วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 5

๕๙. หน่วยบินอาจจัดเป็น หมวดบิน ฝูงบิน กองบิน ตามฐานและจำนวน
๖๐. ศิษย์การบินแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ศิษย์การบินชั้นประถม และ ๒. ศิษย์การบินชั้นมัธยม
๖๑. นักบิน คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาการบินจากโรงเรียนการบินของเหล่าทัพหรือสถานศึกษาวิชาการบินที่กองทัพเรือรับรอง
๖๒. นักบินแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. นักบินประจำกอง ๒. นักบินสำรอง ๓. นักบินนอกกอง
๖๓. ครูการบิน คือ นักบินประจำกอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความรู้ความสามารถเป็นครูการบินจากคณะกรรมการที่กองทัพเรือแต่งตั้ง
๖๔. นักบินลองเครื่อง คือ นักบินประจำกอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความรู้ความสามารถเป็นนักบินลองเครื่องจากคณะกรรมการที่กองทัพเรือแต่งตั้ง
๖๕. นักบินประจำกองซึ่งไม่ปลดเป็นนักบินสำรอง ซึ่งอายุเกินเกณฑ์อายุการบินที่กำหนด แต่ได้ทำการบินมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ และเรียบร้อย โดยมีเวลาบินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ ชั่วโมง
๖๖. นักบินประจำกองซึ่งไม่ปลดเป็นนักบินสำรอง ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างอายุการบิน และไม่สามารถทำการบินต่อไปได้ แต่ทำการบินมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ และเรียบร้อยโดยมีเวลาบินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ชั่วโมง
๖๗. นักบินประจำกอง ซึ่งไม่ต้องปลดเป็นนักบินสำรอง ซึ่งไม่สามารถทำการบินต่อไปได้ แต่เป็นผู้มีความดี ความชอบเป็นพิเศษในการบินซึ่งกองทัพเรือพิจารณาเห็นสมควร
๖๘.ศิษย์การบินจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ ยศไม่เกินเรือโท คุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน ๒๘ ปีบริบูรณ์ ความสูงไม่ต่ำกว่า ๑๖๐ เซนติเมตร และวัดรอบอกเมื่อหายใจเข้าไม่น้อยกว่า ๘๔ เซนติเมตร หายใจออกไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร น้ำหนักไม่น้อยกว่า ๕๐ กิโลกรัม
๖๙.นักทำลายใต้น้ำจู่โจม หมายความว่า ทหารซึ่งสอบความรู้ความสามารถในวิชาการทำลายใต้น้ำจู่โจม ได้ตามหลักสูตรของกองทัพเรือ และกองทัพเรือมีคำสั่งแต่งตั้งแล้ว
๗๐. นักทำลายใต้น้ำจู่โจม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑.นักทำลานใต้น้ำจู่โจมประจำกอง ๒.นักทำลายใต้น้ำจู่โจมสำรอง
๗๑. ผู้ปฏิบัติงานทำลายวัตถุระเบิดเป็นประจำ หมายถึง ทหารที่ปฏิบัติงานถอดทำลายวัตถุระเบิด ซึ่งสอบความรู้ความสามารถในวิชาการถอดทำลายวัตถุระเบิดได้ตามหลักสูตรของกองทัพเรือ หรือของหน่วยอื่นที่กองทัพเรือรับรองและทางราชการแต่งตั้ง
๗๒. วัตถุระเบิด หมายถึง ดินระเบิดและอมภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ลูกระเบิดลูกปืน กระสุนปืน อาวะปล่อยที่มีอำนาจทำลายด้วยการระเบิด ทุ่นระเบิด ตอร์บิโดบกกับระเบิด อาวะใต้น้ำ อาวุธจรวด ดอกไม้เพลิง วัตถุเคมี-ชีวะ-รังสี รวมทั้งอาวะนิวเคลียร์ ซึงได้ยิงไป ทิ้งลงวางไว้ ตั้งชนวนไว้ เก็บรักษา โดยอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย เช่น ค้าน ชำรุด พร้อมที่จะทำงานกำลังมีพิษ หรือเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตราย
๗๓. การทำลายวัตถุระเบิด หมายถึง การปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นหาพิสูจน์ทราบประเมินค่า และเก็บกู้ หรือเคลื่อนย้าย หรือถอด หรือทำลายวัตถุระเบิดตามความจำเป็น เพื่อให้วัตถุระเบิดนั้นหมดสภาพที่จะก่อให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน

ไม่มีความคิดเห็น: