วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 6

บทที่ ๒ การจัดคลัง
ข้อ ๑ การจัดคลังต้องคำนึงถึง การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากทีสุด เก็บพัสดุให้มากที่สุด และต้องรับจ่ายได้สะดวกและปลอดภัย
ข้อ ๒ พื้นที่ที่ใช้ในการเก็บพัสดุ มี ๖ พื้นที่ คือ
๑ พื้นที่ทั้งหมด คือ พื้นที่เก็บพัสดุทั้งหมด คำนวณได้จากกว้างคูณยาว
๒ พื้นที่สุทธิใช้ได้คือ พื้นที่ที่ใช้เก็บพัสดุโดยแท้จริง ไม่รวมช่องทาง พื้นที่รับจ่าย บันใดและที่ทำงาน
๓ พื้นที่ว่าง คือ พื้นที่ที่ใช้เก็บพัสดุที่เหลืออยู่
๔ พื้นที่ว่าแฝง คือ พื้นที่ที่ได้คืนมาโดยการจัดคลังใหม่หรือเปลี่ยนแปลงการเก็บพัสดุ
๕ พื้นที่สูญเปล่า คือ พื้นที่ที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์เก็บพัสดุไม่ได้ ระเบียง บันใด ห้องสุขา สิฟท์ ช่องทางต่าง ๆ
๖ พื้นที่ใช้ในการสนับสนุนการเก็บรักษา คือพื้นที่ที่ใช้ในการสนับสนุนการทำงานเช่น ห้องห้องต่าง พื้นที่รับส่ง ฯ
ข้อ ๓ แผนการจัดวางพัสดุ มี ๔ ประการคือ
๑ ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
๒ การประหยัดแรงงานและเวลา
๓ สามารถเข้าถึงพัสดุได้โดยเร็ว
๔ ให้ความคุมครองต่อพัสดุได้ดีที่สุด

ข้อ ๔ ลักษณะและความจุของคลังที่เก็บรักษา จัดเก็บพัสดุได้เท่าใดขึ้นอยู่กับ
๑ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ประตู ผนัง เสา ความสามารถในการรับนำหนักของพื้นคลัง ความสูงของเพดาน
๒ คุณลักษณะของพัสดุ คือ ขนาด รูปร่าง ลักษณะการบรรจุหีบห่อ

ข้อ ๕ ทรวดทรงและขนาดของกองพัสดุ
๑ กองเดี่ยวซ้อนสูง คือ พัสดุ ๑ หีบห่อกองสูง ๒ ชั้นขึ้นไปกองเดี่ยวสมบูรณ์ คือกองสูงจนเต็มความสามารถ
๒ กองแถวซ้อนสูง คือ กองพัสดุเกินกว่า ๑ กอง วางซ้อนสูงขึ้นไปเรียงติดกันตามทางลึก
๓ กองลูกบาศน์ คือกองพัสดุในทางสูง ตั้งแต่ ๒ ชั้นและ ๒ แถวขึ้นไป
๔ ชั้น คือ ชั้นของกองพัสดุ

ข้อ ๖ ขนาดของกอง คือ กองขนาดเล็ก มีพัสดุน้อยกว่า หนึ่งกองเดี่ยวสมบูรณ์ กองขนาดกลาง ไม่เกิน ๓ กอง และขนาดใหญ่ เกินกว่า ๓ กอง หรือ ขนาด ๑ คันรถ

ข้อ ๗ หลักการจัดคลังและเก็บรักษา ขั้นแรกแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑ พื้นที่ทำงาน ๒ ช่องทาง ๓ พื้นที่ใช้เก็บพัสดุ

ไม่มีความคิดเห็น: