วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕
๑. การลาติดตามคู่สมรส หมายความว่า ลาติดตามสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไปปฏิบัติราชการ หรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหรือทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้น เหมือนเต็มเวลาราชการหรือเต็มเวลาทำงาน ตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป แต่ไม่รวมถึงกรณีคู่สมรสลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัน ณ ต่างประเทศ
๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้อนุญาตให้ลาติดตามคู้สมรสได้ไม่เกิน ๒ ปี โดยไม่ได้รับเงินเดือน ในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีกไม่เกิน ๒ ปี แต่เมื่อรวมกันไม่เกิน ๔ ปี ถ้าเกิน ๔ ปี ให้ข้าราชการทหารผู้นั้นลาออกจากราชการ
๓. ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด จะต้องใช้ดุลยพินิจในการเสนอความเห็นต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วยว่า หากอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสได้แล้วจะไม่เสียหายแก่ราชการ
๔. องค์การต่างประเทศ หมายความว่า องค์การหรือสถาบันต่างประเทศตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะได้ประกาศรายชื่อให้ทราบ
๕. ข้าราชการทหารผู้ใด ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นใดของทางราชการหากประสงค์จะลาป่วย ลากิจ ลาพักผ่อน ในช่วงเวลาที่ไปช่วยราชการ ให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้ส่วนราชการต้นสังกัดของผู้นั้นทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
๖. ข้าราชการทหาร ในปีหนึ่งจะลาป่วยได้ไม่เกิน ๙๐ วัน
๗. เจ็บป่วยเนื่องจากไปราชการในที่กันดาร หรือที่ซึ่งมีโรคภัยชุกชุม หรือประสบอันตราย เนื่องจากปฏิบัติราชการจะลาป่วยเพื่อรักษาตัวต่อไปได้อีก ๙๐ วัน รวมเป็น ๑๘๐ วัน
๘. เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย เพราะกระทำการตามหน้าที่ อันเนื่องจากไอพิษ วัตถุที่เป็นพิษ วัตถุระเบิด หรือเชื้อโรคติดต่ออย่างร้ายแรง จะลาป่วยเพื่อรักษาตัวต่อไปได้อีก ๑๘๐ วัน รวมเป็น ๑๗๐ วัน
๙. เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย เพราะกระทำการตามหน้าที่ในอากาศ ใต้ดิน ใต้น้ำ ทั้งขณะขึ้นลงหรืออยู่ในอากาศ ใต้น้ำ หรือใต้ดิน หรือฝ่าอันตราย ตามที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะลาป่วยเพื่อรักษาตัวได้ ๓๖๕ วัน
๑๐. เจ็บป่วยเนื่องจากต้องกระทำหน้าที่ในการรบ การสงคราม การปราบปรามการจลาจล หรือตามกฎอัยการศึก หรือตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จะลาป่วยเพื่อรักษาตัวได้ ๓๖๕ วัน
๑๑. การลาคลอดบุตรให้ลาได้ ๙๐ วัน โดยได้รับเงินเดือน และไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ทั้งนี้สามารถจะลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังวันที่คลอดก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน ๙๐ วัน และจะลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร ได้ไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
๑๒. ข้าราชการทหารมีสิทธิลากิจ โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน ๔๕ วันทำการ

ไม่มีความคิดเห็น: