙ วิเคราะห์หาและกำหนดวิธีการใช้
๑๐ ยกขนให้เต็มความสามารถ
๑๑ ใช้เครื่องช่วยให้เหมาะแก่พัสดุ
๑๒ ยกขนเป็นเส้นตรง
๑๓ ปฏิบัติตามแผน
๑๔ ใช้เครื่องมือที่ใช้มือให้มากที่สุด และ
๑๕ พยายามให้เคลื่อนที่ใน ทางราบให้มากที่สุด

ข้อ ๖ เครื่องมือยกขนทีใช้ในคลัง มี ๓ ชนิดคือ
๑ รถเข็นด้วยมือ
๒ รถฉุดและรถพ่วง
๓ รถโฟคลิฟ ขนาด ๔พันปอนด์ใช้ช่องทาง ๑๐ ฟุต ๖ พันใช้ ๑๑ ฟุต

ข้อ ๗ ประโยชน์ ของรถโฟคลิฟ คือ ขนย้ายของที่มีน้ำหนักหรือขนาดรูปร่างต่างกัน ดีกว่าใช้แรงคน ทำการซ้อนสูงได้ป้องกันความเสียหายพัสดุให้น้อยลง ทุ่นเวลาและลดค่าใช้จ่าย แต่ผู้ใช้ต้องชำนาญ และพื้นที่ต้องเรียบ และแข็งแรงพอ

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 8

ข้อ ๑๒ ที่เก็บพัสดุตามคุณลักษณะเฉพาะ มี ๓ วิธีคือ
๑ พัสดุอันตราย เช่น ฟอสฟอรัสเก็บในน้ำ และ เอซิติลิน เก็บในที่แห้ง ไม่เช่นนั้นไปลุก
๒ พัสดุมีราคา เช่น นาฬิกา เครื่องเงิน ของที่ระลึก เก็บในที่ควบคุมความปลอดภัย
๓ พัสดุเสื่อมคุณสมบัติได้ง่าย ต้องทราบวิธีเก็บรักษาโดยเฉพาะ เช่นต้องเก็บในห้องเย็นหรือสถานที่ควบคุมอุณหภูมิ
ข้อ ๑๓ ทิศทางในการเก็บพัสดุ ทิศทางในการเก็บพัสดุเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดพื้นที่คลัง
๑ วิธีกอง คือ จัดวางในพาลเลทให้แน่น
๒ วางพาลเลทจากกำแพงก่อนเสมอ ซ้อนให้สูงที่สุดแล้วเรียงเข้าหาทางเดิน โดยหันหน้าออกทางเดินขวางเสมอ
๓ ความสูงเท่าที่พื้นคลังรับได้
๔ จัดวางแต่ละแถวให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
๕ พัสดุรายการใหญ่ส่วนมากให้กับคลังชั้นเดียวมาตรฐานคือ ขนาด ๒๐๐ x ๖๐๐ ฟุต
๒ ทิศทางการจัดวางในห้องพื้นที่ขนาดใหญ่ คือ
๑ แถวขวาง หันหลังชนกันเป็นแนวขนานกับความยาว
๒ การใช้เส้นทางถ้าไม่ค่อยได้ใช้งาน ทิศทางจะหันหลังออกสู่ทางเดินหลัก
๓ การขนออกจากกอง ขนที่ละแถวเริ่มจากทางเดินไปหาผนัง
๔ พัสดุรายการย่อย กองขนาดเล็กเก็บในชั้นเก็บของและวางติดกับทางเดินหลัก ความลึกของกองไม่เกิน ๑๐ ฟุต กองขนาดกลางหลังชนข้างกองใหญ่ ลึก ๑๐ – ๑๒ ฟุต
๓ การกำหนดทิศทางในการจัดวาง คือ
๑ วิธีทางถึงทาง ใช้กับพัสดุรายการเดียว
๒ หลังชนกัน ใช้กับพัสดุต่างรายการ และ
๓ หลังชนข้าง ให้กับพัสดุกองขนาดต่าง ๆ คละกัน
ข้อ ๑๔ พื้นที่สูญเปล่าแบบรวงผึ้ง คือ การเก็บพัสดุและนำออกจากกองทำให้เกิดพื้นที่ว่างแล้วไม่สามารถเก็บพัสดุอื่นได้ปกติเกิดจากการเก็บและเคลื่อนย้ายพัสดุไม่ถูกหลักการ ถ้าป้องกันไม่ได้ ก็ให้เกิดน้อยทีสุด ยึดหลักต่อไปนี้คือ
๑ จัดเก็บในแถวสั้น ๆ หลายแถว
๒ เรียงจากด้านหลัง
๓ เก็บให้สูงที่สุด
๔ วางแผนการจัดคลังใหม่ล่วงหน้า
๕ จัดพาลเลทให้แน่นที่สุด และ
๖ ขนพัสดุออกจากแถวให้หมดทีละแถว

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 7

หลักการจัดคลังมี ๘ ข้อ คือ
๑ จะต้องป้องกันพัสดุไม่ให้ถูกขโมย และความเสียหายต่าง ๆ
๒ จัดวางพัสดุให้ง่ายต่อการนำออกจ่ายและเก็บ
๓ จะต้องจัดวางพัสดุให้พร้อมตรวจสอบและตรวจนับ
๔ ไม่ปล่อยให้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้เหลืออยู่
๕ เก็บพัสดุไม่ให้เกินความสามารถของพื้นคลัง
๖ กองพัสดุต้องไม่กีดขวางระบบดับเพลิงและเครื่องมือดับเพลิง
๗ วางพัสดุแยกตามชนิดและย่อยออกไปตามรายการต่าง ๆ
๘ แยกเก็บพัสดุติดไฟและวัตถุระเบิด
ข้อ ๘ ช่องทางโดยทั่วไป ช่องทางเดินทุกชนิดต้องเป็นเส้นตรง ควรตรงออกสู่ประตูเสมอและต้องผ่านพัสดุให้มากรายการที่สุด ช่องทางที่ใช้ในการจัดของ ทร. มี ๕ ชนิด
๑ ช่องทางใหญ่ ทอดตามความยาม มีจำนวน ๒ ทาง กว้าง ๑๐ – ๑๒ ฟุต ขึ้นกับเครื่องมือที่ใช้
๒ ช่องทางขวาง ทอดไปตามความกว้างขวางทางเดินใหญ่ มี ๒ ทาง กว้างประมาณ ๖ ฟุต พอที่รถยก๑ คันทำงานได้
๓ ช่องทางบุคคล ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรมีเพราะเปลืองพื้นที่
๔ ช่องทางดับไฟ จำเป็นสำหรับคลังทุกคลัง แต่ต้องมีให้น้อยและแคบที่สุด กว้างไม่เกิน ๒๔ นิ้ว
๕ ช่องทางบริการเป็นช่องทางที่เข้าถึงพัสดุเพื่อตรวจนับ ตรวจคุณภาพ ช่องทางนี้ไม่จำเป็น จัดเฉพาะพัสดุพิเศษ
ข้อ ๙ หลัก ๓ ประการในการเก็บรักษาพัสดุ คือ
๑ ความปลอดภัย สำคัญประการแรกที่สำคัญ เก็บพัสดุไม่ให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือพัสดุชำรุดเสียหาย
๒ เข้าถึงพัสดุ เพื่อสะดวกในการจ่ายและเก็บโดยมีหลักการคือ พัสดุจ่ายเสมอเอาไว้ใกล้เคาเตอร์ ไม่วางพัสดุต่างชนิดซ้อนกันหรือวางข้างหลัง และ การหมุนเวียนการจ่าย คือ รับก่อนจ่ายก่อน
๓ ความเป็นระเบียบ โดยใช้อุปกรณ์ในการเก็บ คือ ขนาดเล็กเก็บใน bin , พัสดุเป็นโลหะท่อนเก็บไว้บนชั้น , พัสดุพวกเชือกที่เป็นขดเก็บในกระบะ , พัสดุที่บรรจุหีบเก็บในชั้นโครง

ข้อ ๑๐ อุปกรณ์การจัดวาง แบ่งออกเป็น ๖ ชนิดคือ
๑ ตู้ลิ้นชักเก็บของ โดยทั่วไป มีขนาด ๓๖x ๘๗x๘๗ ลึก ๑๘ นิ้ว และมี ๑๒ ลิ้นชัก
๒ ช่องเก็บพัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือแท่งยาว
๓ กระบะหรือ พาลเลท คือ กระบะแบน ขนาด ๔๘x๔๘ นิ้ว กระบะโครงรูปหีบปิด ขนาด ๔๐x๔๘x๔๕ นิ้ว และ
กระบะรูปโครงหีบเปิด , กระบะรูปตัวยู ใช้กับพัสดุซ้อนด้วยตัวเองสูงไม่ได้
๔ กรอบไม้ ใช้สวมตอนบนของพัสดุ
๕ แผ่นไม้กันกลิ้ง
๖ ชั้นโครง ใช้สำหรับสอดกระบะแบนที่เก็บพัสดุ

ข้อ ๑๑ แผนการจัดคลัง โดยทั่วไปมี ๓ วิธีคือ
๑ การจัดเก็บพัสดุตามความคล้ายคลึง คือจัดเก็บตามจำพวก หรือ จัดเรียงตามประเภท
๒ การจัดเก็บพัสดุตามความนิยม คือ จัดตามความเคลื่อนไหวหรือการหมุนเวียนของพัสดุแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ
๑ หมุนเวียนในการจ่ายช้า คือ ไม่ค่อยจ่าย หมดเปลืองช้า ส่วนมากประเภท ครุภัณฑ์
๒ หมุนเวียนในการจ่ายปานกลาง คือ ไม่จ่ายบ่อยนัก หมดเปลืองช้า เช่น เชือก ลวด
๓ หมุนเวียนในการจ่ายเร็ว คือ จ่ายเสมอ ๆ หมดเปลืองเร็ว เช่น กระดาษ ดินสอ
๓ การจัดวางตามขนาด เนื่องจากระดับปริมาณพัสดุเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเสมอ มี ๔ ขนาด คือ
๑ กองขนาดใหญ่ ๒ กองขนาดกลาง ๓ กองขนาดเล็ก ๔ พัสดุใส่ใน

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 6

บทที่ ๒ การจัดคลัง
ข้อ ๑ การจัดคลังต้องคำนึงถึง การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากทีสุด เก็บพัสดุให้มากที่สุด และต้องรับจ่ายได้สะดวกและปลอดภัย
ข้อ ๒ พื้นที่ที่ใช้ในการเก็บพัสดุ มี ๖ พื้นที่ คือ
๑ พื้นที่ทั้งหมด คือ พื้นที่เก็บพัสดุทั้งหมด คำนวณได้จากกว้างคูณยาว
๒ พื้นที่สุทธิใช้ได้คือ พื้นที่ที่ใช้เก็บพัสดุโดยแท้จริง ไม่รวมช่องทาง พื้นที่รับจ่าย บันใดและที่ทำงาน
๓ พื้นที่ว่าง คือ พื้นที่ที่ใช้เก็บพัสดุที่เหลืออยู่
๔ พื้นที่ว่าแฝง คือ พื้นที่ที่ได้คืนมาโดยการจัดคลังใหม่หรือเปลี่ยนแปลงการเก็บพัสดุ
๕ พื้นที่สูญเปล่า คือ พื้นที่ที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์เก็บพัสดุไม่ได้ ระเบียง บันใด ห้องสุขา สิฟท์ ช่องทางต่าง ๆ
๖ พื้นที่ใช้ในการสนับสนุนการเก็บรักษา คือพื้นที่ที่ใช้ในการสนับสนุนการทำงานเช่น ห้องห้องต่าง พื้นที่รับส่ง ฯ
ข้อ ๓ แผนการจัดวางพัสดุ มี ๔ ประการคือ
๑ ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
๒ การประหยัดแรงงานและเวลา
๓ สามารถเข้าถึงพัสดุได้โดยเร็ว
๔ ให้ความคุมครองต่อพัสดุได้ดีที่สุด

ข้อ ๔ ลักษณะและความจุของคลังที่เก็บรักษา จัดเก็บพัสดุได้เท่าใดขึ้นอยู่กับ
๑ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ประตู ผนัง เสา ความสามารถในการรับนำหนักของพื้นคลัง ความสูงของเพดาน
๒ คุณลักษณะของพัสดุ คือ ขนาด รูปร่าง ลักษณะการบรรจุหีบห่อ

ข้อ ๕ ทรวดทรงและขนาดของกองพัสดุ
๑ กองเดี่ยวซ้อนสูง คือ พัสดุ ๑ หีบห่อกองสูง ๒ ชั้นขึ้นไปกองเดี่ยวสมบูรณ์ คือกองสูงจนเต็มความสามารถ
๒ กองแถวซ้อนสูง คือ กองพัสดุเกินกว่า ๑ กอง วางซ้อนสูงขึ้นไปเรียงติดกันตามทางลึก
๓ กองลูกบาศน์ คือกองพัสดุในทางสูง ตั้งแต่ ๒ ชั้นและ ๒ แถวขึ้นไป
๔ ชั้น คือ ชั้นของกองพัสดุ

ข้อ ๖ ขนาดของกอง คือ กองขนาดเล็ก มีพัสดุน้อยกว่า หนึ่งกองเดี่ยวสมบูรณ์ กองขนาดกลาง ไม่เกิน ๓ กอง และขนาดใหญ่ เกินกว่า ๓ กอง หรือ ขนาด ๑ คันรถ

ข้อ ๗ หลักการจัดคลังและเก็บรักษา ขั้นแรกแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑ พื้นที่ทำงาน ๒ ช่องทาง ๓ พื้นที่ใช้เก็บพัสดุ

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 5

มาตรการควบคุมโดยทั่วไป โดยอาศัยการตรวจเป็นหลัก คือ การตรวจเมื่อรับพัสดุ คือตรวจด้วยสายตา การตรวจขณะเก็บรักษา โดยเจ้าหน้าที่ ฯ และตรวจขณะจ่าย คือ ตรวจพัสดุและตรวจยานพาหนะที่ใช้บรรทุกด้วย , การตรวจเสบียงใช้แสงสว่างตรวจหาแมลง , การตรวจผลิตภัณฑ์ด้ายทอ ใช้ยาฆ่าแมลงชนิดไอระเหย , การตรวจผลิตภัณฑ์จากไม้ ดูตามช่องและรอยแตก , การตรวจเครื่องใช้ประจำบ้าน ให้ตรวจอย่างถี่ถ้วนและให้ใช้ยาป้องกันแมลง พื้นที่เก็บใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผง
๓ มาตรการควบคุมแมลง คือ
๑การควบคุมอุณหภูมิ ถ้า ๔๐ ถึง ๕๐องศา แมลงจะหยุดการเจริญเติมโต และจะตายเมื่อ ต่ำกว่า ๓๐ องศา
๒ การอบหรือรมควัน จะได้ผล เมื่ออุณหภูมิ๖๐ องศา
๓ การฉีดยาฆ่าแมลง คือ ฉีกทิ้งไว้ใช้ยาชนิดผง หวังผลระยะยาว ๓ - ๙๐ วันใช้ตัวยาผสมดีดีทีไม่น้อยกว่า ๗๕% ฉีดถูกตัว ลำลายโดยเฉพาะ ใช้ยาผสมดีดีที ๑๐๐% และลีนเดน ๒% และการจุ่ม ให้จุ่มในดีดีที ลีนเดนหรือเบนซินเฮกซาครอไรด์ ๓ นาทีหรือมากกว่า
๔ มาตรการคาบคุมหนู คือ กำจัดอาหารและรัง ป้องกันการเข้า ให้ปิดช่อง ขนาด ๑/๔นิ้วขึ้นไปและสูงไม่เกิน ๔ ฟุต การเบือ และการใช้กับดัก

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 4

การสำรวจและตรวจสอบที่เก็บ
๑ ระยะเวลาการสำรวจ ตามความจำเป็นและต้องการ ปกติสำรวจตรวจสอบปีละ ๒ ครั้ง ถ้าจำเป็นไม่เกิน ๔ ครั้ง
๒ วิธีการสำรวจตรวจสอบ ทำได้ ๒ วิธี คือ
๑ จากบัตรไปยังที่เก็บใช้กับ จนท.ควบคุมบัตร
๒ จากที่เก็บไปหาบัตรใช้กับ จนท.คลังหรือผู้บังคับบัญชาที่ไปตรวจคลัง

ข้อ ๙ การสำรวจ
๑ ความรับผิดชอบ คือ พัสดุทั้งหมด ที่มีอยู่ในบัญชีที่เก็บไว้ในคลังพัสดุ คลังรับฝาก และขณะขนส่ง
๒ ความมุ่งหมาย เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบัญชี เช่น ตรวจนับจำนวน ตรวจสอบที่เก็บ
๓ การวางแผนและการเตรียมการสำรวจพัสดุ ต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ จำนวน ๗ ข้อ คือ
๑ จำนวนรายการและปริมาตรของพัสดุที่ทำการสำรวจ
๒ จำนวนที่ตั้งทางการเก็บรักษาที่ต้องทำการสำรวจ
๓ ผลการปฏิบัติการที่คาดไว้ล่วงหน้า
๔ ตารางวงรอบการสำรวจ
๕ ระยะเวลาสูงสุดที่ใช้ในการปฏิบัติ
๖ ความต้องการแรงงาน
๗ สิ่งที่ต้องเพ่งเล็งความถูกต้องเป็นพิเศษ
๔ ประเภทของการสำรวจ มี ๓ แบบ คือ
๑ สำรวจเบ็ดเสร็จ สำรวจทั้งหมด ปิดการรับจ่าย ในเวลาที่กำหนด ยกเว้น กรณีฉุกเฉิน
๒ การสำรวจหมุนเวียน สำรวจตามปกติหมุนเวียนกันไปตามตารางการสำรวจ
๓ สำรวจพิเศษ ทำเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นหรือคำส่ง ส่วนมากกระทำเมื่อ
๑ ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจสั่งสำรวจ
๒ พัสดุเกิดอันตราย
๓ หน่วยควบคุมบัญชีต้องการตรวจสอบจำนวน
๔ ที่เก็บคลาดเคลื่อน
๕ ยอดของคลังเป็นศูนย์
๖ คลังประท้วงการจ่าย
๗ เมื่อพบพัสดุถูกทอดทิ้ง
๕ ระยะเวลาการสำรวจ โดยทั่วไปอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และมีพัสดุบางประเภทที่ต้องสำรวจเป็นพิเศษคือ นำมันจำนวนใหญ่ ทุก ๑ เดือน พัสดุในร้านค้าเสื้อผ้าและศูนย์บริการ ทุก ๖ เดือน

ข้อ ๑๐ การตรวจสอบสภาพ
๑ ความรับผิดชอบ ผู้บังคับบัญชาที่ตั้งทางการส่งกำลังบำรุง คือ กบ. รับผิดชอบในการวางแผน กำหนดวิธีการและตารางการตรวจสอบ โดยมี จนท.ฝ่ายป้องกันและรักษาทำร่วมกับ จนท.คลังพัสดุ
๒ ความมุ่งหมาย เพื่อเป็นหลักประกันว่าพัสดุอยู่ในสภาพที่จะแจกจ่ายได้เสมอ และทันที
๓ ประเภทของการตรวจสอบ มี ๓ ลักษณะคือ ตรวจสอบด้วยสายตา ใช้สำหรับ จนท.คลัง
ตรวจสอบโดยประมาณ ไม่เกิน ๑๐ % และ ตรวจสอบอย่างเต็มที่ คือ ตรวจสอบสภาพพัสดุทุกชิ้นโดยละเอียด
๔ ความถี่ของการตรวจสอบสภาพ ขึ้นอยู่กับ ชนิดและประเภท แบบการเก็บรักษา อายุงาน หีบห่อ ฯ เช่น เสบียง ตรวจสอบเมื่อได้รับ ก่อนหมดสัญญา ๓๐ วัน หลังหมดสัญญา ๑๒๐ วัน และต่อไปทุก ๙๐วันและเมื่อจ่ายออก
เสื้อผ้าสิ่งทอและพัสดุทั่วไป คือ เสื้อกันฝน เต็นท์ ทุก ๒ ปี ด้ายถัก ทุก ๓ ปี ภาชนะบรรจุน้ำมัน ปีละ ๒ ครั้ง เครื่องมือยกขนและยานยนต์ ทุก ๖ เดือนและก่อนจ่าย และ พื้นที่เก็บรักษา ทุก ๓๐ วัน

ข้อ ๑๑ สาเหตุแห่งการเสื่อมเสียและมาตรการควบคุมโดยทั่วไป
๑ สาเหตุแห่งการเสื่อมเสียโดยทั่วไป สำเหตุใหญ่ ๆ ที่สำคัญ มี ๘ ข้อ คือ
๑ แบบของการเก็บรักษา
๒ คุณลักษณะของพัสดุ
๓ การบบรรจุหีบห่อ
๔ กรรมวิธีการผลิต
๕ ความเสียหายจากการยกขน
๖ สภาพดินฟ้าอากาศ
๗ จุลลินทรีย์
๘ สัตว์ต่าง ๆ เป็นสำเหตุสำคัญที่สุด

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 3

ข้อ ๘ ระบบการแจ้งที่เก็บ คือ การกำหนดส่วนต่าง ๆ ภายในคลัง มี ๕ ข้อ คือ
๑ ส่วน คือ พื้นที่แบ่งย่อยภายในคลังปกติความกว้างยาวจะเท่ากับระยะห่างคือ เสาถึง เสา กำหนดลำดับเป็นตัวอักษร
๒ ห้องพื้นที่ คือ พื้นที่ย่อยภายในส่วน กำหนดลำดับเป็นตัวอักษร
๓ แถว คือ แบ่งพื้นที่ย่อยเป็นแนวตามความยาว กว้าง ของอาคาร เป็นแถวยาวและแถวขวาง
แถวยาว ลำดับตัวเลข ๑ ถึง ๕๐ และ แถวขวาง ๕๑ ขึ้นไป เรียงลำดับจากซ้าย ไป ขวา
๔ กอง เป็นจุดตั้งของพัสดุ เป็นตัวเลขเดียวกับแถวยาวหรือแถวขวาง
๕ ชั้น คือ แต่ละชั้นของชั้นเก็บของ
การแจ้งที่เก็บมีความมุ่งหมายเพื่อเก็บความสะดวกและแน่นอนรวดเร็วในการค้นหา มีหมายเลขแสดงจุดที่เก็บ ๓ หมู่ หมู่ละ ๓ ตำแหน่ง รวม ๙ ตำแหน่ง คือ

OOO OOO OOO

คืออาคาร และ ชั้นของอาคาร หมายเลขแถว หมายเลขชั้นของกอง และ หมายเลขกอง

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 2

ข้อ ๕ ภารกิจต่อเนื่อง นอกจากภารกิจหลักทั้ง ๑๑ ข้อ แล้วยังมีภารกิจอื่นเพื่อความสมบูรณ์ของการเก็บรักษา มี ๓ ข้อ คือ
๑ การรักษาความปลอดภัย คือการจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่อาคารและสถานที่ในความรับผิดชอบเช่น ยาม
๒ การป้องกันอันตราย คือการจัดมาตรการ ระเบียบวิธีการเพื่อป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดกับบุคคล อาคาร สถานที่และพัสดุ
๓ การป้องกันต่าง ๆ คือ วางมาตรการป้องกัน อัคคีภัย สัตว์ แมลง และภัยธรรมชาติ

ข้อ ๖ การแบ่งชั้นการเก็บรักษา แบ่งออกเป็นขั้น ๆ ตามระยะเวลาการเก็บพัสดุ โดยใช้สถิติการจ่ายและความต้องการ ๓ ข้อ
๑ การเก็บระยะสั้น ไม่เกิน ๖ เดือน
๒ การเก็บรักษาสำรอง ไม่เกิน ๓ ปี
๓ การเก็บระยะยาว เกิน๓ ปีขึ้นไป

ข้อ ๗ แบบการเก็บรักษา ขึ้นอยู่กับปัจจัยในเรื่องจำนวน อาคาร จำนวนและลักษณะของพัสดุและนโยบายแบ่งเป็น ๒ แบบคือ
๑ เก็บรักษาภายในอาคาร แบ่งตามลักษณะอาคารได้ ๒ ประเภท คือ
๑.๑ คลังทั่วไป กว้างไม่เกิน ๒๐๐ฟุต ยาวไม่น้อยกว่า๒๐๐ ฟุต และสูง ๑๘ – ๒๐ ฟุต
๑.๒ คลังพิเศษ ใช้เก็บพัสดุลักษณะพิเศษ เช่น คลังเก็บเย็น พัสดุไวไฟ วัตถุระเบิด
๒ เก็บรักษากลางแจ้ง คือ ใช้ พื้นที่กลางแจ้ง โดยไม่ใช้ อาคารและสิ่งปลุกสร้าง กระทำได้ ๒ ลักษณะคือ
๒.๑ การเก็บรักษาในพื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุงเสริมแต่งแล้ว เป็นการเก็บค่อนข้างถาวร มีการเตรียมการ ปรับปรุง พื้นที เช่น ทางระบายน้ำ บดแน่น เทคอนกรีต
๒.๒ การเก็บรักษาในพื้นที่ที่ไม่มีการปรับปรุง คือ การเก็บในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือเก็บพัสดุที่ซ่อมใช้ไม่ได้

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ
บทที่ ๑ การปฏิบัติงานของคลัง
ข้อ ๑ กล่าวทั่วไป คือ การจัดคลังและการเก็บรักษาเป็นหัวใจของคลัง
ข้อ ๒ การจัดคลัง หมายถึง กรรมวิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติต่อพัสดุ นับตั้งแต่พัสดุเข้าสู่สายการส่งกำลังทหาร ไม่ว่าจะรับมาจากแหล่งผลิต หรือแหล่งอื่นใด รวมทั้ง การจัดการ เก็บรักษา แจกจ่าย จนถึงการจำหน่ายพัสดุออกจากสายการส่งกำลังทางทหาร
๑ warehousing การจัดคลัง คือการรับ เก็บรักษาและจ่ายพัสดุให้ปลอดภัยและรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
๒ shipping การส่งพัสดุ คือ กรรมวิธีในการวางแผนการขนส่ง การยกสิ่งของหรือยุทธภัณฑ์ให้แก่ผู้รับ และการขนส่งจะมีประสิทธิภาพคือผู้ใช้ได้รับพัสดุตรงตามเวลา ตามจำนวน และมีสภาพเรียบร้อย
๓ storage การเก็บรักษาคือ การรวบรวมพัสดุจากแหล่งต่าง ๆ มาครอบครองและป้องกันไว้จนกว่าจะแจกจ่ายออกไป
๔ stowage การเก็บพัสดุ คือ การบรรทุกพัสดุลงในระวางเรือเพื่อนำไปแจกจ่าย และขณะที่อยู่ในเรือจะต้องป้องกันไม้ให้เกิดความเสียหายจนกว่าจะได้แจกจ่ายออกไป
ข้อ ๓ ปัจจัยมูลฐาน การปฏิบัติงานของคลังจะสำเร็จโดยสมบูรณ์ ต้องมีปัจจัยมูลฐาน ๔ ข้อ คือ
๑ พื้นที่ คือ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่ต่าง ๆ ที่ใช้ปฏิบัติงานพัสดุได้
๒ กำลังพล คือ จนท.ที่ใช้ดำเนินการทั้งหมด
๓ เครื่องมือทุ่นแรง คือ เครื่องมือทุ่นแรงต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติการพัสดุ
๔ การจัดการ คือ การกำหนดวิธีการ และมาตรการต่าง ๆ ในการทำงานเพื่อให้สำเร็จในภารกิจ
ข้อ ๔ พันธกิจของคลังพัสดุ ประกอบด้วย ๑๑ ข้อ
๑ การรับ คือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่จะต้องทำในการรับพัสดุ ตั้งแต่ได้รับข่าวสารจนถึง การเก็บเข้าคลัง
๒ การตรวจพิสูจน์ คือการตรวจพัสดุต่าง ๆ นั้นดูว่าเป็นพัสดุชนิดใดโดยอาศัยหมายเลขพัสดุ เป็นหลัก
๓ การตรวจสอบ คือ ตรวจสอบเกี่ยวกับปริมาณ คุณภาพ ความเสียหายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับพัสดุที่ครองครอง
๔ การคัดแยกประเภท คือ การคักแยกประเภทพัสดุที่รับหรือเก็บไว้ว่าเป็นของดี หรือชำรุด ชำรุดซ่อมได้หรือไม่ได้
๕ การเก็บ คือ การวางแผนการจัดวางพัสดุ การใช้พื้นที่ เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ในการเก็บ
๖ การป้องกันรักษา คือ การวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ ที่จะป้องกันพัสดุไม่ให้เสื่อมเสีย และรักษาให้คงสภาพและคุณสมบัติ ให้พร้อมจ่ายได้ทันที
๗ การสำรวจ คือ กรรมวิธีที่ปฏิบัติต่อพัสดุ เพื่อให้ทราบ ปริมาณพัสดุที่รับผิดชอบ เพื่อรักษาและตรวจสอบความถูกต้องระหว่างปริมาณที่เก็บและปริมาณทางบัญชี
๘ การเลือกสรร คือเป็นการเลือกจ่ายพัสดุที่รับมาก่อนจ่ายก่อน หมุนเวียนการจ่ายเพื่อให้พัสดุที่เก็บไว้ใหม่อยู่เสมอ
๙ การผูกมัด และการบรรจุหีบห่อ คือ การทำเพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายและขนส่ง
๑๐ การทำรายละเอียดประจำพัสดุ ก่อนนำพัสดุเข้าเก็บจะต้องเขียนหมายเลขพัสดุ ชื่อและหน่วยที่จ่ายติดไว้ให้ชัดเจน ยกเว้น พัสดุสำรองคลังเก็บในช่องเก็บพัสดุต่าง ๆ
๑๑ การส่ง คือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่ทำเพื่อส่งพัสดุไปให้หน่วยใช้

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ ๒๕๒๘ (ตอน 7)

คลังใหญ่มีทั้งหมด ๑๑ คลัง คือ
๑ คลังพลาธิการ
๒ คลังพัสดุการช่าง
๓ คลังเครื่องสรรพาวุธ
๔ คลังเวชบริภัณฑ์
๕ คลัง เครื่องมือเดินเรือและอุตุนิยมวิทยา
๖ คลังวิทยาศาสตร์
๗ คลังเครื่องช่วยการศึกษาและตำรา
๘ คลังพัสดุการขนส่ง
๙ คลังพัสดุช่างโยธา
๑๐ คลังอิเล็กทรอนิกส์
๑๑ คลังพัสดุอากาศยาน
เนื่องจากมีพัสดุบางประเภทมีคลังใหญ่หลายคลังร่วมรับผิดชอบ ดังนั้นจึงแบ่งขอบเขตความรับ ผิดชอบแบ่งแยกตามภารกิจของคลังใหญ่ดังนี้ มี ๔ ข้อคือ
๑ คลังพัสดุช่าง รับผิดชอบเฉพาะพัสดุที่เกี่ยวกับเรือ รถรบ และยานพาหนะลำเลียงขนส่งทางน้ำ
๒ คลังพัสดุการขนส่ง รับผิดชอบเฉพาะพัสดุที่เกี่ยวกับยานพาหนะลำเลียงขนส่งทางบก ยกเว้น รถรบ
๓ คลังพัสดุช่างโยธา รับผิดชอบเฉพาะพัสดุที่ใช้ในเครื่องทุ่นแรงงานบกและงานสายช่างโยธา
๔ คลังพัสดุอากาศยาน รับผิดชอบเฉพาะพัสดุที่เกี่ยวกับอากาศยาน และสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับอากาศยาน ตลอดจนเครื่องใช้ประจำตัวสำหรับผู้ปฏิบัติงานในอากาศ ยกเว้น สรรพาวุธ

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ ๒๕๒๘ (ตอน 6)

ข้อ ๕๑ คลังใหญ่ มีอำนาจในการดำเนินการตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อ ๕๐ จำนวน ๒ ข้อคือ
๑ การสั่งจ่ายพัสดุในอัตราหรือเกณฑ์การจ่าย
๒ การจ่ายยืมและรับฝาก
ข้อ ๕๒ คลังสาขามีหน้าที่และความรับผิดชอบพัสดุที่อยู่ในครอบครอง ๑๒ ข้อ คือ
๑ การปฏิบัติงานของคลังตามภารกิจที่หน่วยเทคนิคกำหนด
๒ การรักษาปริมาณพัสดุคงคลังให้มีจำนวนตามระเบียบเวลาที่กำหนดและการเสนอแนะความต้องการเพื่อให้มีปริมาณพัสดุคงคลังที่เหมาะสม
๓ การจัดเก็บและระวังรักษาพัสดุให้คงสภาพและพร้อมจ่ายเสมอ
๔ การจัดทำแผนผังการเก็บพัสดุภายในคลัง
๕ การพิจารณาจำนวนสั่งจ่าย
๖ การเสนอแนะเกณฑ์การจ่าย
๗ การจ่ายยืมและรับฝาก
๘ การจัดทำหีบห่อและการรับส่งพัสดุ
๙ การเสนอแนะพัสดุที่ควรจำหน่าย
๑๐ จัดหาพัสดุตามที่ได้รับมอบหมาย
๑๑ การรายงานข้อขัดข้องพร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขและปรับปรุง
๑๒ ส่งสำเนาการตรวจสอบพัสดุตามข้อ ๔๒ ให้คลังใหญ่ทราบ
ข้อ ๕๓ คลังสาขามีอำนาจในการดำเนินการตามหน้าที่และความรับผิดชอบในข้อ ๕๒ จำนวน ๒ ข้อ คือ
๑. การสั่งจ่ายพัสดุในอัตรา หรือเกณฑ์การจ่าย
๒ การจ่ายยืม และรับฝาก
ข้อ ๕๔ คลังย่อย มีหน้าที่และความรับผิดชอบพัสดุที่อยู่ในครอบครอง ๘ ข้อ คือ
๑ การปฏิบัติงานของคลังให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามภารกิจที่กำหนด
๒ การเบิกรับพัสดุตามเกณฑ์ที่หน่วยเทคนิคกำหนด
๓ การจ่ายพัสดุตามความเหมาะสมที่หน่วยใช้ขอเบิก
๔ การเสนอแนะการปรับปรุงอัตราหรือเกณฑ์การจ่ายให้มีจำนวนเพียงพอในการใช้ราชการ
๕ การเก็บรักษาพัสดุ และทำบัญชีพัสดุให้ถูกต้องอยู่เสมอ
๖ จัดหาพัสดุตามที่ได้รับมอบหมาย
๗ การรายงานข้อขัดข้องพร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขและปรับปรุง
๘ ส่งสำเนารายงานการตรวจสอบพัสดุตามข้อ ๔๒ ให้คลังสาขาหรือคลังใหญ่ทราบ

บทเฉพาะกาล
ข้อ ๕๕ คลังพัสดุอากาศยาย เป็นคลังใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ยังไม่มีหน่วยเทคนิคใดรับผิดชอบ ให้ ศกล.ฐท.สส.มีหน้าที่รับผิดชอบคลังพัสดุอากาศยานและบริหารงานพัสดุสายอากาศยาน โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยเทคนิค ในเรื่อง เสนองบประมาณ การจัดหา ควบคุม แจกจ่าย ยกเว้น การจำหน่าย และ กำหนดหลักการออกคำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการเก็บรักษา กำหนดอัตราและเกณฑ์การจ่าย การสั่งจ่าย การตรวจสภาพคลัง และ กำหนดภารกิจย่อยให้คลังต่าง ๆ และให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามหน้าที่คลังใหญ่
ให้ ศูนย์ซ่อมอากาศยาน กบร.กร. มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารงานซ่อมบำรุง รวมทั้งเทคนิคต่าง ๆ ด้านอากาศยานของ ทร. โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยเทคนิคในเรื่อง การวิจัยพัฒนา การออกแบบ กำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะ การจัดทำรายการพัสดุ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การจำหน่าย กำหนดหลักการ ออกคำแนะนำและ คู่มือ
การใช้ และการเก็บรักษา กำหนดคำแนะนำและหลักเกณฑ์การซ่อมบำรุง การตรวจสภาพคลัง และให้มีฐานะเป็นคลังสาขา มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบตามหน้าที่คลังสาขา

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ ๒๕๒๘ (ตอน 5)

หมวด ๗ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
ข้อ ๔๖ หน่วยเทคนิคมีหน้าที่และความรับผิดชอบพัสดุประเภทที่อยู่ในภารกิจของคลังใหญ่ขึ้นตรง ๑๑ ข้อ คือ
๑ การวิจัยและพัฒนา
๒ การออกแบบ กำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะ
๓ การจัดทำรายการพัสดุ เอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม
๔ การพิจารณาตกลงใจในความต้องการและเสนองบประมาณ
๕ การจัดหา การแจกจ่าย การ เก็บรักษา การ ควบคุมและการจำหน่าย
๖ กำหนดหลักการ ออกคำแนะนำ และคู่มือการใช้พัสดุ
๗ กำหนดหลักการออกคำแนะนำ แก้ไขและปรับปรุงเกี่ยวกับการเก็บรักษาพัสดุ
๘ กำหนดอัตราและเกณฑ์การจ่าย ตลอดจนสั่งจ่ายที่เกินอำนาจของคลังใหญ่
๙ การกำหนดคำแนะนำและหลักเกณฑ์การซ่อมบำรุงแต่ละระดับ
๑๐ การตรวจสภาพคลังต่าง ๆ เพื่อนำผลมาปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม
๑๑ การกำหนดภารกิจย่อยให้คลังต่าง ๆ
ข้อ ๔๗ หน่วยเทคนิคมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามข้อ ๔๖
ข้อ ๔๘ กรมพลาธิการ นอกจากมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อ ๔๖ ในฐานะหน่วยเทคนิคแล้วให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัสดุ ๙ ข้อ คือ
๑ จัดหาพัสดุตามโครงการช่วยเหลือของต่างประเทศ ที่ กองทัพเรือ.มอบหมาย
๒ เป็นศูนย์กลางการควบคุมการจัดทำรายการพัสดุและสมุดรายการพัสดุของ กองทัพเรือ.
๓ เป็นศูนย์รวบรวมและบริการข่าวสารทางพัสดุ
๔ การจัดหาพัสดุให้หน่วยต่าง ๆ ตามที่กองทัพเรือกำหนด
๕ การกำกับการและประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้ง และยุบคลังสาขาหรือคลังย่อยตามนโยบายของกองทัพเรือ
๖ การประสานงานและเสนอแนะวิธีการจัดทำบัญชีพัสดุ การตรวจสอบพัสดุให้ตรงตามบัญชีและแบบพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัสดุ
๗ การกำกับการและประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องในเรื่องการกำหนดวิธีปฏิบัติตามภารกิจที่กำหนด เพื่อให้เกิดผลดีต่อราชการ คือ รวดเร็ว ประหยัด มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
๘ การรวบรวมวิธีปฏิบัติงานที่ได้กำหนดไว้แล้วให้เป็นคู่มือของเจ้าหน้าที่และอำนวยการให้ จนท.ปฏิบัติตามคู่มือนั้น
๙ การดำเนินการทางวิธีศุลกากรเกี่ยวกับพัสดุของกองทัพเรือที่รับจากต่างประเทศหรือส่งออกนอกประเทศ รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๔๙ กรมพลาธิการ นอกจากมีอำนาจดำเนินการตามข้อ ๔๗ แล้ว ให้มีอำนาจดำเนินการตามข้อ ๔๘ ด้วย
ข้อ ๕๐ คลังใหญ่มีหน้าที่และความรับผิดชอบพัสดุในประเภทที่อยู่ในภารกิจของคลัง จำนวน ๑๒ ข้อ คือ
๑ การปฏิบัติงานของคลังให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องครบถ้วนตามภารกิจที่กำหนด
๒ การเสนอให้จัดหาพัสดุตามรายการที่บางหน่วยต้องการแต่คลังไม่มีจ่ายหรือมีไม่พอจ่าย
๓ การเสนอแนะความต้องการเพื่อให้มีปริมาณพัสดุคงคลังเพียงพอ
๔ การเสนอแนะเกณฑ์การจ่าย
๕ การพิจารณาจำนวนสั่งจ่าย
๖ การจ่ายยืมและรับฝาก
๗ การจัดทำหีบห่อและการรับส่งพัสดุ
๘ การจัดทำแผนผังการเก็บพัสดุภายในคลัง
๙ การจัดเก็บและระวังรักษาพัสดุให้คงสภาพและพร้อมจ่ายเสมอ
๑๐ การเสนอแนะพัสดุที่ควรจำหน่าย
๑๑ จัดหาพัสดุตามที่ได้รับมอบหมาย
๑๒ การรายงานข้อขัดข้องพร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไขและปรับปรุง

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ ๒๕๒๘ (ตอน 4)

หมวด ๖ การดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ
ข้อ ๓๕ ให้คลังทุกคลังจัดทำบัญชีเกี่ยวกับพัสดุที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ถูกต้องและทันเวลาอยู่เสมอ
ข้อ ๓๖ การเบิกพัสดุ
๑ ผู้ใช้เบิกจากคลังย่อย และเบิกได้เท่าที่จำเป็น
๒ คลังย่อยเบิกจากคลังสาขา ไม่มีคลังสาขาให้เบิกจากคลังใหญ่ เบิกตามเกณฑ์ที่กำหนด
๓ คลังสาขาเบิกจากคลังใหญ่ เบิกตามเกณฑ์ปริมาณสูงสุด และต่ำสุด ในระยะเวลาที่กำหนด
๔คลังใหญ่ เสนอความต้องการพัสดุที่รับผิดชอบต่อหน่วยเทคนิค เพื่อดำเนินการจัดหา
๕หน่วยใดที่ได้รับอนุมัติอัตราตามโครงการหรือกรณีพิเศษเบิกจากคลังที่กำหนด ถ้าไม่พอให้ขออนุมัติเพิ่ม
ข้อ ๓๗ การจ่ายพัสดุ
๑ คลังใดได้รับใบเบิกพัสดุที่สั่งจ่ายแล้ว ให้จ่ายให้กับผู้เบิกหรือผู้รับมอบฉันทะ
๒ พัสดุที่เบิกเปลี่ยน ต้องนำพัสดุเดิมส่งคลังก่อนรับพัสดุใหม่ ยกเว้น กรณีจำเป็น
๓ พัสดุที่คลังไม่มีจ่าย ให้รอการจัดหา เมื่อพร้อมจ่ายให้แจ้งผู้เบิกให้ทราบ กรณีไม่พอจ่ายให้คลังพิจารณาตามความเหมาะสม

ข้อ ๓๘ การฝากและการรับฝาก
๑ คลังที่มีพัสดุจำเป็นต้องใช้จำนวนมาก ไม่สะดวกในการเก็บรักษา ในระยะใดระยะหนึ่งจะนำฝากพัสดุนั้นไว้คลังใดก็ได้
๒ พัสดุที่จะนำมาฝากต้องมีสภาพดีใช้ราชการได้ หากสกปรก ต้องทำความสะอาดก่อนนำฝาก
๓ พัสดุที่ฝากไว้ ผู้รับฝากห้ามนำไปใช้ราชการหรือจ่ายให้กับผู้อื่นนอกจาผู้ฝากหรือผู้ฝากสั่งจ่าย
๔ การรับฝากพัสดุที่ได้จากการจัดหา เจ้าหน้าที่รับและขนส่งประจำคลัง หรือหน่วยเป็นผู้รับฝาก เมื่อตรวจรับแล้วให้ส่งไปยังที่เก็บพัสดุ เว้นพัสดุที่จัดหาแล้วให้ส่งหรือติดตั้งให้หน่วยโดยตรง
ข้อ ๓๙ กรณีที่มีการจัดส่งพัสดุ ให้ จนท.จัดส่งพัสดุประจำคลังเป็นผู้จัดส่งให้ถึงจุดหมายตามที่ผู้เบิกต้องการโดยให้ ขส.ทร. หรือ ให้ ขนส่งภายนอก ทร. ตามความจำเป็นหรือ จัดส่งเอก
ข้อ ๔๐ การส่งคืนและรับคืนพัสดุ พัสดุในความครอบครองของหน่วยใช้ คลังย่อยหรือคลังสาขอจะต้องส่งคืนคลังที่จ่ายพัสดุนั้นมา คือ
๑ พัสดุที่ยังใช้ราชการได้ เบิกมาผิด เหลือเกินความต้องการ ไม่มีเกณฑ์สะสม หรือได้รับคำสั่งให้ส่งคืน
๒ พัสดุที่ล้าสมัย หมดประโยชน์ หมดอายุ เสื่อมสภาพ ที่ได้รับอนุมัติให้จำหน่ายบัญชีแล้ว
ข้อ ๔๑ การยืมพัสดุ ให้ปฏิบัติตามระเบียบ สำนัก ฯ ตลอดจนข้อบังคับระเบียบปฏิบัติและคำสั่งของทางราชการที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่หน่วยเบิกไปแล้วอาจเบิกผลักใช้แทนการส่งคืนก็ได้
ข้อ ๔๒ การเก็บรักษา การตรวจสอบ การแจกจ่ายและการจำหน่ายให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนัก ฯ ในเรื่องการควบคุมและการจำหน่าย ตลอดจนข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติและคำสั่งของทางราชการที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๔๓ พัสดุที่เป็นเครื่องสรรพาวุธ นอกจากปฏิบัติตามระเบียบแล้วให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ ทร.ว่าด้วยการสรรพาวุธด้วย
ข้อ ๔๔ เพื่อให้พัสดุที่มีอยู่ใน ทร. อยู่ในสภาพใช้งานได้ยืนนาน จึงแบ่งการซ่อมบำรุงเป็น ๓ ระดับคือ
๑ ซ่อมบำรุงระดับหน่วยผู้ใช้ เป็นการปรนนิบัติบำรุง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยผู้ใช้ คือ การตรวจ บริการ หล่อลื่น ปรับแต่ง เปลี่ยนชิ้นส่วยอะไหล่และส่วนประกอบย่อย การซ่อมระดับนี้ให้ทำตามคู่มือหรือคำสั่งหรือรายการที่อนุญาตให้ทำได้
๒ การซ่อมบำรุงระดับหน่วยสนับสนุนหรือระดับกลาง เป็นการซ่อมบำรุงแก้ไขที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยที่มีหน้าที่สนับสนุนหน่วยที่ได้รับพัสดุไว้ใช้ราชการ เป็นการซ่อมแก้ การเปลี่ยนชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ รวมทั้งการสร้างชิ้นส่วนที่จำเป็นหาไม่ได้ และการช่วยเหลือทางเทคนิคแก่หน่วยผู้ใช้การซ่อมระดับนี้ให้ทำตามคู่มือ หรือคำสั่ง หรือรายการที่อนุญาตให้ทำได้
๓ การซ่อมบำรุงระดับโรงงาน เป็นการซ่อมบำรุงแก้ไขอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยซ่อมระดับคลังหรือโรงงาน เป็นการซ่อมใหญ่ หรือซ่อมสร้างอย่างสมบูรณ์แก่ชิ้นส่วน ส่วนประกอบ ส่วนประกอบรองและทั้งหมด การดัดแปลง ทดสอบ การแก้ไขให้ใช้ได้ และการสนับหนุนการซ่อมระดับต่ำกว่า ด้วยการช่วยเหลือทางด้านเทคนิค
ข้อ ๔๕ วิธีดำเนินการซ่อมบำรุงโดยหน่วยซ่อมบำรุงของ ทร. ให้เป็นไปตามที่หน่วยเทคนิคกำหนด กรณีการจ้างซ่อมให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนัก ฯ ตลอดจนข้อบังคับและระเบียบอื่น ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้น

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ ๒๕๒๘ (ตอน 3)

หมวด ๔ พัสดุคงคลัง
ข้อ ๒๒ พัสดุคงคลัง คือพัสดุดังนี้
๑ พัสดุสำคัญที่สุด
๒ พัสดุใช้ในการบำรุงรักษา ซ่อมสร้าง
๓ พัสดุที่ใช้เป็นประจำในราชการกองทัพเรือ
๔ พัสดุประจำกาย
ข้อ ๒๓ ปริมาณพัสดุคงคลังให้ถือเกณฑ์ดังนี้
๑ คลังใหญ่ ยามปกติ ถือเกณฑ์ มีพอจ่ายได้ตลอดเวลาอย่าต่อเนื่อง ไม่ปกติ ให้มีพอใช้ตลอดภารกิจตามแผน
๒ คลังสาขา ถือเกณฑ์ ตามปริมาณสูงสุดและต่ำสุดในระยะเวลาที่หน่วยเทคนิคกำหนด
๓ คลังย่อย ถือเกณฑ์พอใช้ตามที่หน่วยเทคนิคกำหนด

ข้อ ๒๔ ปริมาณเบิกจ่ายพัสดุคงคลัง แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะคือ
๑ ตามอัตรา ๒ ตามโครงการ ๓ ตามกรณีพิเศษ
ข้อ ๒๕ ปริมาณการเบิกจ่ายพัสดุตามอัตรา คือ จำนวนพัสดุตามเกณฑ์ ที่ ทร. อนุมัติหรือหน่วยเทคนิคกำหนดให้แต่ละหน่วยเบิกใช้งานประจำ
ข้อ ๒๖ ปริมาณการเบิกจ่ายพัสดุตามโครงการ คือจำนวนพัสดุที่ ทร. อนุมัติให้หน่วยเบิกใช้ตามโครงการหรือแผน
ข้อ ๒๗ ปริมาณการใช้พัสดุตามกรณีพิเศษ คือ จำนวนพัสดุที่ ทร.อนุมัติให้หน่วยเบิกใช้งานที่จำเป็นและเกิดขึ้นโดยคาดไม่ถึงมาก่อน

หมวด ๕ การจัดหา
ข้อ ๒๘ การจัดหาทำได้ตามลักษณะต่าง ๆ ๖ ลักษณะ ดังนี้
๑ การจัดซื้อและการจ้าง
๒ การจัดทำเอง
๓ การโอนหรือการแลกเปลี่ยน
๔ การเช่า
๕ การดัดแปลง
๖ การได้รับความช่วยเหลือ
ข้อ ๒๙ การจัดซื้อและการจ้าง ให้ทำตามระเบียบสำนัก ฯ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ และคำสั่งเกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐ การจัดทำเอง ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนัก ฯ พัสดุที ทร.จัดทำขึ้นเองได้ให้ใช้ก่อน ก่อนการจัดซื้อ จ้าง เช่า
ข้อ ๓๑ การโอนและการแลกเปลี่ยน ให้ทำตามระเบียบสำนัก ฯ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๒ การเช่า ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนัก ฯ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๓ การดัดแปลง พัสดุที่เหลือใช้ ล้าสมัย เสื่อมสภาพ ชำรุดจนใช้ราชการไม่ได้ ที่จำหน่ายบัญชีแล้วถ้าดัดแปลงเป็นพัสดุใช้ในกิจการอื่น ๆ ได้ให้ขออนุมัติดัดแปลงเพื่อจ่ายใช้ราชการต่อไป
ข้อ ๓๔ การได้รับการช่วยเหลือ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในการช่วยเหลือนั้น

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ ๒๕๒๘ (ตอน 2)

ข้อ ๑๒ การจัดหมวด ประเภท และรายการพัสดุ จัดดังนี้
๑ หมวด คือชื่อรวมของพัสดุที่จัดอยู่ในจำพวกเดียวกัน ๒ ประเภทคือ ชื่อส่วนย่อยของหมวดลงไป

ข้อ ๑๓ พัสดุที่ใช้ในกองทัพเรือแบ่งออกเป็น ๙๙ หมวด (มีแก้ไขฉบับที่ ๔ ปี๓๖ ข้อ ๑๓ กระสุนและวัตถุระเบิด)

ข้อ ๑๔ พัสดุตามข้อ ๑๓ คือ จากหมวดแล้วแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตาม ผนวก ข.
ข้อ ๑๕ พัสดุตามข้อ ๑๔ คือ จากประเภทแล้วแบ่งออกเป็น รายการต่าง ๆที่หน่วยเทคนิครับผิดชอบกำหนด
ข้อ ๑๖ เพื่อให้เรียกหน่วยนับพัสดุเป็นไปในทางเดียวกันให้หน่วยเทคนิคกำหนดชื่อเรียกหน่วยนับแต่ละรายการของพัสดุที่อยู่ในความรับผิดชอบ ตาม ผนวก ค. เช่น กุรุส ชื่อย่อ กรส. , กรวย ชื่อย่อ กรย. , ตันสั้น (๒๐๐๐ปอนด์) ตส.

หมวด ๓ คลังพัสดุ
ข้อ ๑๗ คลังพัสดุแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ตามความสำคัญคือ
๑ คลังใหญ่
๒ คลังสาขา
๓ คลังย่อย
ข้อ ๑๘ คลังใหญ่ คือคลังของหน่วยเทคนิค มี ๑๑ คลัง (ข้อ ๑๑ แก้ไขฉบับที่ ๔ ปี ๓๖)
๑ คลังพลาธิการ
๒ คลังพัสดุช่าง
๓ คลังเครื่องสรรพาวุธ
๔ คลังเวชบริภัณฑ์
๕ คลังเครื่องมือเดินเรือและอุตินิยมวิทยา
๖ คลังวิทยาศาสตร์
๗ คลังเครื่องช่วยการศึกษา
๘ คลังพัสดุการขนส่ง
๙ คลังพัสดุช่างโยธา
๑๐ คลังอิเล็กทรอนิกส์
๑๑ คลังพัสดุอากาศยาน

ข้อ ๑๙ คลังสาขา คือคลังของฐานทัพเรือสถานีเรือ คือ
๑ พื้นที่ ฐท.สส. มี คลัง ศลก.ฐท.สส., คลังเวชบริภัณฑ์ รพ.อาภากรฯ คลังฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด
๒ คลังฐานทัพเรือสงขลา ฐท.สส.
๓ คลังฐานทัพเรือพังงา ฐท.พง.
ข้อ ๒๐ คลังย่อย คือคลังประจำหน่วยต่าง ๆ ที่มีเจ้าหน้าที่พัสดุ ยกเว้น คลังใหญ่ และ คลังย่อย
ข้อ ๒๑ คลังพัสดุทุกระดับมีภารกิจ คือ การจัดหา สะสม เก็บรักษา เบิก จ่าย จัดส่ง จำหน่าย ยืม ให้ยืม ฝาก รับฝาก คืนและรับคืน ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายและต้องควบคุมบัญชีพัสดุ จัดระเบียบการจัดจัดเก็บ ตรวจสอบ ดูแลรักษาให้คงสภาพ และให้มีจำนวนเพียงพอในการใช้ราชการตามความจำเป็นและประหยัด
คลังใหญ่ มีภารกิจดังกล่าวในข้อ ๒๑ ตามประเภทพัสดุตามผนวก ข. ส่วนคลังสาขาและคลังย่อย ให้มีพัสดุประเภทที่จำเป็นต้องจ่าย และ คลังศูนย์ส่งกำลัง มีภารกิจในฐานะคลังสาขากของพัสดุทุกประเภท เว้น เครื่องสรรพาวุธเครื่องเวชบริภัณฑ์

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๘

ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๘

ข้อ ๔ ให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุง รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

หมวด ๑ นิยาม
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
พัสดุ คือ วัสดุ ครุภัณฑ์ สำหรับใช้ราชการ กองทัพเรือ ตามที่กำหนดในไว้ในข้อ ๑๓ มี ๙๙ หมวด

พัสดุคงคลัง คือ พัสดุที่จะต้องจัดหาเตรียมการไว้ตามเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๒๓ คือ ปริมาณคงคลังที่ให้คลังต่าง ๆ ถือเกณฑ์ คือ คลังใหญ่ มีพอจ่ายได้ตลอดเวลาตลอดเวลา คลังสาขา สูงสุดและต่ำสุด คลังย่อย มีพอให้ราชการ

เจ้าหน้าที่คลังพัสดุ คือ ผู้ที่มีหน้าที่ ดำเนินกรรมวิธีในการเบิก ขอให้จัดหา รับ จ่าย เก็บรักษาพัสดุ รวมทั้งผู้มีหน้าที่ควบคุมและทำบัญชีด้วย

หมวด ๒ พัสดุ
ข้อ ๖ เพื่อความเหมาะสมและสะดวกให้แบ่งจำพวกพัสดุ ออกเป็น ๕ จำพวกคือ
๑ แบ่งตามการจ่ายพัสดุ
๒ แบ่งตามลักษณะของพัสดุ
๓ แบ่งตามสภาพของพัสดุ
๔ แบ่งตามความสำคัญของพัสดุ
๕ แบ่งตามการส่งกำลัง
ข้อ ๗ การแบ่งตามการจ่ายพัสดุคือ
๑ พัสดุประจำหน่วย คือ จ่ายให้หน่วยต่าง ๆ ใช้
๒ พัสดุประจำกาย จ่ายให้ทหารแต่ละคนใช้
ข้อ ๘ การแบ่งตามลักษณะของพัสดุ คือ
๑ พัสดุสิ้นเปลืองเร็ว คือสิ้นเปลือง , เปลี่ยนสภาพ ,สลายตัวเร็ว,เพื่อการบำรุงรักษา หรือการซ่อมแซม
๒ พัสดุสิ้นเปลืองช้า คือ มีลักษณะคงคนถาวร
ข้อ ๙ การแบ่งตามสภาพของพัสดุคือ
๑ พัสดุดีหรือใช้ราชการได้ คือ พัสดุดี พร้อมใช้งาน
๒ พัสดุชำรุดซ่อมได้ คือ พัสดุที่ใช้ราชการไม่ได้หมดอายุ แต่ซ่อมใช้ได้
๓ พัสดุจำหน่าย คือ ชำรุดมาก ซ่อมไม่ได้ ไม่คุ้มค่า ดัดแปลงไม่ได้ เลิกใช้ เกินความต้องการ
ข้อ ๑๐ แบ่งตามความสำคัญของพัสดุคือ
๑ พัสดุสำคัญที่สุด คือ พัสดุจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าขาดแล้วทำงานไม่ได้
๒ พัสดุสำคัญมาก คือ พัสดุจำเป็นรองลงมา ถ้าขาดแล้วทำงานให้สมบูรณ์ไม่ได้
๓ พัสดุสำคัญ คือ พัสดุที่นอกเหนือจาก พัสดุสำคัญที่สุด และ สำคัญมาก
ข้อ ๑๑ การแบ่งตามการส่งกำลัง คือ แบ่งเป็นประเภทสิ่งอุปกรณ์เพื่อใช้ในการวางแผน คือ
๑ สป. ๑ สิ่งอุปกรณ์ยังชีพ
๒ สป. ๒ เสื้อผ้ายุทธภัณฑ์ประจำกาย
๓ สป. ๓ ปิโตรเลี่ยมน้ำมันและหล่อลื่น
๔ สป. ๔ การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ป้อมค่าย เครื่องกีดขวาง
๕ สป. ๕ กระสุน วัตถุระเบิด
๖ สป. ๖ สิ่งอุปกรณ์ความต้องการส่วนบุคคล ไม่มีไว้ขาย
๗ สป. ๗ สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูปขนาดใหญ่ เช่น รถถัง เครื่องยิง
๘ สป. ๘ อุปกรณ์การแพทย์สนาม
๙ สป. ๙ อุปกรณ์อะไหล่และส่วนประกอบ
๑๐ สป.๑๐ เครื่องอุปกรณ์สนับสนุนกิจการพลเรือน

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 10

๑๔๖. ส่วนเรือดำน้ำให้ตรึงติดไว้กับตัวเรือทั้งสองข้าง ค่อนทางหัวเรือเหนือแนวน้ำขณะลอยลำเต็มที
๑๔๗. ชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า ๑๕๐ ตันลงมา ให้เขียนด้วยสีขาวทั้งสองข้าง ตอนหัวเรือตรงกึ่งกลางระหว่างแนวน้ำกับแนวกราบเรือ
๑๔๘. การติดป้ายชื่อเรือ ที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ ๑๐๐ ตันขึ้นไป และเรือประเภทเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งที่ข้างสะพานเดินเรือทั้งสองกราบ เป็นภาษาไทยอยู่ด้านบนและภาษาอังกฤษอยู่ด่านล่าง ลักษณะของป้ายชื่อเรือให้เป็นไปตามที่กองเรือยุทธการกำหนด
๑๔๙. การเขียนหมายเลข ให้ใช้ตัวเลขอาระบิค
๑๕๐.ให้สิทธิทหารนอกประจำการนี้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญหรือเหรียญชัยสมรภูมิ แต่งเครื่องแบบได้
๑๕๑. เมื่อผู้ใดที่กรณีต้องส่งเหรียญกล้าหาญหรือเหรียญชันสมรภูมิคืน ให้กองทัพต้นสังกัดเรียกเครื่องแบบทหารที่ได้จ่ายไปคืนเสียด้วย
๑๕๒. เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนกฎ ข้อบังคับ และระเบียบของทหาร หรือกระทำความผิดอย่างร้ายแรง หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่เกียรติของทหาร หรือเมื่อทางราชการเห็นว่าไม่สมควรจะให้แต่งเครื่องแบบทหารต่อไปให้กองทัพต้นสังกัดจัดการเรียกเครื่องแบบทหารที่จ่ายให้ไปคืน
๑๕๓. ทหารที่ได้รับจ่ายเครื่องแบบทหาร ถึงแก่กรรม ไม่ต้องเรียกเครื่องแบบคืน ให้ทายาทของผู้นั้นรักษาไว้เป็นที่ระลึก
๑๕๔. ทหารหน่วยเรือ หมายความว่า นายทหารสัญญาบัตรและนายทหารประทวนประจำการ ที่มีตำแหน่งหน้าที่ประจำอยู่ในเรือหลวงที่เป็นเรือประจำการ
๑๕๕. เงินเพิ่มประจำตำแหน่ง หมายความว่า เงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษสำหรับทหารหน่วยเรือ
๑๕๖. ให้ทหารหน่วยเรือได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งเป็นรายเดือนตามอัตรา ดังต่อไปนี้
๑. นายทหารสัญญาบัตร เดือนละ ๑,๓๕๐.-บาท
๒. นายทหารประทวน เดือนละ ๑,๒๐๐.- บาท
๑๕๗. ทหารหน่วยเรือที่ไปราชการที่มิได้เป็นการปฏิบัติการในเรือ หรือลาเกิน ๑๕ วัน ใน ๑ เดือน ให้ตัดเงินเพิ่มประจำตำแหน่งตามจำนวนวันที่ไปราชการ หรือลาในเดือนนั้น
๑๕๘.ข้าราชการทหารผู้มีคุณวุฒิทางภาษามลายู ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ใช้ภาษามลายูและมีหน้าที่อยู่ในจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าภาษามลายูเรียกโดยย่อว่าเงิน “พ.ภ.ม.”
๑๕๙. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษามลายู ที่มีระยะเวลาในการอบรมตามหลีกสูตรไม่น้อยกว่า ๑,๓๒๐ ชั่วโมง ให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษค่าภาษามลายูเดือนละ ๑๒๕ บาท
๑๖๐. เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล
๑๖๑. หลักเกณฑ์การนับจำนวนปีที่รับราชการ ให้นับเป็นปี เศษของปีไม่น้อยกว่า ๘ เดือนให้นับเป็นหนึ่งปี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
๑๖๒. การนับปัดเศษให้กระทำได้เฉพาะการเลื่อนยศครั้งแรก ในระดับ ป. ๑ และ ระดับ น.๑ เท่านั้น
๑๖๓.ผู้ที่ลาติดตามคู่สมรสซึ่งไปปฏิบัติราชการ ณ ต่างประเทศโดยไม่ได้รับเงินเดือนไม่ให้นับเวลาที่ติดตามคู่สมรสดังกล่าวเป็นเวลารับราชการ
๑๖๔. ผู้ที่ถูกสั่งพักราชการและทางราชการสั่งให้กลับเข้ารับราชการ โดยจ่ายเงินรายเดือนระหว่างพักราชการให้ครั้งหนึ่ง ให้นับเวลารับราชการระหว่างนั้นเพียงครั้งหนึ่งด้วย
๑๖๕. ผู้ที่ไม่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนหรือเงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของอัตราเพราะมีความผิดใน ครึ่งปีใด (ครึ่งปีแรก ๑ เมษายน หรือครึ่งปีหลัง ๑ ตุลาคม) ให้งดนับเวลาในครึ่งปีที่ไม่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนหรือเงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของอันดับนั้น ในจำนวนปีรับราชการและปีการครองยศ และให้ระงับการขอเลื่อนยศหรือพระราชทานยศในครึ่งปีที่ไม่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนหรือเงินตอบแทนพิเศษ๑๖๖.ความผิด หมายความว่า ความผิดอันเนื่องจากมีความประพฤติเป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางราชการหรือหมู่คณะหรือนำความเดือดร้อนยุ่งยากมาสู่ผู้บังคับบัญชา ถูกลงทัณฑ์หรือลงโทษตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนด บกพร่องต่อหน้าที่หรือมีความประพฤติส่อเจตนาไปในทางเกียจคร้าน ซึ่งผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการพิจารณาบำเหน็จประจำปีเห็นควรไม่ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนหรือเงินตอบแทนพิเศษ และรวมถึงเพราะมีความผิดในคดีอาญา เว้นควาสมผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 9

๑๒๐. เหตุอื่นที่กองทัพเรือกำหนดนอกเหนือข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการรายงานด่วน คือ
๑. เรือ อากาศยาน สรรพาวุธหรือเครื่องประกอบสรรพาวุธ ที่สำคัญได้รับความเสียหายจนหย่อนสมรรถภาพหรือสูญหาย
๒. อุบัติเหตุหรือการเสียหายใด ๆ ที่เกิดข้นแก่ทรัพย์สินของทางราชการ คิดเป็นเงินตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐.-บาท ขึ้นไป ให้รายงานด่วนถึงกองทัพเรือ หากค่าเสียหายคิดเป็นเงินตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐.-บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐.-บาทให้รายงานด่วนถึงผู้บังคับบัญชา ระดับส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพเรือ
๓. ทหารตั้งแต่ ๒๐ คน ขึ้นไป หรือกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนทหารที่อยู่ในสังกัดหลบหนีออกจากบริเวณในเวลาเดียวกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกัน
๔. เหตุอื่น ๆ ที่เห็นสมควรจะต้องรายงาน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงทราบโดยด่วน
๑๒๑. การรายงานด่วนให้ทำเป็นรายงานย่อ จะรายงานโดยทางหนังสือ หรือทางเครื่องมือสื่อสาร หรือทางวาจาก็ได้ การรายงานให้กล่าวแต่ใจความสำคัญแต่ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย และประกอบด้วยสาระ
๑. วัน เดือน ปี และตำบลที่เกิดเหตุ
๒. เรื่องและสาเหตุที่เกิดขึ้น
๓. เมื่อเกิดเหตุแล้ว ได้สั่งการและจัดการไปอย่างใดบ้าง
๔. ความเห็นของผู้รายงานว่าควรจะจัดการอย่างไรต่อไป.
๑๒๒. เรือหลวง หมายความว่า บรรดาเรือเดินทะเลทั้งเรือรบและเรือช่วยรบทีมีชื่อปรากฏอยู่ในอัตรากองทัพเรือ
๑๒๓. เรือรบ หมายความว่า เรือตั้งแต่ใหญ่ที่สุดจนถึงเรือที่เล็กที่สุดที่ใช้ปฏิบัติการยุทธ์
๑๒๔. เรื่อช่วยรบ หมายความว่า เรือจำพวกที่มิได้ใช้ในการยุทธ์โดยตรงและเรือที่ใช้ในกิจการพิเศษของกองทัพเรือ
๑๒๕. เรือรบ แบ่งออกเป็น ๙ ประเภท ได้แก่ ๑. เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ๒. เรือพิฆาต ๓. เรือฟรีเกต ๔. เรือคอร์เวต ๕. เรือเร็วโจมตี ๖. เรือดำน้ำ ๗. เรือทุ่นระเบิด ๘. เรือยกพลขึ้นบก ๙. เรือตรวจการณ์
๑๒๖. เรือช่วยรบ แบ่งเป็น ๑๓ ประเภท คือ ๑. เรือส่งกำลังบำรุง ๒. เรือน้ำมัน ๓. เรือน้ำ ๔. เรือลากจูง ๕. เรือลำเลียง ๖. เรือสำรวจ ๗. เรือพี่เลี้ยง ๘. เรืออู้แห้ง ๙. เรือโรงงาน ๑๐. เรือพยาบาล ๑๑. เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัย ๑๒. เรือกู้ซ่อม ๑๓. เรือใช้กิจการพิเศษอื่น ๆ
๑๒๗. เรือเร็วโจมตี แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ๑. เรือเร็วโจมตี(อาวุธวิถี) ๒. เรือเร็วโจมตี (ปืน) ๓. เรือเร็วโจมตี(ตอร์ปีโด)
๑๒๘. เรือทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด ๑. เรือต่อต้านทุ่นระเบิด ๒. เรือกวาดทุ่นระเบิด ๓. เรือวางทุ่นระเบิด ๔. เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด
๑๒๙. เรือกวาดทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด ๑. เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง ๒ เรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ๓. เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง ๔. เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น
๑๓๐. เรือล่าทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๑. เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ๒. เรือล่าทำลานทุ่นระเบิกชายฝั่ง
๑๓๐. เรือวางทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๑. เรือวางทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ๒. เรือวางทุ่นระเบิดชายฝั่ง
๑๓๑. การแบ่งชั้นเรือ ให้จัดแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ เรือชั้นที่ ๑ เรือชั้นที่ ๒ เรือชั้นที่ ๓
๑๓๒. การตั้งชื่อเรือ เรือตั้งแต่ชั้น ๑ ถึง ชั้น ๓ ที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ ๑๕๐ ตันข้นไป ให้ตั้งชื้อเรือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๙ และให้ใช้คำว่า “เรือหลวง”(ร.ล.) นำหน้าชื่อ)
๑๓๓. เรือที่มีระวางขังน้ำปกติต่ำกว่า ๑๕๐ ตันลงมา และเรือขนาดเล็กให้ตั้งชื่อเรือด้วยอักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือ มีหมายเลขต่อท้าย
๑๓๔. เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อ ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ
๑๓๕. เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง หรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์
๑๓๖. เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิธี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเล สมันโบราณ ที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ
๑๓๗. เรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล
๑๓๘. เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิฤทธิ์ในนิยาย หรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ
๑๓๙. เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ
๑๔๐. เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ
๑๔๑. เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งตามชื่อเรืออำเภอชายทะเล
๑๔๒. เรือตรวจการณ์(ปราบเรือดำน้ำ)ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณ ที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ
๑๔๓. เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ
๑๔๔. เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ๑๔๕. การเขียนชื่อเรือ ให้ทำด้วยทองเหลืองตรึงติดกับตัวเรือ ตอนท้ายสุดเหมือแนวน้ำบนพื้นสีน้ำเงิน เว้นแต่เรือบางลำหรือบางประเภทจะติดชื่อเรือตรงนั้นไม่สะดวกก็ให้ติดไว้ข้างเรือตอนท้ายทั้งสองข้าง

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 8

๑๐๙.หน่วยกำลังรบ หมายความว่า หน่วยที่มีกำลังและสมรรถภาพที่จะทำการรบได้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยที่มีภารกิจทางยุทธวิธี หรือไม่มีภารกิจทางยุทธวิธี แต่มีอาวุธยุทโธปกรณ์สามารถปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีได้
๑๑๐. การเตรียมพร้อม แบ่งออกเป็น ๓ ขั้น คือ ๑. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๑ , ๒ เตรียมพร้อมขั้นที่ ๒ , ๓. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๓
๑๑๑. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๑ เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีการคุกคามภายนอกราชอาณาจักรด้วยกำลังทหาร หรือมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมือง และด้านมวลชน เพื่อก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจีกรเป็นครั้งคราวหรืออย่างต่อเนื่อง
๑๑๒. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๒ เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุยืนยันการเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากขั้นที่ ๑ ว่าน่าจะเกิดการคุกคามจากนอกประเทศเพิ่มขึ้นหรือมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองและด้านมวลชนต่อเนื่องจากขั้นที่ ๑ และเริ่มมีแนวโน้ม ที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบของมวลชนขึ้นไม่ว่าเฉพาะตำบลหรือโดยทั่วไป
๑๑๓. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๓ เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุอย่างแน่ชัดรวมทั้งการเคลื่อนไหวทางด้านกำลังทหารจากนอกราชอาณาจักรในลักษณะการรุกราน หรือการปฏิบัติการเชิงรุก ทั้งอย่างจำกัดและกว้างขวาง หรือเหตุการณ์ภายในได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจต้องใช้อำนาจตามกฎหมาย และใช้กำลังจนสุดความสามารถแล้วแต่ยังไม่สามารถระงับการขยายตัวแห่งความไม่สงบสุขได้
๑๑๔. การเตรียมพร้อมให้สั่งการด้วยหนังสือ เว้นแต่กรณีจำเป็นอาจสั่งการด้วยวาจาหรือเครื่องมือสื่อสาร แล้วให้มีหนังสือยืนยันโดยเร็วที่สุด
๑๑๕. การลาในระหว่างการเตรียมพร้อม การลาแต่ละครั้งให้พิจารณาอนุญาตได้ไม่เกิน ๗ วัน การลาต่อหรือเกิน ๗ วัน ต้องได้รับอนุญาตจากกองทัพเรือ
๑๑๖. การลาในขณะเตรียมพร้อมขั้นที่ ๑ ให้ผู้บังคับบัญชาระดับผู้บังคับการกรม ผู้บังคับหมวดเรือ ผู้บังคับการกองบิน หรือเทียบเท่า เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๑๑๗. การลาในขณะเตรียมพร้อมขั้นที่ ๒ ให้หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๑๑๘. การลาในขณะเตรียมพร้อมขั้นที่ ๓ ต้องได้รับอนุญาตจากกองทัพเรือ
๑๑๙. เหตุที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการรายงานด่วนคือ
๑. เรื่องที่เกี่ยวกับความประพฤติของทหาร ซึ่งเป็นไปในทางเสื่อมเสียเกียรติ หรือชื่อเสียงของทหารอย่างร้ายแรง หรือต้องหาในคดีอาญาเป็นคดีอุกฉกรรจ์
๒. เรื่องทหารถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส เนื่องจากทำลายชีวิตของตนเอง
๓. เมื่อเกิดโจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย การก่อวินาศกรรม หรือเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ขึ้นในบริเวณสถานที่ของราชการ หรือเรือ หรืออากาศยาน จนเป็นอันตรายแก่ชีวิต มนุษย์ หรือเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทรัพย์สินของทางราชการ
๔. เหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาท จนถึงใช้อาวุธทำการต่อสู่กันขึ้นในหมู่ทหารด้วยกันเอง หรือกับบุคคลอื่นจนถึงแก่ความตาย
๕. เมื่อเกิดโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร
๖. เมื่อเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ขึ้นแก่ทหาร จนถึงแก่ความตาย เช่น ถูกอาวุธ หรือกระสุนปืน ตกจากที่สูง รถคว่ำ เรือล่ม อากาศยานประสบอุบัติเหตุ
๗. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ อย่างร้ายแรง
๘. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกองทหาร เช่น มีผู้มาชักชวนให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือมีผู้คิจะทำร้ายผู้บังคับบัญชา เป็นต้น

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 7

๙๗. เวลาทำการของผู้ปฏิบัติงานในห้องปรับบรรยากาศในปีหนึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ภาค ภาคละ ๖ เดือน ภาคที่ ๑ ตั้งแต่ เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน ภาคที่ ๒ ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม ในภาคหนึ่ง ๆ ต้องทำการในห้องปรับบรรยากาศไม่น้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมง
๙๘. ทำการในห้องปรับบรรยากาศรวมเวลาได้ตั้งแต่ ๒๐ – ๒๔ ชั่วโมง ตัด ๑ เดือน , ๑๔ – ๑๙ ชั่วโมง ตัด ๒ เดือน , ๘ – ๑๓ ชั่วโมง ตัด ๓ เดือนและได้ต่ำกว่า ๘ ชั่วโมง ตัด ๔ เดือน
๙๙. ไม่ได้ทำการในห้องปรับบรรยากาศ ให้ตัดเงินพิเศษรายเดือนของภาคที่ถัดไปทุกเดือน
๑๐๐. ข้าราชการ หมายความว่า ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และให้หมายความรวมถึงพนักงานของรัฐ พนักงานราชการ ลูกจ้างในสังกัดกองทัพเรือ
๑๐๑. ส่วนราชการ หมายความว่า หน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ และให้หมายความรวมถึงหน่วยรองซึ่งอยู่ห่างไกลจากกองบัญชาการหรือกองบังคับการของหน่วยขึ้นตรงนั้น
๑๐๒. สวัสดิการภายในกองทัพเรือ หมายความว่า กิจกรรมหรือกิจการใด ๆ ที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการในการปฏิบัติราชการและการดำรงชีวิตนอกเหนือจากสวัสดิการที่กองทัพเรือจัดให้อยู่แล้ว
๑๐๓. การจัดสวัสดิการภายในกองทัพเรือ ให้จัดทำในระดับกองทัพเรือและระดับส่วนราชการ โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ รวม ๙ ประเภท
๑๐๔. ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้ที่ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบหมาย เป็นประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพเรือ
๑๐๕. เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ เป็นกรรมการและเลขานุการสวัสดิการกองทัพเรือ
๑๐๖. การใช้กำลังทหาร หมายความว่า การใช้กำลังทหารเพื่อการรบการสงครามปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ การปราบปรามการกบฏ และการจลาจล การรักษาความมั่นคงของรัฐการป้องกันปราบปราม การยึดหรือการอารักขาและการพัฒนาประเทศชาติ
๑๐๗. การเคลื่อนกำลังทหาร หมายความว่า การเครื่องกำลังทหารจากที่ตั้ง เพื่อใช้กำลังทหาร หรือการฝึก หรือย้ายที่ตั้ง
๑๐๘. การเตรียมพร้อม หมายความว่า การเตรียมกำลังทหารเพื่อที่จะใช้กำลังทหารแต่ไม่หมายถึงการเตรียมพร้อมของหน่วยทหารที่ทำหน้าที่รักษาการณ์อยู่ตามปกติ

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 6

๗๔. นักประดาน้ำ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ นักประดาน้ำประจำกอง และนักประดาน้ำสำรอง
๗๕. นักประดาน้ำที่เป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ต้องมีอายุไม่เกิน ๔๕ปี ต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ต้องมีอายุไม่เกิน ๔๐ ปี
๗๖. เวลาทำการของนักประดาน้ำ ในปีหนึ่งให้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค ๆ ละ ๖ เดือน ภาคที่ ๑ ตั้งแต่ เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน ภาคที่ ๒ ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม ในภาคหนึ่ง ๆ ต้องได้ทำการใต้น้ำ
๗๗. นักประดาน้ำประจำกองไม้น้อยกว่า ๔ ครั้ง และนักประดาน้ำสำรองไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง
๗๘. การทำการใต้น้ำแต่ละครั้งต้องไม่น้อยกว่า ๔๕ นาที ในน้ำลึกไม่น้อยกว่า ๑๖ เมตร หรือในถังความกดซึ่งมีความกดเทียบเท่า การนับระยะเวลาให้นับตั้งแต่เริ่มทำการจากผิวน้ำจนถึงเวลาพ้นจากพื้นท้องทะเลหรือท้องน้ำ
๗๙. การทำการใต้น้ำแต่ละครั้งเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ รวมเวลาทำงานได้ ๖๐ นาที ในน้ำลึกไม่น้อยกว่า ๑๖ เมตร ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติครบถ้วน ๑ ครั้ง
๘๐.การตัดเงินพิเศษรายเดือนนักประดาน้ำประจำกอง ที่ทำการใต้น้ำ ๓ ครั้ง ให้ตัดเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนในเดือนที่ ๑ ของภาคที่ถัดไป รวม ๑ เดือน
๘๑.การตัดเงินพิเศษรายเดือนนักประดาน้ำประจำกอง ที่ทำการใต้น้ำ ๒ ครั้ง ให้ตัดเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนในเดือนที่ ๑ และ ๒ ของภาคที่ถัดไป รวม ๒ เดือน
๘๒.การตัดเงินพิเศษรายเดือนนักประดาน้ำประจำกอง ที่ทำการใต้น้ำ ๑ ครั้ง ให้ตัดเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนในเดือนที่ ๑ , ๒,๓ และ ๔ ของภาคที่ถัดไป รวม ๔ เดือน
๘๓.การตัดเงินพิเศษรายเดือนนักประดาน้ำประจำกอง ไม่ได้ที่ทำการใต้น้ำ ให้ตัดเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนของภาคที่ถัดไป ทุกเดือน
๘๔. นักประดาน้ำสำรองทำการใต้น้ำ ๑ ครั้ง ให้ตัดเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนในเดือนที่ ๑ , ๒ และ ๓ ชองภาคมราถัดไป รวม ๓ เดือน
๘๕. นักประดาน้ำสำรอง ไม่ได้ทำการใต้น้ำ ให้ตัดเงินพิเศษรายเดือนของภาคที่ถัดไปทุกเดือน
๘๖.ผู้ใดมีสิทธิที่จะได้รับเงินพิเศษรายเดือนสำหรับภาคที่ถัดไปเพียงใดให้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพาวุธทหารเรือ เป็นผู้เสนอรายงานขออนุมัติกองทัพเรือภายในเดือนแรกของภาค
๘๗.ระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการจ่ายและตัดเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับนักประดาน้ำ พ.ศ.๒๕๒๗ ให้เจ้ากรมสรรพาวุธรักษาการตามระเบียบนี้
๘๘. นักโดดร่มแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. นักโดดร่มประจำการ ๒. นักโดดร่มสำรอง
๘๙. นักโดดร่มประจำกอง ได้แก่ ผู้ที่ประจำการในหน้าที่นักโดดร่ม
๙๐. นักโดดร่มสำรอง ได้แก่ผู้ที่มิได้ประจำการในหน้าที่นักโดดร่ม
๙๑. เวลาทำงานของนักโดดร่ม ในปีหนึ่งให้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค ๆ ละ ๖ เดือน ภาค ๑ ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน ภาคที่ ๒ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม ในภาคหนึ่ง ๆ นักโดดร่มต้องทำการโดดร่มไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
๙๒. ในภาคหนึ่งทำการโดดร่ม ๒ ครั้ง ให้ตัดเงินพิเศษรายเดือนในเดือนที่ ๑ และเดือนที่ ๒ ของภาคที่ถัดไป รวม ๒ เดือน
๙๓. ในภาคหนึ่งทำการโดดร่ม ๑ ครั้ง ให้ตัดเงินพิเศษรายเดือนในเดือนที่ ๑ ,๒และเดือนที่ ๓ ของภาคที่ถัดไป รวม ๓ เดือน
๙๔. นักโดดร่มไม่ได้ทำการโดดร่มเลย ให้ตัดเงินพิเศษรายเดือนของภาคที่ถัดไปทุก ๆ เดือน
๙๕. การตัดเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน มิให้ใช้บังคับแก่(นักโดดร่มและนักประดาน้ำและนักทำลายใต้น้ำจู่โจม) ที่ต้องเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจนไม่สามารถทำการโดดร่มได้ ในภาคหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ ๑๖๕ วัน ขึ้นไป
๙๖.. ผู้ปฏิบัติงานในห้องปรับบรรยากาศ หมายถึง ข่าราชการที่กองทัพเรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในห้องปรับบรรยากาศ

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 5

๕๙. หน่วยบินอาจจัดเป็น หมวดบิน ฝูงบิน กองบิน ตามฐานและจำนวน
๖๐. ศิษย์การบินแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ศิษย์การบินชั้นประถม และ ๒. ศิษย์การบินชั้นมัธยม
๖๑. นักบิน คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาการบินจากโรงเรียนการบินของเหล่าทัพหรือสถานศึกษาวิชาการบินที่กองทัพเรือรับรอง
๖๒. นักบินแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. นักบินประจำกอง ๒. นักบินสำรอง ๓. นักบินนอกกอง
๖๓. ครูการบิน คือ นักบินประจำกอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความรู้ความสามารถเป็นครูการบินจากคณะกรรมการที่กองทัพเรือแต่งตั้ง
๖๔. นักบินลองเครื่อง คือ นักบินประจำกอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความรู้ความสามารถเป็นนักบินลองเครื่องจากคณะกรรมการที่กองทัพเรือแต่งตั้ง
๖๕. นักบินประจำกองซึ่งไม่ปลดเป็นนักบินสำรอง ซึ่งอายุเกินเกณฑ์อายุการบินที่กำหนด แต่ได้ทำการบินมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ และเรียบร้อย โดยมีเวลาบินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ ชั่วโมง
๖๖. นักบินประจำกองซึ่งไม่ปลดเป็นนักบินสำรอง ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างอายุการบิน และไม่สามารถทำการบินต่อไปได้ แต่ทำการบินมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ และเรียบร้อยโดยมีเวลาบินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ชั่วโมง
๖๗. นักบินประจำกอง ซึ่งไม่ต้องปลดเป็นนักบินสำรอง ซึ่งไม่สามารถทำการบินต่อไปได้ แต่เป็นผู้มีความดี ความชอบเป็นพิเศษในการบินซึ่งกองทัพเรือพิจารณาเห็นสมควร
๖๘.ศิษย์การบินจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ ยศไม่เกินเรือโท คุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน ๒๘ ปีบริบูรณ์ ความสูงไม่ต่ำกว่า ๑๖๐ เซนติเมตร และวัดรอบอกเมื่อหายใจเข้าไม่น้อยกว่า ๘๔ เซนติเมตร หายใจออกไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร น้ำหนักไม่น้อยกว่า ๕๐ กิโลกรัม
๖๙.นักทำลายใต้น้ำจู่โจม หมายความว่า ทหารซึ่งสอบความรู้ความสามารถในวิชาการทำลายใต้น้ำจู่โจม ได้ตามหลักสูตรของกองทัพเรือ และกองทัพเรือมีคำสั่งแต่งตั้งแล้ว
๗๐. นักทำลายใต้น้ำจู่โจม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑.นักทำลานใต้น้ำจู่โจมประจำกอง ๒.นักทำลายใต้น้ำจู่โจมสำรอง
๗๑. ผู้ปฏิบัติงานทำลายวัตถุระเบิดเป็นประจำ หมายถึง ทหารที่ปฏิบัติงานถอดทำลายวัตถุระเบิด ซึ่งสอบความรู้ความสามารถในวิชาการถอดทำลายวัตถุระเบิดได้ตามหลักสูตรของกองทัพเรือ หรือของหน่วยอื่นที่กองทัพเรือรับรองและทางราชการแต่งตั้ง
๗๒. วัตถุระเบิด หมายถึง ดินระเบิดและอมภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ลูกระเบิดลูกปืน กระสุนปืน อาวะปล่อยที่มีอำนาจทำลายด้วยการระเบิด ทุ่นระเบิด ตอร์บิโดบกกับระเบิด อาวะใต้น้ำ อาวุธจรวด ดอกไม้เพลิง วัตถุเคมี-ชีวะ-รังสี รวมทั้งอาวะนิวเคลียร์ ซึงได้ยิงไป ทิ้งลงวางไว้ ตั้งชนวนไว้ เก็บรักษา โดยอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย เช่น ค้าน ชำรุด พร้อมที่จะทำงานกำลังมีพิษ หรือเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตราย
๗๓. การทำลายวัตถุระเบิด หมายถึง การปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นหาพิสูจน์ทราบประเมินค่า และเก็บกู้ หรือเคลื่อนย้าย หรือถอด หรือทำลายวัตถุระเบิดตามความจำเป็น เพื่อให้วัตถุระเบิดนั้นหมดสภาพที่จะก่อให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 4

๔๖. ผู้ทำการแทนในหน้าที่ใด ๆ เป็นการชั่วคราว ต้องพยายามกระทำการนั้นมิให้เสื่อมไปกว่าเมื่อเวลาผู้ครองตำแหน่งเดิมยังทำกาสรนั้นอยู่ ส่วนระเบียบการหรือแนวที่จะต้องกระทำ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงไปจนผิดความมุ่งหมายของผู้ครองตำแหน่ง
๔๗. ผู้บังคับบัญชา คือ ผู้ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาในส่วนที่ได้รับมอบหมาย
๔๘. ผู้บังคับบัญชาบ่งออกเป็น ผู้บังคับบัญชาโดยตรง และ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
๔๙. บรรดานายทหารที่ได้รับการแต่งตั้งให้บังคับบัญชา ในตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ มีอำนาจบังคับบัญชาตามตำแหน่งหรือตามชั้นยศแก่ทหาร และพลเรือนในหน่วยนั้น ๆ
๕๐. ผู้ซึ่งมียศสูงกว่าเป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่า ถ้ามียศเสมอกันผู้ที่เลื่อนยศก่อนเป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่า ถ้าเลื่อนยศพร้อมกัน ผู้มีชื่อในลำดับต้นเป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่าผู้มีชื่อในลำดับถัดลงมา
๕๑. การปฏิบัติการบิน หมายความว่า การปฏิบัติของผู้ทำการในอากาศที่จะทำการบิน ตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ บังคับ นำอากาศยานบนพื้นดิน พื้นน้ำ ในอากาศและนำอากาศยานเข้าที่จอดและดับเครื่องยนต์เรียบร้อย
๕๒. เวลาบิน หรือชั่วโมงบิน หมายความว่า เวลาในการปฏิบัติการบิน
๕๓. อายุการบิน หมายความว่า เกณฑ์อายุของผู้ปฏิบัติงานในอากาศในการรับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน
๕๔. มาตรฐานการบิน หมายความว่า ระดับของความพร้อมในการปฏิบัติการบินหรือระดับของขีดความสามารถในการปฏิบัติการบินที่สามารถปฏิบัติการบินได้เป็นอย่างดี ตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
๕๕. พัสดุอันตราย หมายความว่า พัสดุใด ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวเติมออกซิเจน ไว้ไฟ กัดกร่อน ไฟไหมโดยว่าย เป็นพิษต่อมนุษย์ มีกัมมันตภาพรังสี หรือเป็นแม่เหล็กซึ่งมีความเข้มของสนามแม่เหล็กเพียงพอที่จะทำให้เข็มทิศของอากาศยานทหารเรือเบี่ยงเบนไปจากทิศทางปกติ
๕๖. ให้ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ รักษาการตามระเบียบนี้
๕๗. อากาศยานทหารเรือ หมายความว่า บรรดาเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ หรือยานอื่น ๆ ที่ใช้ปฏิบัติการในอากาศยานในราชการกองทัพเรือ
๕๘. อากาศยานทหารเรือหลายเครื่องรวมกันอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายทหารคนเดียวกันเรียกว่า หน่วยบิน

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 3

๒๘. รายงานการลงโทษทหารและข้าราชการพลเรือน ในสังกัดกองทัพเรือให้แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.ประเภท ก. ๒ ประเภท ข.
๒๙. รายงานการลงโทษทหารและข้าราชการพลเรือน ในสังกัดกองทัพเรือประเภท ก. เป็นรานงานการลงโทษ ซึ่งผู้บังคับบัญชา ได้จัดการลงโทษอาชญาแก่ผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาล
๓๐.รายงานการลงโทษทหารและข้าราชการพลเรือน ในสังกัดกองทัพเรือประเภท ข. เป็นรายงานการลงโทษ ซึ่งผู้บังคับบัญชามีอำนาจลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารหรือตามข้อบังคับทหารว่าด้วยข้าราชการกลาโหมพลเรือน
๓๑. จำนวนวันในการลงโทษเดือนหนึ่งให้คิด ๓๐ วัน
๓๒. นายทหารหรือข้าราชการพลเรือนสัญญาบัตร ถูกลงอาชญาหรือลงทัณฑ์ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยนั้น เสนอรายงานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบทุกราย
๓๓.ห้ามละหน้าที่การงานโดยมิได้รับอนุญาต จากผู้บังคับบัญชาหรือโดยมิได้มีผู้ใดรับหน้าที่แทนตามระเบียบ
๓๔. ห้ามทำหน้าที่หรือการงานแทนผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตหรือคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือเป็นการแทนโดยหน้าที่ หรือเป็นกาสรป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นโดยปัจจุบันด่วน
๓๕. ห้ามพูดคำหรือวิจารณ์กิจการใด ๆ เกี่ยวกับการบังคับบัญชาหรือตำหนิติเตียนผู้บังคับบัญชาในทำนองชักชวน ให้เกิดความเสื่อมอำนาจในการบังคับบัญชาหรือไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชา
๓๖. ห้ามพูดจาหยาบคายต่อผู้อื่นหรือพูดจาเสียดสียุยง หรือพูดจาในทำนองที่จะให้เกิดการแตกความสามัคคี
๓๗. ห้ามนำเรื่องราวใด ๆ ในราชการออกโฆษณา หรือบอกเล่าโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือนำความลับใด ๆ ของราชการ ตลอดจนเรื่องกิจการในหน้าที่ซึ่งเมื่ออยู่ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนและผู้อื่นและการนั้นยังมิได้เป็นการเปิดเผยไปแจ้งแก่ผู้ใด ซึ่งไม่มีสิทธิจะรู้เป็นอันขาด
๓๘. ห้ามทหารประจำการเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมการเมือง หรือเป็นสมาชิกในคณะพรรคการเมืองใด ๆ และห้ามร่วมในการเดินขบวนการเมือง
๓๙. ห้ามมั่วสุมประชุมกันเพื่อความลับใด ๆ หรือเพื่อปฏิบัติกิจการใด ๆ ซึ่งเป็นการผิดพระราชกำหนดกฎหมาย หรือจะเป็นการเสื่อมเสียแก่ราชการ
๔๐. ห้ามการหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอาศัยการงานในหน้าที่ของตนเป็นเครื่องมือ
๔๑.ในบริเวณที่ตั้งหน่วยทหารหรือในเรือ ห้ามทหารเล่นการพนันทุกประเภท ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายของบ้านเมือง
๔๒. การทำการแทน แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ การทำการแทนโดยคำสั่ง และการทำการแทนโดยหน้าที่
๔๓. การทำการแทนโดยคำสั่ง คือ ตำแหน่งใดว่างโดยผู้ครองตำแหน่งป่วยลาไปราชการหรือโดยเหตุอื่น ๆ และได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้อื่นให้ทำแทน
๔๔. การทำการแทนโดยหน้าที่ คือตำแหน่งใดว่างโดยผู้ครองตำแหน่ง ป่วยลง ไปราชการ หรือโดยเหตุอื่น ๆ ชั่วเวลาไม่นาน และมิได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ใดมาทำการแทน
๔๕. ผู้ทำการแทนโดยหน้าที่ที่ดำเนินราชการ ให้เป็นไปตามปกติไม่คั่งค้าง ถ้าเป็นการสำคัญซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปจากระเบียบ หรือแนวเดิมก็ต้องรอไว้ให้ผู้ครองตำแหน่งจริงมาทำ ผู้ทำการแทนโดยหน้าที่ย่อมไม่มีอำนาจเอกสิทธิและไม่ได้รับเกียรติเท่าเทียม ผู้ครองตำแหน่ง

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 2

๑. สำหรับทหารกองประจำการตามกฎหมายวาด้วยการรับราชการทหารจะลาได้ไม่เกิน ๒๓ วันทำการ
๒. เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้มีการลากิจเกินกว่าที่กำหนด ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ แล้วแต่กรณี มีอำนาจอนุญาตให้ลาเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน ๓๐ วัน
๓. การลาไปต่างประเทศในเอเชียนอกจาก (มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตรประชาชนลาว กำพูชา เป็นต้น) จะลาเพิ่มจากกำหนดวันลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน ๕ วัน
๔. ลาไปตางประเทศในยุโรป อเมริกา แอฟริกา ออสเตรเลีย หรือประเทศอื่น นอกจากในเอเชีย จะลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน ๑๐ วันทำการ
๕. ผู้ลากิจต้องเสนอใบลาต่อผู้บังบัญชาโดยตรง จะลาแทนกันไม่ได้ เมื่ออนุญาตแล้งจึงจะหยุดราชการได้
๖. ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นก็อนุญาตให้หยุดได้ทันที และถ้าลาไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง จะลาด้วยวาจาก็ได้
๗. ผู้ลากิจ เมื่อมีเหตุจำเป็นจะลาต่ออีก ในกรณีอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ให้ส่งใบลาโดยทางไปรษณีย์หรือทางอื่น ๆ แต่ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรักราชการทหารจะลาต่อโดยวิธีนี้ได้ไม่เกิน ๕ วันทำการ
๘. ข้าราชการทหารมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีหนึ่งได้ ๑๐ วันทำการโดยไม่ถือเป็นวันลา
๙. ข้าราชการทหารดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี ในปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ครบ ๖ เดือน
๑๐. ผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน ๓๐ วันทำการ
๑๑. ข้าราชการทหารจะลาอุปสมบท ได้ไม่เกิน ๑๒๐ วัน ผู้ที่เคยอุปสมบทแล้วจะลาอุปสมบทอีกไม่ได้
๑๒. ข้าราชการสัญญาบัตรผู้ใดจะลาอุปสมบทให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปลักกระทรวงกลาโหม สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เพื่อวินิจฉัย เมื่อเห็นควรจะอนุญาตแล้วจึงเสนอรายงานเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก่อนถึงกำหนดอุปสมบทไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
๑๓. ข้าราชการทหารต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ผู้ใดจะอุปสมบทให้เสนอใบลาอุปสมบทถึงผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อเห็นควรจะอนุญาตแล้วจึงรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาชั้น ผู้บัญชาการกองเรือ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๑๔. ผู้ซึ่งได้รับการอนุญาตให้ลาอุปสมบทจะต้องอุปสมบทภายใน ๑๐ วัน นับตั้งแต่วันเริมวันลา
๑๕.ผู้ซึ่งได้รับการอนุญาตให้ลาอุปสมบทเมื่อลาสิกขา ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงทราบ และเข้ารับราชการภายใน ๕ วัน นับแต่วันลาสิกขา สำหรับนายทหารสัญญาบัตร ต้องรายงานจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕
๑. การลาติดตามคู่สมรส หมายความว่า ลาติดตามสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไปปฏิบัติราชการ หรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหรือทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้น เหมือนเต็มเวลาราชการหรือเต็มเวลาทำงาน ตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป แต่ไม่รวมถึงกรณีคู่สมรสลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัน ณ ต่างประเทศ
๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้อนุญาตให้ลาติดตามคู้สมรสได้ไม่เกิน ๒ ปี โดยไม่ได้รับเงินเดือน ในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีกไม่เกิน ๒ ปี แต่เมื่อรวมกันไม่เกิน ๔ ปี ถ้าเกิน ๔ ปี ให้ข้าราชการทหารผู้นั้นลาออกจากราชการ
๓. ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด จะต้องใช้ดุลยพินิจในการเสนอความเห็นต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วยว่า หากอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสได้แล้วจะไม่เสียหายแก่ราชการ
๔. องค์การต่างประเทศ หมายความว่า องค์การหรือสถาบันต่างประเทศตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะได้ประกาศรายชื่อให้ทราบ
๕. ข้าราชการทหารผู้ใด ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นใดของทางราชการหากประสงค์จะลาป่วย ลากิจ ลาพักผ่อน ในช่วงเวลาที่ไปช่วยราชการ ให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้ส่วนราชการต้นสังกัดของผู้นั้นทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
๖. ข้าราชการทหาร ในปีหนึ่งจะลาป่วยได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
๗. เจ็บป่วยเนื่องจากไปราชการในที่กันดาร หรือที่ซึ่งมีโรคภัยชุกชุม หรือประสบอันตราย เนื่องจากปฏิบัติราชการจะลาป่วยเพื่อรักษาตัวต่อไปได้อีก ๙๐ วัน รวมเป็น ๑๘๐ วัน
๘. เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย เพราะกระทำการตามหน้าที่ อันเนื่องจากไอพิษ วัตถุที่เป็นพิษ วัตถุระเบิด หรือเชื้อโรคติดต่ออย่างร้ายแรง จะลาป่วยเพื่อรักษาตัวต่อไปได้อีก ๑๘๐ วัน รวมเป็น ๑๗๐ วัน
๙. เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย เพราะกระทำการตามหน้าที่ในอากาศ ใต้ดิน ใต้น้ำ ทั้งขณะขึ้นลงหรืออยู่ในอากาศ ใต้น้ำ หรือใต้ดิน หรือฝ่าอันตราย ตามที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะลาป่วยเพื่อรักษาตัวได้ ๓๖๕ วัน
๑๐. เจ็บป่วยเนื่องจากต้องกระทำหน้าที่ในการรบ การสงคราม การปราบปรามการจลาจล หรือตามกฎอัยการศึก หรือตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จะลาป่วยเพื่อรักษาตัวได้ ๓๖๕ วัน
๑๑. การลาคลอดบุตรให้ลาได้ ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือน และไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ทั้งนี้สามารถจะลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังวันที่คลอดก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน ๙๐ วัน และจะลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร ได้ไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
๑๒. ข้าราชการทหารมีสิทธิลากิจ โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน ๔๕ วันทำการ

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการรายงานด่วน พ.ศ. ๒๕๑๑

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการรายงานด่วน พ.ศ. ๒๕๑๑
๑. เหตุที่นับว่าสำคัญจะต้องรายงานด่วน คือ
๑. เรื่องที่เกี่ยวกับความประพฤติของทหาร ซึ่งเป็นไปในทางเสื่อมเสียเกียรติ หรือชื่อเสียงของทางาชการ อย่างร้ายแรงหรือต้องกาในคดีอาญาเป็นคดีอุกฉกรรจ์
๒. เรื่องทหารถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส เนื่องจากทำลายชีวิตของตนเอง
๓. เมื่อเกิดโจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย การก่อวินาศกรรม หรือเกิดอุบัติเหตุ อื่น ๆ ขึ้นในบริเวณสถานที่ของทหาร หรือเรือ หรืออากาศยาน จนเป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์หรือเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทรัพย์สินของทางราชการ
๔. เหตุซึ่งเกิดจากการทะเลาะวิวาทจนถึงใช้อาวุธทำการต่อสู้กันขึ้น ในหมู่ทหารด้วยกันเองหรือกับบุคคลอื่น จนถึงแก่ความตาย
๕. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร
๖. เมื่อเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ขึ้นแก่ทหารจนถึงแก่ความตาย เช่น ถูกอาวุธ หรือกระสุนปืน ตากจากที่สูง รถคว่ำ เรือล่ม อากาศยานประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น
๗. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง
๘. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกองทหาร เช่น มีผู้มาชักชวนให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือมีผู้คิดจะทำร้ายผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
๒. การรายงานด่วน จะรายงานด้วยหนังสือ ด้วยวาจา หรือด้วยเครื่องสื่อสารก็ได้ แต่ข้อความที่รายงานนั้นต้องกล่าวใช้ชดเจนเข้าใจง่ายแต่โดยย่อตามเรื่องที่เกิดขึ้น และควรมีข้อความดังนี้
a. วัน เดือน ปี เวลา และสถานที่เกิดเหตุ
b. เรื่องที่เกิดขึ้น (บอกยศ ชื่อ ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน)
c. เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ได้สั่งการแลจัดการไปแล้วอย่างใดบ้าง
d. ความเห็นของผู้รายงานว่า ควรจะได้จัดการในเรื่องนี้อย่างใดต่อไป
๓. เมื่อได้รายงานด่วนแล้ว ถ้าเรื่องใดสมควรจะสอบสวนเพิ่มเติมอย่างใดอีก ก็ให้ดำเนินการเสียให้เรียบร้อย แล้วรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบ
๔. ประกาศให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการเข้าสมาคม เข้าศึกษา หรือบอกความในราชการ พ.ศ. ๒๕๑๐

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเข้าสมาคม เข้าศึกษา หรือบอกความในราชการ พ.ศ. ๒๕๑๐
๑. ห้ามข้าราชการกลาโหมประจำการ ลูกจ้าง และคนงาน ในสังกัดกระทรวงกลาโหม นอกจากข้าราชการการเมือง เข้าเป็นสมาชิก ร่วมประชุม ฟังการบรรยายเผยแพร่กิจการ หรือช่วยเกลี้ยกล่อมโฆษณาวัตถุประสงค์ของสมาคม สโมสร องค์การใด หรือไปบรรยาย ไปแสดงให้แก่สมาคม สโมสร องค์การใด ที่มิใช่เป็นของทางราชการทหาร เว้นแต่จะได้รับอนุญาต (ผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
๒. ข้าราชการกลาโหมประจำการ ลูกจ้าง และคนงาน ในสังกัดกระทรวงกลาโหมนอกจากข้าราชการการเมืองผู้ใดมาความประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิก ร่วมประชุมฟังการบรรยายเผยแพร่กิจการ หรือช่วยเกลี้ยกล่อมโฆษณาวัตถุประสงค์ของสมาคม สโมสร องค์การใด หรือไปบรรยายไปแสดงให้แก่สมาคม สโมสร หรือองค์การใด ที่มิใช่เป็นของทางราชการทหารให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แล้วแต่กรณี เอรับอนุญาตก่อน และถ้าเป็นสมาคม สโมสร หรือองค์การในต่างประเทศ ให้เสนอรายงานถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว กระทรวงกลาโหมจะได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีทราบต่อไป
๓. ข้าราชการกลาโหมประจำการ ลูกจ้างและคนงาน ในสังกัดกระทรวงกลาโหม นอกจากข้าราชการการเมือง มีความประสงค์จะเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชนโดยใช้เวลานอกราชการ หรืออาจใช้เวลาในราชการเพียงบางส่วนไปศึกษา ซึ่งมีผู้เข้าศึกษารวมกันอยู่หลายคนและในการศึกษานั้นมิได้เป็นเพราะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแล้วให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้บังคับบัญชาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เพื่อรับอนุญาตก่อน
๔. การพิจารณาวินิจฉัยของผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ในการอนุญาต ให้ถือหลักเกณฑ์สำหรับประกอบการพิจารณาอังต่อไปนี้
๑. การอนุญาตนั้นจะไม่เป็นเหตุกระทำให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือบกพร่องแก่การปฏิบัติหน้าที่ราชการ
๒. สมาคม สโมสร องค์การ หรือสถานศึกษานั้น เหมาะสมแก่เกียรติของทหาร

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการแต่งตั้งยศทหาร พ.ศ. ๒๕๐๗

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการแต่งตั้งยศทหาร พ.ศ. ๒๕๐๗

๑. นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน พลทหาร หรือบุคคลพลเรือน ซึ่งทางราชการทหารสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ทหารในเวลาทำสงคราม เวลาทำการรบ เวลาทำการปราบปรามจลาจล เวลาปฏิบัติราชการลับ เวลาประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือปฏิบัติราชการพิเศษ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเช่น ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับทหารต่างประเทศ หรือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับต่างประเทศ หากสมควรจะได้รับยศทหารชั่วคราวจะแต่งตั้งว่าที่ยศทหารสัญญาบัตร หรือยศนายทหารประทวนชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามความเหมาะสมเป็นการชั่วคราวในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็ได้
๒. การแต่งตั้งยศทหารชั่วคราวตามความวรรคหนึ่ง ตั้งแต่ระดับชั้นยศสิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ถึงระดับชั้นยศ พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ให้แต่งตั้งได้ไม่เกิน ๑ ชั้นยศ
๑. ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งยศทหารชั่วคราว เมื่อพ้นจากหน้าที่หรือเหตุการณ์หรือกิจการที่ปฏิบัตินั้นยุติหรือเสร็จสิ้นแล้ว ให้พ้นจากยศทหารชั่วคราวนั้น เว้นแต่ทหารซึ่งได้รับการแต่งตั้งยศทหารชั่วคราว ข้อ ๒๑ วรรคสอง อาจได้รับการแต่งตั้งให้รับยศทหารนั้นเป็นการถาวร เพื่อยกย่องเป็นพิเศษเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นเมื่อมีคุณสมบัติดังนี้
๑. มีพฤติกรรมแสดงออกถึงความกล้าหาญในการรบเป็นพิเศษ และต่อสู้ได้ผลดียิ่ง
๒. มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ประพฤติตนสมเกียรติของทหาร
๓. มีตำแหน่งอัตราที่จะเลื่อนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนปี ที่รับราชการตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการแต่งตั้งยศและการเลื่อนยศของข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๗
๔. รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าชั้นเงินเดือนชั้นต่ำของระดับชั้นถัดไปเว้นการเลื่อนยศต่ำกว่าชั้นยศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี
๕. ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นเป็นการสมควร ที่จะให้ได้รับยศทหารอย่างเป็นการถาวร

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการตัด งด และจ่ายรายเดือน

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการตัด งด และจ่ายรายเดือน
--------------------------------
๑. เงินรายเดือน หมายความถึง เงินเดือนกับเงินเพิ่มค่าวิชา เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ เงินเพิ่มค่าฝ่าอันตราย เงินยังชีพข้าราชการบางจังหวัดในภาคใต้ และเงินอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกจ่ายในลักษณะเงินเดือน
๒. ผู้ที่รับราชการไม่เต็มเดือน ลาเกินกำหนดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการลา ขาด หรือหนีราชการ ให้ตัดเงินรายเดือนในเดือนนั้นตามส่วนเฉลี่ยเป็นรายวัน ตามสุริยคติกาล
๓. หากผู้ถูกสั่งพักราชการ ได้ปฏิบัติหน้าที่ล่วงเลยวันให้พักราชการเพราะมิได้รับทราบคำสั่ง ให้จ่ายเงินรายเดือนและค่าเช่าบ้านให้ถึงวันที่ได้รับทราบคำสั่ง หรือควรจะได้รับทราบคำสั่งและค่าเช่าบ้านให้ถึงวันที่ได้รับทราบคำสั่ง หรือควรได้รับทราบคำสั่งนั้น
๔. ถ้าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นจำเป็นต้องส่งมอบงาน ก็ให้จ่ายเงินรายเดือนและค่าเช่าบ้านให้ถึงวันส่งมอบงานเสร็จ แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบหรือควรจะไดรับทราบคำสั่งนั้น
๕. ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกควบคุมตัวหรือถูกสั่งพักราชการ มิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้จ่ายเงินที่งดจ่ายไว้เต็มจำนวน
๖. ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกควบคุมตัวหรือถูกสั่งพักราชการ มิได้กระทำความผิดแต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ หรือถูกลงโทษไม่ถึงจำคุก และไม่ถูกสั่งไล้ออก หรือไม่ถูกถอดออกจากยศทหาร หรือไม่ถูกสั่งปลดออก หรือไม่ถูกสั่งลงโทษ ถึงให้ออกจากประจำการ โดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญให้จ่ายเงินรายเดือนที่งดจ่ายไว้นั้น ไม่เกินกว่าครึ่งหนึ่งของเงินรายเดือนที่ได้รับ ก่อนว่าถูกควบคุมตัวหรือวันถูกสั่งพักราชการ แต่เฉพาะค่าเช่าบ้านให้จ่ายให้เต็ม
๗. ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกควบคุมหรือถูกสั่งพักราชการได้กระทำความผิด ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก หรือโทษหนักกว่าจำคุก หรือถูกสั่งไล่ออก หรือถูกถอดออกจากยศทหารหรือถูกสั่งปลดออก หรือถูกสั่งให้ออกโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนที่งดไว้

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยตำแหน่งและการเทียบตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการกลาโหม พ.ศ

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยตำแหน่งและการเทียบตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๑
๑. ตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการกลาโหม ให้เป็นไปตามลำดับดังนี้
๑. ผู้บังคับหมู่ หรือนายตอน
๒. ผู้บังคับหมวด ต้นเรือชั้น ๓ หรือผู้บังคับหมวดบินชั้น ๓
๓. ผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับการเรือชั้น ๓ ต้นเรือชั้น ๒ หรือผู้บังคับหมวดบินชัน ๒
๔. ผู้บังคับการเรือชั้น ๒ ต้นเรือชั้น ๑ หรือผู้บังคับหมวดบินชั้น ๑
๕. ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการเรือชั้น ๑ หรือผู้บังคับฝูงบิน
๖. ผู้บังคับการกรม ผู้บังคับหมวดเรือ หรือผู้บังคับการกองบิน
๗. ผู้บัญชาการกองพล ผู้บังคับการกองเรือ หรือผู้บัญชาการกองพลบิน
๘. แม่ทัพ
๙. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒. การเทียบตำแหน่งบังคับบัญชาให้เทียบดังนี้
๑. อัตราเงินเดือนนายทหารประทวน ให้เทียบตำแหน่งผู้บังคับหมู่หรือนายตอน
๒. อัตราเงินเดือนร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโทให้เทียบตำแหน่ง ผู้บังคับหมวด ต้นเรือชัน ๓ หรือผู้บังคับหมวดบินชั้น ๓
๓. อัตราเงินเดือนร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก ให้เทียบตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับการเรือชั้น ๓ ต้นเรือชั้น ๒ หรือผู้บังคับหมวดบินชั้น ๒
๔. อัตราเงินเดือน พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ให้เทียบตำแหน่ง ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการเรือชั้น ๒ ต้นเรือชัน ๑ หรือผู้บังคับหมวดบินชั้น ๑
๕. อัตราเงินเดือน พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ให้เทียบตำแหน่ง ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการเรือชั้น ๑ หรือผู้บังคับฝูงบิน
๖. อัตราเงินเดือน พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ให้เทียบตำแหน่ง ผู้บังคับการกรม ผู้บังคับหมวดเรือ หรือผู้บังคับการกองบิน
๗. อัตราเงินเดือน พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ให้เทียบตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพล ผู้บังคับการกองเรือ หรือผู้บัญชาการกองพลบิน
๘. อัตราเงินเดือน พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ให้เทียบตำแหน่งแม่ทัพ

ข้อบังคับ กลาโหม ให้ทหารพักราชการ พ.ศ.๒๕๒๘

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการทหารพักราชการ พ.ศ.๒๕๒๘
--------------------------------
๑. ข้าราชการทหาร หมายถึง ข้าราชการทหารตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑
๒. ข้าราชการทหารผู้ใดถูกฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวกาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือมีกรณีที่ต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถูกสอบสวนเพื่อลงทัณฑ์สถานหนัก ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้คงอยู่ในหน้าที่ราชการ ระหว่างพิจารณาหรือสอบสวนจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้สั่งพักราชการตั้งแต่วันที่ออกคำสั่งนั้น
๓. ข้าราชการทหารตำกว่าชั้นสัญญาบัตร ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งบรรจุเป็นผู้สั่ง
๔. ข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้สั่ง
๕. เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วและสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิด และไม่มีมลทินหรือมัวหมองเลย ผู้บังคับบัญชาที่สั่งพักราชการต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับคือชนตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่าตั้งแต่วันที่สั่งพักราชการ
๖. ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการได้กระทำความผิด ให้ผู้บังคับบัญชาที่สั่งพักราชการปฏิบัติดังนี้
๑. ถ้าสั่งให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันสั่งพักราชการ
๒. ถ้าสั่งให้ออกจากราชการโดยมีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ ให้สั่งให้ออกตั่งแต่วันออกคำสั่ง
๗. ในกรณีผู้ถูกสั่งพักราชการมิได้กระทำความผิดแต่ก็มีมลทินมัวหมองอยู่ ผู้บังคับบัญชาที่สั่งพักราชการจะสั่งให้กลับเข้ารับราชการหรือให้ออกจากราชการก็ได้ แต่ต้องสั่งให้กลับเข้ารับราชการหรือออกจากราชการตั่งแต่วันที่ออกคำสั่งนั้น

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศ พ.ศ. ๒๕๒๘

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศ พ.ศ. ๒๕๒๘

๑. กองทหารเกียรติยศจัดสำหรับ
๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒. สมเด็จพระบรมราชินี
๓. สมเด็จพระบรมราชชนนี ๔. รัชทายาท
๕. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ๖. นายกรัฐมนตรี
๗. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๘. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชากาทหารอากาศ
๙.ประมุขของรัฐต่างประเทศ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ แลแขกผู้มีเกียรติของรัฐบาล
๑๐. พระบรมราชานุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์ผู้ประกอบคุณความดี แก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง
๑๑. ศพทหารซึ่งเสียชีวิตในขณะประจำการ
๑๒. ธงชัยเฉลิมพล
๒. กองทหารเกียรติยศสำหรับบุคคลตามความใน ๑ ถึง ๑๐ ให้จัดกำลัง ๑ กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
๓. สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี รัชทายาทและประมุขรัฐต่างประเทศ ให้มีธงชันเฉลิมพลประจำกองทหารเกียรติยศด้วย
๔. สำหรับศพนายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศ ขึ้นไปให้จัด ๑ กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง(ถ้ามี)
๕. สำหรับศพนายทหารชั้นนายร้อย นายเรือ หรือนายเรืออากาศ ขึ้นไปให้จัด กำลัง กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว

๖. สำหรับศพนายทหารประทวน และศพนักเรียนทหาร ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารสัญญาบัตร ให้จัดกำลัง ๑ หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
๗. สำหรับศพพลทหาร และศพนักเรียนทหาร ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารประทวน ให้จัดกำลัง ๑ หมู่ ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
๘. กองทหารเกียรติยศสำหรับรับหรือส่งธงชัยเฉลิมพล ให้จัดกำลัง ๑ หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยวและขลุ่ยกลอง

ข้อบังคับกลาโหมว่าด้วยเหล่าทหาร ๒๕๒๘

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเหล่าทหาร พ.ศ. ๒๕๒๘
--------------------------
๑. ทหารบก จำแนกเป็น ๑๗ เหล่า คือ
๑. เหล่าทหารราบ ๒. เหล่าทหารม้า
๓. เหล่าทหารปืนใหญ่ ๔. เหล่าทหารช่าง
๕. เหล่าทหารสื่อสาร ๖. เหล่าทหารขนส่ง
๗. เหล่าทหารสรรพาวุธ ๘. เหล่าทหารพลาธิการ
๙. เหล่าทหารสารวัตร ๑๐. เหล่าทหารสารบรรณ
๑๑. เหล่าทหารการเงิน ๑๒. เหล่าทหารพระธรรมนูญ
๑๓. เหล่าทหารแพทย์ ๑๔. เหล่าทหารแผนที่
๑๕. เหล่าทหารการสัตว์ ๑๖. เหล่าทหารดุริยางค์
๑๗ เหล่าทหารการข่าว

๒. ทหารเรือจำแนกเป็น ๔ พรรค ดังนี้
๑. พรรคนาวิน มี ๑๐ เหล่า
๑. เหล่าทหารการปืน ๒. เหล่าทหารอาวุธใต้น้ำ
๓. เหล่าทหารสามัญ ๔. เหล่าทหารสัญญาณ
๕. เหล่าทหารอุทกศาสตร์ ๖. เหล่าทหารขนส่ง
๗. เหล่าทหารสรรพาวะ ๘. เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา
๙. เหล่าทหารสารวัตร ๑๐. เหล่าทหารการข่าว
๒. พรรคกลิน มี ๒ เหล่า คือ
๑. เหล่าทหารเครื่องกล ๒. เหล่าทหารไฟฟ้า
๓. พรรคนาวิกโยธิน มี ๔ เหล่า คือ
๑. เหล่าทหารราบ ๒. เหล่าทหารปืนใหญ่
๓. เหล่าทหารช่าง ๔. เหล่าทหารสื่อสาร
๔. พรรคพิเศษ มี ๘ เหล่า คือ
๑. เหล่าทหารสารบรรณ ๒. เหล่าทหารพลาธิการ
๓. เหล่าทหารการเงิน ๔. เหล่าทหารพระธรรมนูญ
๕. เหล่าทหารช่างยุทธโยธา ๖. เหล่าทหารวิทยาศาสตร์
๗. เหล่าทหารดุริยางค์ ๘. เหล่าทหารแพทย์

๓. ทหารอากาศ จำแนกเป็น ๒๓ เหล่า คือ
๑. เหล่าทหารนักบิน ๒. เหล่าทหารต้นหน
๓. เหล่าทหารตรวจการณ์ ๔. เหล่าทหารทิ้งระเบิด
๕. เหล่าทหารสื่อสาร ๖. เหล่าทหารสรรพาวุธ
๗. เหล่าทหารอากาศโยธิน ๘. เหล่าทหารขนส่ง
๙. เหล่าทหารสารวัตร ๑๐. เหล่าทหารช่างอากาศ
๑๑. เหล่าทหารพลาธิการ ๑๒. เหล่าทหารช่างโยธา
๑๓. เหล่าทหารแผนที่ ๑๔. เหล่าทหารอุตุ
๑๕. เหล่าทหารถ่ายรูป ๑๖. เหล่าทหารการเงิน
๑๗. เหล่าทหารพระธรรมนูญ ๑๘. เหล่าทหารดุริยางค์
๑๙. เหล่าทหารสารบรรณ ๒๐. เหล่าทหารแพทย์
๒๑. เหล่าทหารพลร่ม ๒๒.เหล่าทหารพัสดุ
๒๓. เหล่าทหารวิทยาศาสตร์

ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด ๒๔๙๕ ตอน 3

๔. นายทหารสัญญาบัตร ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารที่ทางราชการกำหนดไว้ให้รับราชการต่อไป ไม่เกิน ๒ ปี เมื่อออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด ให้ได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับว่าด้วยโรงเรียนทหารนั้น ๆ แต่ไม่เกินเดือนละ ๓๑๕ บาท
๒. ทหารซึ่งมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามความในวรรคก่อน หากระหว่างที่รับราชการได้เลื่อนชั้นเงินเดือนสูงขึ้น และเมื่อใช้เกณฑ์คำนวณเบี้ยหวัดตามความในข้อ ๖ แล้วจะได้รับเบี้ยหวัดสูงกว่า เดือนละ ๓๑๕ บาท ก็ให้ใช้เกณฑ์คำนวณตามข้อ ๖
๓. ทหารซึ่งได้รับเบี้ยหวัดอยู่แล้ว ให้งดเบี้ยหวัดในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
๑. นายทหารชั้นสัญญาบัตรกองหนุนมีเบี้ยหวัดซึ่งย้ายหรือปลดจากประเภทนี้
๒. นายทหารประทวนและพลทหารมีเบี้ยหวัดซึ่งปลดจากกองหนุนชั้นที่ ๒ ตามกฎหมายว่าด้วยการรักราชการทหาร
๓. เข้ารับราชการในตำแหน่งซึ่งมีสิทธิจะได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ
๔. กระทำความผิดตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕(๓)
๕. หลีกเลี่ยงหรือบิดพลิ้วต่อราชการจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียกตัวในคราวมีราชการจำเป็นที่ต้องการใช้ตัวได้
๖. เจ็บไข้หรือพิการซึ่งนายแพทย์ของทหาร ๒ นายมีความเห็นว่าไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่ต่อไปได้
การงดเบี้ยหวัดตาม (๔) เฉพาะผู้ที่กระทำความผิดตามข้อ ๕(๓) ข. และ ค. ให้งดตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
๔. การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณเบี้ยหวัดและความหมายของคำว่า “ เงินเดือนเดือนสุดท้าย” ตามข้อบังคับนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
๕. ทหารซึ่งได้รับเบี้ยหวัดอยู่ ถ้าได้เข้ารับราชการมีเงินเดือน ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดและแจ้งให้ส่วนราชการทีเบิกจ่ายเบี้ยหวัดของตนทราบ ภายใน ๗ วัน นับแต่วันเข้ารับราชการว่าได้เข้ารับราชการในกรม กระทรวงใด ตั้งแต่วันที่ เดือน ปี และเวลาใด เป็นข้าราชการประเภทใด มีเงินเดือนเท่าใด

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด ๒๔๙๕ ตอน 2

3. ออกจากราชการเพราะมีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก.ทุจริตต่อหน้าราชการ
ข. กระทำความผิดต้องรับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดอันต้องระวางโทษ ไม่เกินลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เสียหายแก่ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
ค. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นคนล้มละลาย เพราะทำหนี้สินขึ้นด้วยความทุจริตหรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่ง อันแสดงว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งตำแหน่งหน้าที่อย่างร้อยแรง
ง. ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้อยแรง
จ. เปิดเผยความลับของทางราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
ฉ. ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
ช. ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป
ซ. หนีราชการทหารในเวลาประการ
ณ. ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
การออกจากราชการเพราะมีความผิดซึ่งไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตาม ข. และ ค. ให้ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตั้งแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่ถ้าเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการอยู่ก่อนแล้ว ให้ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตั้งแต่วันสั่งพักราชการ
๒. เกณฑ์คำนวณเบี้ยหวัดนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ ๗ ให้คำนวณตามส่วนแบ่งของเงินเดือนสุดท้าย โดยจ่ายเป็นรายเดือนดังนี้
๑. มีเวลาราชการไม่ถึง ๑๕ ปี ได้ ๑๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๒. มีเวลาราชการ ๑๕ ปี แต่ไม่ถึง ๒๕ ปี ได้ ๒๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๓. มีเวลาราชการ ๒๕ ปี แต่ไม่ถึง ๓๐ ปี ได้ ๓๐ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๔. มีเวลาราชการ ๓๐ ปี แต่ไม่ถึง ๓๕ ปี ได้ ๓๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๕. มีเวลาราชการ ๓๕ แต่ ถึง ๔๐ ปี ๓๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๖. มีเวลาราชการเกินกว่า ๔๐ ปี ขึ้นไป ให้แบ่งเป็นห้าสิบส่วนคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ เบี้นหวัดให้จำกัดจำนวนอย่างสูงไม่เกินเงินเดือนสุดท้าย

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด ๒๔๙๕

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด พ.ศ. ๒๔๙๕
------------------------------
๑. ททหารซึ่งมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด คือ
๑. นายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งมีเวลาราชการไม่น้อยกว่า ๑ ปี แล้วออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน
๒. นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ(นายทหารกองหนุน นายทหารนอกราชการ หรือนายทหารพ้นราชการ) ที่ไม่ได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ หรือบำนาญ ภายหลังทางราชการสั่งกลับเข้ารับราชการประจำการใหม่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี แล้วออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน
๓. นายทหารประทวนและพลทหารซึ่งรับราชการในกองประจำการ ครบกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว เมื่อเข้ารับราชการประจำการต่อไป ไม่น้อยกว่า ๑ ปี แล้วออกจากราชการ และเมื่อออกจากราชการนั้นยังไม่พ้นกองหนุนชั้นที่ ๒ ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
๔. นายทหารประทวนและพลทหารกองหนุนที่ไม่ได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ ปรือบำนาญ ภายหลังทางราชการสั่งให้กลับเข้ารับราชการประจำการใหม่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี แล้วออกจากราชการนั้นยังไม่พ้นอชกองหนุนชั้นที่ ๒ ตมกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
๒. ทหารซึ่งระบุไว้ในกรณีต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิไดรับเบี้ยหวัด
๑. ออกจากราชการได้รับบำเหน็จ บำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
๒. นายทหารประทวนและพลทหารซึ่งรับราชการในกองประจำการ ครบกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว ต้องรับราชการต่อไปเพราะเลื่อนกำหนดเวลาปลดหรือนายทหารประทวนและพลทหารกองหนุน ซึ่งเข้ารับการระดมพลเข้าฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรักราชการทหาร

ข้อบังคับ การแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร 3

๑๕. นายทหารนอกราชการจะปลดเป็นนายทหารพ้นราชการด้วยเหตุต่อไปนี้
๑. มีอาการเจ็บไข้ หรือไม่สมควรจะให้เป็นนายทหารนอกราชการ ซึ่งผูบังคับบัญชาได้พิจารณาเป็นการสมควร
๒. มีอายุเกินกว่าเกษียณอายุนอกราชการ
๑๖. นายทหารนอกราชการอยู่ในประเภทนอกราชการได้ไม่เกินกำหนดอายุดังนี้
นายร้อย หรือนายเรือ หรือนายเรืออากาศ ครบ ๕๕ ปี
พันตรี พันโท หรือ นาวาตรี นาวาโท หรือนาวาอากาศตรี นาวาอากาศโท ครบ ๖๐ ปี
พันเอก หรือนาวาเอก หรือนาวาอากาศเอก และนายพล ครบ ๖๕ ปี
๑๗. นายทหารพ้นราชการ คือ นายทหารซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารประเภทนี้
๑๘. นายทหารพ้นราชการ โดยปกติให้สังกัดหน่วยกองทัพที่ตนสังกัด เว้นแต่จะได้สั่งเป็นอย่างอื่น
๑๙. นายทหารสัญญาบัตรทุกประเภท เมื่อต้องหาในคดีอาญา(เว้นคดีที่ขึ้นศาลทหาร) คดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้นจนถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยเร็ว

ข้อบังคับ การแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร 2

๑๐. นายทหารกองหนุน จะออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องทำรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชา จนถึงหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม เพื่อพิจารณาอนุญาต และให้ส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมแจ้งเรื่องการอนุญาตนั้นให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมทราบด้วย
๑๑. นายทหารกองหนุน จะอุปสมบทต้องยื่นรายงานต่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดแล้วเสนอตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๑๒. นายทหารกองหนุน จะอยู่ในประเภทกองหนุนได้ไม่เกินกำหนดอายุ ดังนี้
นายร้อย หรือนายเรือ หรือนายเรืออากาศ ครบ ๔๕ ปี
พันตรี พันโท หรือ นาวาตรี นาวาโท หรือนาวาอากาศตรี นาวาอากาศโท ครบ ๕๐ ปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะสั่งให้ผู้ซึ่งมีอายุเกินกำหนดนี้ คงอยู่ในประเภทกองหนุนต่อไปเป็นพิเศษได้ แต่อายุต้องไม่เกิน ๕๕ ปี
พันเอก หรือนาวาเอก หรือนาวาอากาศเอก ครบ ๕๕ ปี
๑๓. นายทหารนอกราชการ คือนายทหารซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารประเภทนี้
๑๔. เมื่อมีราชการสงคราม หรือประกาศระดมพล หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ในเขตซึ่งตนตั้งภูมิลำเนาอยู่แม้จะไม่ได้รับคำสั่งเรียกร้องประการใด นายทหารนอกราชการก็ต้องไปรายงานตนยังที่ว่าการหน่วยที่ตนสังกัดโดยเร็วที่สุด

ข้อบังคับ การแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร

ข้อบังคับทหาร ว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร
๑.นายทหารสัญญาบัตร คือผู้ซึ่งได้รับยศทหารตั้งแต่นายร้อยตรี หรือนายเรือตรี หรือนายเรืออากาศตรี ขึ้นไป และหมายความตลอดถึงผู้ซึ่งได้ว่าที่ในยศชั้นนั้น ๆ ด้วย
๒. นายทหารสัญญาบัตร แบ่งเป็นประเภท ดังต่อไปนี้
๑. นายทหารประจำการ ๒. นายทหารนอกกอง
๓. นายทหารพิเศษและผู้บังคับการพิเศษ ๔. นายทหารกองหนุน
๕. นายทหารนอกราชการ ๖. นายทหารพ้นราชการ
๓. นายทหารประจำการ คือ นายทหารซึ่งมีตำแหน่งราชการ ในกระทรวงกลาโหม
๔. นายทหารนอกกอง คือนายทหารซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำ ในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารประเภทนี้
๕. นายทหารกองหนุน คือนายทหารซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำ ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารประเภทนี้ ซึ่งแบ่งเป็น
๑. นายทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด ๒ นายทหารกองหนุนไม่มีเบี้ยหวัด
๖. นายทหารกองหนุน โดยปกติให้สังกัดหน่วยทหารหรือจังหวัดทหาร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาหรือหน่วยต้นสังกัดของผู้นั้น เว้นแต่กระทรวงกลาโหมจะได้สั่งเป็นอย่างอื่น
๗. การย้ายสังกัดนายทหารกองหนุนซึ่งมียศตั้งแต่ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ลงไปให้ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้สั่ง
๘. นายทหารกองหนุน โดยปกติมีหน้าที่เข้ารับราชการปีหนึ่งไม่เกิน ๒ เดือน แต่เข้ารับราชการในขณะที่มีราชการพิเศษ หรือเข้ารับการศึกษาตามระเบียบและหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมหรือกองบัญชาการทหารสูงสุด หรือเหล่าทัพกำหนด
๙. นายทหารกองหนุน ย้ายภูมิลำเนาหรือไปต่างจังหวัดชั่วคราว ตั้งแต่ ๓๐ วันขึ้นไป ต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันไปหรือก่อนวันจะไป

ข้อบังคับทหารขาดหนีราชการ ตอน2

๑. ขาดราชการหรือหนีราชการแล้วถูกจับตัวส่ง
ถ้าต้องมีผู้ติดตามจับตัวส่งหรือเจ้าพนักงานจับตัวส่ง ให้ลงทัณฑ์สองเท่าของอัตราที่กำหนด
๒. ทหารซึ่งขาดราชการในเวลาไม่ปกติ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. ครั้งที่ ๑ ขังเท่าจำนวนวันที่ขาด
๒. ครั้งที่ ๒ ขังสองเท่าของจำนวนวันที่ขาด
๓. ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไป ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงทัณฑ์ขัง ตามสมควรความแก่ความผิด แต่ทัณฑ์ที่จะลงต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนด(ขังสองเท่าของจำนวนที่ขาด)
๓. ทหารซึ่งหนีราชการในเวลาไม่ปกติ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. ครั้งที่ ๑ ไม่เกิน ๓๐ วัน ถ้ากลับเองให้ลงทัณฑ์จำขัง เท่าจำนวนวันที่หนี ถ้าถูกจับตัวส่งให้ลงทัณฑ์จำขังสองเท่าของจำนวนวันที่หนี
๒. ครั้งที่ ๒ เกินกว่า ๓๐ วัน หรือครั้งที่ ๒ ให้ผู้บังคับบัญชาส่งตัวผู้นั้นไปฟ้องศาล เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรได้รับความปรานีเป็นกรณีพิเศษ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งลงทัณฑ์ตามสมควรแก่ความผิด แต่ทัณฑ์ที่จะลงต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนด(จำขังสองเท่าของจำนวนวันที่หนี)
๓. ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไป หรือหนีราชการโดยเจตนา จะหลีกเลี่ยงจากราชการตามคำสั่งให้เคลื่อนกำลังทหาร ทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ ไปจากที่ตั้งก็ดีให้ผู้บังคับบัญชาส่งตัวผู้นั้นไปฟ้องศาล
๔. ทหารซึ่งหนีราชการในกรณีต่อไปนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาส่งตัวไปฟ้องศาล
๑. เมื่อคำนวณวันลงทัณฑ์จะต้องรับทัณฑ์จำขังเกินกว่า ๖ เดือน หรือ
๒. หนีราชการไปแล้วมีข้อหาว่าได้กระทำความผิดในทางอาญาอย่างอื่น รวมอยู่ด้วย
๕. ทหารซึ่งหนีราชการจนคดีขาดอายุความสำหรับความผิด ฐานหนีราชการแล้วให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ หรือพ้นราชการทหารประเภทที่ ๒ แล้วแต่กรณี ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร โดยไม่ต้องสั่งลงทัณฑ์
๖. ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับสำหรับผู้ซึ่งหนีราชการจนคดีขาดอายุความ สำหรับความผิดฐานหนีราชการแล้ว แต่ผู้บังคับบัญชายังมิได้ดำเนินการลงทัณฑ์ หรือลงทัณฑ์แล้วแต่ผู้กระทำความผิดยังรับทัณฑ์ไม่ครบกำหนดด้วย
๗. หากเข้ารับราชการในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ถ้าขาดราชการหรือหนีราชการ ให้ลงทัณฑ์เช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง แต่ไม่เกินกว่า ๓ เดือน
๘. แต่ถ้าหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการระดมพล หรือในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม อันเป็นความผิดต่อกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหาร ซึ่งต้องดำเนินคดีในชั้นศาล ผู้บังคับบัญชาจะลงทัณฑ์ตามข้อบงคับนี้มิได้

ข้อบังคับทหารขาดหนีราชการ

ย่อข้อบังคับกระทรวงกลาโหม
ว่าด้วยการลงทัณฑ์ทหารขาดหนีราชการ
พ.ศ. ๒๕๒๘
-------------------------------------
๑. “ทหาร” หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมาย ว่าด้วยราชการทหาร
๒. “ทัณฑ์” หมายความว่า ทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
๓. “ในเวลาไม่ปกติ” หมายความว่า ในเวลาที่มี การรบ สถานะสงครามหรือประกาศใช้กฎอันการศึก
๔. “ในเวลาปกติ” หมายความว่า เวลาอื่นที่มิได้มีการรบ สถานะสงครามหรือประกาศใช้กฎอันการศึก
๕. “ขาดราชการ” หมายความว่า ขาดจากหน้าที่ราชการดังต่อไปนี้
๑. ขาดไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู หรือ
๒. ขาดไม่ถึง ๓ วัน ในเวลาไม่ปกติ หรือ
๓. ขาดโดยมิได้รับอนุญาต หรือเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตลาในเวลาปกติยังไม่ถึง ๑๕ วัน
๖. “หนีราชการ” หมายคงวามว่า ขาดจากหน้าที่ราชการดังต่อไปนี้
๑. ขาด ๒๔ ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู หรือ
๒. ขาด ๓ วัน ในเวลาไม่ปกติ หรือ
๓. ขาดโดยมิได้รับอนุญาต หรือเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตลาในเวลาปกติ ๑๕ วัน หรือ
๔. ขาดโดยเจตนาจะหลีกเลี่ยงจากราชการ ตามคำสั่งให้เคลื่อนกำลัง ทหารทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ ไปจากที่ตั้ง หรือคำสั่งเรียกระดมพล
๗. การนับครั้งขาดราชการหรือหนีราชการ และการคำนวณวันลงทัณฑ์ ให้ถือเกณฑ์ดังนี้
๑. ถ้าหนีราชการให้นับครั้งเฉพาะในการหนีราชการ
๒. ถ้าขาดราชการให้นับครั้งที่หนีราชการรวมกับครั้งที่ขาดราชการด้วย
๓. การขาดราชการไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ในเวลาปกติ ไม่ให้นับเป็นครั้งและไม่ต้องลงทัณฑ์ตามข้อบังคับนี้
๔. การคำนวณวันลงทัณฑ์ ถ้ามีเศษของวันให้ตัดออก
๘. ทหารซึ่งขาดราชการหรือหนีราชการในเวลาปกติ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติดังนี้
๑. ขาดราชการแล้วกลับเอง
ครั้งที่ ๑ ทำทัณฑ์กรรมไม่เกิน ๓ วัน
ครั้งที่ ๒ ขังกึ่งจำนวนวันที่ขาดราชการ
ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไป ขังเท่าจำนวนวันที่ขาดราชการ
๒. หนีราชการแล้วกลับเอง
ครั้งที่ ๑ จำขัง ๑ ใน ๔ ของจำนวนวันที่หนีราชการ
ครั้งที่ ๒ จำขัง ก่ำจำนวนวันที่หนีราชการ
ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไป จำขังเท่าจำนวนวันที่หนีราชการ