วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 9

๑๒๐. เหตุอื่นที่กองทัพเรือกำหนดนอกเหนือข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการรายงานด่วน คือ
๑. เรือ อากาศยาน สรรพาวุธหรือเครื่องประกอบสรรพาวุธ ที่สำคัญได้รับความเสียหายจนหย่อนสมรรถภาพหรือสูญหาย
๒. อุบัติเหตุหรือการเสียหายใด ๆ ที่เกิดข้นแก่ทรัพย์สินของทางราชการ คิดเป็นเงินตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐.-บาท ขึ้นไป ให้รายงานด่วนถึงกองทัพเรือ หากค่าเสียหายคิดเป็นเงินตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐.-บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐.-บาทให้รายงานด่วนถึงผู้บังคับบัญชา ระดับส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพเรือ
๓. ทหารตั้งแต่ ๒๐ คน ขึ้นไป หรือกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนทหารที่อยู่ในสังกัดหลบหนีออกจากบริเวณในเวลาเดียวกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกัน
๔. เหตุอื่น ๆ ที่เห็นสมควรจะต้องรายงาน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงทราบโดยด่วน
๑๒๑. การรายงานด่วนให้ทำเป็นรายงานย่อ จะรายงานโดยทางหนังสือ หรือทางเครื่องมือสื่อสาร หรือทางวาจาก็ได้ การรายงานให้กล่าวแต่ใจความสำคัญแต่ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย และประกอบด้วยสาระ
๑. วัน เดือน ปี และตำบลที่เกิดเหตุ
๒. เรื่องและสาเหตุที่เกิดขึ้น
๓. เมื่อเกิดเหตุแล้ว ได้สั่งการและจัดการไปอย่างใดบ้าง
๔. ความเห็นของผู้รายงานว่าควรจะจัดการอย่างไรต่อไป.
๑๒๒. เรือหลวง หมายความว่า บรรดาเรือเดินทะเลทั้งเรือรบและเรือช่วยรบทีมีชื่อปรากฏอยู่ในอัตรากองทัพเรือ
๑๒๓. เรือรบ หมายความว่า เรือตั้งแต่ใหญ่ที่สุดจนถึงเรือที่เล็กที่สุดที่ใช้ปฏิบัติการยุทธ์
๑๒๔. เรื่อช่วยรบ หมายความว่า เรือจำพวกที่มิได้ใช้ในการยุทธ์โดยตรงและเรือที่ใช้ในกิจการพิเศษของกองทัพเรือ
๑๒๕. เรือรบ แบ่งออกเป็น ๙ ประเภท ได้แก่ ๑. เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ๒. เรือพิฆาต ๓. เรือฟรีเกต ๔. เรือคอร์เวต ๕. เรือเร็วโจมตี ๖. เรือดำน้ำ ๗. เรือทุ่นระเบิด ๘. เรือยกพลขึ้นบก ๙. เรือตรวจการณ์
๑๒๖. เรือช่วยรบ แบ่งเป็น ๑๓ ประเภท คือ ๑. เรือส่งกำลังบำรุง ๒. เรือน้ำมัน ๓. เรือน้ำ ๔. เรือลากจูง ๕. เรือลำเลียง ๖. เรือสำรวจ ๗. เรือพี่เลี้ยง ๘. เรืออู้แห้ง ๙. เรือโรงงาน ๑๐. เรือพยาบาล ๑๑. เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัย ๑๒. เรือกู้ซ่อม ๑๓. เรือใช้กิจการพิเศษอื่น ๆ
๑๒๗. เรือเร็วโจมตี แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ๑. เรือเร็วโจมตี(อาวุธวิถี) ๒. เรือเร็วโจมตี (ปืน) ๓. เรือเร็วโจมตี(ตอร์ปีโด)
๑๒๘. เรือทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด ๑. เรือต่อต้านทุ่นระเบิด ๒. เรือกวาดทุ่นระเบิด ๓. เรือวางทุ่นระเบิด ๔. เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด
๑๒๙. เรือกวาดทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด ๑. เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง ๒ เรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ๓. เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง ๔. เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น
๑๓๐. เรือล่าทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๑. เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ๒. เรือล่าทำลานทุ่นระเบิกชายฝั่ง
๑๓๐. เรือวางทุ่นระเบิด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๑. เรือวางทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ๒. เรือวางทุ่นระเบิดชายฝั่ง
๑๓๑. การแบ่งชั้นเรือ ให้จัดแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ เรือชั้นที่ ๑ เรือชั้นที่ ๒ เรือชั้นที่ ๓
๑๓๒. การตั้งชื่อเรือ เรือตั้งแต่ชั้น ๑ ถึง ชั้น ๓ ที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ ๑๕๐ ตันข้นไป ให้ตั้งชื้อเรือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๙ และให้ใช้คำว่า “เรือหลวง”(ร.ล.) นำหน้าชื่อ)
๑๓๓. เรือที่มีระวางขังน้ำปกติต่ำกว่า ๑๕๐ ตันลงมา และเรือขนาดเล็กให้ตั้งชื่อเรือด้วยอักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือ มีหมายเลขต่อท้าย
๑๓๔. เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อ ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ
๑๓๕. เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง หรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์
๑๓๖. เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิธี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเล สมันโบราณ ที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ
๑๓๗. เรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล
๑๓๘. เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิฤทธิ์ในนิยาย หรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ
๑๓๙. เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ
๑๔๐. เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ
๑๔๑. เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งตามชื่อเรืออำเภอชายทะเล
๑๔๒. เรือตรวจการณ์(ปราบเรือดำน้ำ)ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณ ที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ
๑๔๓. เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ
๑๔๔. เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ๑๔๕. การเขียนชื่อเรือ ให้ทำด้วยทองเหลืองตรึงติดกับตัวเรือ ตอนท้ายสุดเหมือแนวน้ำบนพื้นสีน้ำเงิน เว้นแต่เรือบางลำหรือบางประเภทจะติดชื่อเรือตรงนั้นไม่สะดวกก็ให้ติดไว้ข้างเรือตอนท้ายทั้งสองข้าง

ไม่มีความคิดเห็น: