วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 8

๑๓.๓.๔.๕ ให้มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ เวลารับ - ส่งข่าวและนามเรียกขานอยู่เสมอโดยไม่เป็นระบบ
๑๓.๓.๔.๖ ให้ใช้การรับรองฝ่ายในกรณีต่อไปนี้
๑๓.๓.๔.๖.๑ เมื่อสงสัยว่าจะถูกลวงเลียน
๑๓.๓.๔.๖.๒ เมื่อเริ่มเปิดการติดต่อหรือเปลี่ยนความถี่ทุกครั้ง
๑๓.๓.๔.๖.๓ เมื่อจำเป็นจะต้องส่งข่าวในระหว่างการห้ามส่งวิทยุ
๑๓.๓.๔.๗ ต้องรักษาวินัยในการใช้วงจรการสื่อสารโดยให้ปฏิบัติตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
๑๓.๓.๔.๘ ข่าวที่ส่งต้องสั้น ถ้าจำเป็นต้องส่งข่าวยาวที่ไม่มีความเร่รงด่วนให้แบ่งส่งเป็นตอน ๆ โดยใช้ห้วงระยะเวลาที่ไม่ต่อเนื่องกัน
๑๓.๓.๔.๙ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสื่อสารจัดให้มีการเฝ้าฟังและแก้ไขการละเมิดการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร

บทที่ ๓
การรักษาความปลอดภัยทางการรหัส
๑๔ คำจำกัดความ การรักษาความปลอดภัยทางการรหัส หมายถึงมาตรการ ที่กำหนดขึ้นสำหรับปฏิบัติต่อข่าวที่มีชั้นความลับ โดยการนำเอาระบบการรหัสที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไปใช้อย่างถูกต้องเพื่อป้องกันมิให้เผยแก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่
๑๕. ระบบการรหัส
๑๕.๑ การรหัส แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑๕.๑.๑ ประมวลลับ
๑๕.๑.๒ รหัส
๑๕.๒ ลำดับความปลอดภัยของระบบการรหัส มีดังนี้
๑๕.๒.๑ การใช้เครื่องรหัสประกอบร่วมอยู่ในวงจร
๑๕.๒.๒ การใช้รหัสแยกวงจร
๑๕.๒.๓ การใช้ประมวลลับ
๑๕.๓ การเลือกใช้ระบบการรหัส
๑๕.๓.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” และ “ลับมาก” ให้ใช้ระบบการรหัสตามข้อ ๑๕.๒.๑ หรือ ๑๕.๒.๒
๑๕.๓.๒ ข่าวชั้น “ลับ” และ “ปกปิด” ให้เลือกใช้ระบบการรหัสตามข้อ ๑๕.๒ โดยอนุโลม

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 7

๑๓.๓.๓ การส่งข่าวทางสาย ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๓.๓.๓.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” ห้ามส่งเป็นข้อความธรรมดาแม้ว่าจะมีอุปกรณ์การรักษาความปลอดภัยประกอบอยู่ด้วยก็ตาม ถ้าจำเป็นต้อส่งให้เข้ารหัส
๑๓.๓.๓.๒ ข่าวชั้น “ลับมาก” ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๓.๓.๓.๒.๑ วงจรทางสายที่รับรองแล้วให้ส่งเป็นข้อความธรรมดาได้
๑๓.๓.๓.๒.๒ วงจรทางสานที่ไม่รับรองต้องเข้าประมวลลับหรือรหัส หรือใช้อุปกรณ์การรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองแล้วประกอบร่วมในการส่งข่าว
๑๓.๓.๓.๓ ข่าวชั้น “ลับ” และ “ปกปิด” ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๓.๓.๓.๓.๑ วงจรทางสายที่รับรองแล้วให้ส่งเป็นข้อความธรรมดาได้
๑๓.๓.๓.๓.๒ วงจรทางสายที่ไม่รับรองต้องเข้าประมวลลับหรือรหัส
๑๓.๓.๓.๔ เมื่อผู้ให้ข่าวพิจารณาเห็นว่า ความเร่งด่วนของสถานการณ์สำคัญกว่าความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัย การส่งข่าวชั้น “ลับมาก” ลงมาให้ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจกันโดยเฉพาะได้ หรือจะใช้อุปกรณ์การรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองแล้ว ประกอบร่วมในการส่งข่าวก็ได้
๑๓.๓.๔ การข่าวทางวิทยุส่ง เป็นวิธีที่ปลอดภัยน้อยที่สุด ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๓.๓.๔.๑ การส่งข่าวที่กำหนดชั้นความลับ
๑๓.๓.๔.๑.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” และ”ลับมาก” ต้องเข้ารหัสโดยใช้เครื่องรหัสประกอบร่วมอยู่ในวงจรหรือแยกวงจร
๑๓.๓.๔.๑.๒ ข่าวชั้น “ลับ” และ “ปกปิด” ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๓.๓.๔.๑.๑ หรือจะใช้ประมวลลับก็ได้
๑๓.๓.๔.๒ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานวิทยุจะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๖.๑ ของระเบียบนี้ และมีใบรับรองความไว้วางใจ (รปภ.๓) อย่างต่ำชั้น “ลับ”
๑๓.๓.๔.๓ ใช้เครื่องส่ง สายอากาศ และกำลังส่งให้เหมาะสมแก่การแพร่คลื่น และมีความแรงของสัญญาณพอที่จะติดต่อกันได้แน่นอนเท่านั้น
๑๓.๓.๔.๔ การทดลองเครื่องส่งออกอากาศให้กระทำได้เท่าที่จำเป็น

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 6

๑๓. มาตรการรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว
๑๓.๑ การส่งข่าวโดยการนำสาร
๑๓.๑.๑ เจ้าหน้าที่นำสาร ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ บทที่ ๔ ข้อ ๓๕.๕.๕
๑๓.๑.๒ สัตว์นำสารที่ฝึกและขึ้นทะเบียนของทางราชการแล้ว ให้ใช้ได้ตามความจำเป็น โดยปฏิบัติดังนี้
๑๓.๑.๒.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” และ “ลับมาก” ต้องเข้ารหัส
๑๓.๑.๒.๒ ข่าวชั้น “ลับ” และ “ปกปิด” ต้องเข้าประมวลลับหรือรหัส
๑๓.๒ การส่งข่าวทางไปรษณีย์ การส่งข่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๓.๒.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” และ “ลับมาก” ต้องเข้ารหัส
๑๓.๒.๒ ข่าวชั้น “ลับ” ต้องเข้าประมวลหรือรหัส
๑๓.๒.๓ ข่าวชั้น “ปกปิด” ส่งเป็นข้อความธรรมดาได้
ข้อกำหนดนี้ยกเว้นสำหรับการส่งข่าวทางสายการทูต
๑๓.๓ การส่งข่าวทางโทรคมนาคม
๑๓.๓.๑ การส่งข่าวทางทัศนสัญญาณ
๑๓.๓.๑.๑ การส่งข่าวที่มีชั้นความลับโดยทางทัศนสัญญาณ ด้วยประมวลสากลให้ปฏิบัติดังนี้
๑๓.๓.๑.๑.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” ต้องเข้ารหัส
๑๓.๓.๑.๑.๒ ข่าวชั้น “ลับมาก” ลงไปต้องเข้า ประมวลลับหรือรหัส
๑๓.๓.๑.๒ วิธีส่งข่าวทางทัศนสัญญาณ มีลำดับความปลอดภัยจากมากไปหาน้อย ดังนี้
๑๓.๓.๑.๒.๑ กลางวัน
- ระบบแสงอินฟราเรด
- ธงสองมือ
- โคมไปบังคับทิศ
- แผ่นผ้าสัญญาณ
- ธงสองมือ
- ดอกไม้เพลิงสัญญาณ
- โคมไฟไม่บังคับทิศ
๑๓.๓.๑.๒.๒ กลางคืน
- ระบบแสงอินฟาเรด
- โคมไฟบังคับทิศ
- ดอกไม้เพลิงสัญญาณ
- โคมไฟไม่บังคับทิศ
- ไฟพรวน
๑๓.๓.๒ การส่งข่าวทางเสียงสัญญาณ
๑๓.๓.๒.๑ การส่งข่าวที่มีความลับโดยทางเสียงสัญญาณด้วยประมวลสากลให้ปฏิบัติดังนี้
๑๓.๓.๒.๑.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” ต้องเข้ารหัส
๑๓.๓.๒.๑.๒ ข่าวชั้น “ลับนาก” ลงไปต้องเข้าประมวลลับหรือรหัส
๑๓.๓.๒.๒ การส่งสัญญาณนัดหมายโดยทางเสียงสัญญาณต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 5

บทที่ ๒
การรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว
๙. คำจำกัดความ การรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว หมายถึงมาตรการที่
กำหนดขึ้นสำหรับปฏิบัติต่อการส่งข่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ได้ล่วงรู้ หรือรอดพ้นจากการดักรับ การวิเคราะห์การรับ – ส่งข่าว และการลวงเลียน
๑๐. วิธีการส่งข่าว มีดังต่อไปนี้
๑๐.๑ การนำสาร
๑๐.๒ ไปรษณีย์
๑๐.๓ โทรคมนาคม
๑๐.๓.๑ ทัศนสัญญาณ
๑๐.๓.๒ เสียงสัญญาณ
๑๐.๓.๓ ทางสาย
๑๐.๓.๔ วิทยุ
๑๑. การเลือกวิธีการส่งข่าว การเลือกวิธีการส่งข่าว จะต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้ข่าวถึงผู้รับตามลำดับความเร่งด่วนที่กำหนด และตามความประสงค์ของการรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว ซึ่งมีลำดับความปลอดภัยจากมากไปหาน้อย ดังนี้
๑๑.๑ เจ้าหน้าที่นำสาร
๑๑.๒ ไปรษณีย์ลงทะเบียน
๑๑.๓ วงจรทางสายที่รับรองแล้ว
๑๑.๔ ไปรษณีย์ธรรมดา
๑๑.๕ วงจรทางสายที่ไม่รับรอง
๑๑.๖ ทัศนสัญญาณ
๑๑.๗ สัตว์นำสารที่ฝึกและขึ้นทะเบียนของทางราชการแล้ว
๑๑.๘ เสียงสัญญาณ
๑๑.๙ วิทยุ
๑๒. การรักษาความปลอดภัยในการเตรียมทำข่าว เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมทำข่าว ได้แก่ ผู้ให้ข่าว ผู้เขียนข่าวและผู้อนุมัติข่าว จะต้องปฏิบัติดังนี้
๑๒.๑ ผู้เขียนข่าวต้องเขียนข่าวในกระดาษเขียนข่าวตามตัวอย่างที่แสดงไว้ท้ายระเบียบนี้
๑๒.๒ ข่าวที่จะส่งทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และไม่สามารถส่งโดยวิธีอื่นได้
๑๒.๓ ผู้ให้ข่าวเป็นผู้กำหนดชั้นความลับของข่าว โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ บทที่ ๔ ข้อ ๓๐
๑๒.๔ ผู้ให้ข่าวต้องกำหนดลำดับความเร่งด่วนของข่าวให้เหมาะสมเพื่อส่งถึงผู้รับทันเวลา และตามความจำเป็นของสถานการณ์โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและขีดความสามารถในการส่งข่าว

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 4

บทที่ ๑
กล่าวทั่วไป
๕. คำจำกัดความ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร (COMMUNICATIONSECURITY) หมายถึงการใช้มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อความคุมพิทักษ์รักษา และป้องกันมิให้ความลับของทางราชการอันเนื่องมาจากการสื่อสารรั่วไหล หรือรู้ไปถึงหรือตกไปอยู่กับบุคคลผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ หรือฝ่ายตรงข้าม
๖. หลักการทั่วไป ให้ยึดถือหลักการการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสารตามแนวทางต่อไปนี้
๖.๑ บุคคลที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสื่อสาร จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการรับรองความไว้วางใจตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ บทที่ ๓ และต้องผ่านการอบรมการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสารมาแล้ว
๖.๒ การดำเนินการต่อข่าวที่มีชั้นความลับ ซึ่งจะส่งด้วยเครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับประมวลลับหรือรหัส จะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ บทที่ ๔
๗. ประเภทและความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร
๗.๑ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๗.๑.๑ การรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว
๗.๑.๒ การรักษาความปลอดภัยทางการรหัส
๗.๑.๓ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ทางการสื่อสาร
๗.๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร รวมทั้งนายทะเบียนวัสดุลับทางการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ควบคุมการรหัส และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสารได้ตามความจำเป็น (บทที่ ๕ บทผนวก)
๘. การพิจารณาในกรณีละเมิดการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร
การละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร ซึ่งจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนา หรือการละเมิดนั้นจะเกิดความเสียหายหรือยังไม่เกิดความเสียหายต่อความลับของทางราชการ ให้ถือเป็นความผิดต้องถูกพิจารณาโทษทางวินัย หรือโทษทางอาญาได้ตามความเหมาะสมแห่งสภาพของความผิดในการละเมิดนั้น
หัวหน้าส่วนราชการจะต้องรับผิดชอบที่จะพิจารณาดำเนินการลงทัณฑ์หรือดำเนินคดีทางอาญาตามความผิด

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 3

๔.๑๕ “ผู้อนุมัติข่าว” (RELEASER) หมายถึงผู้ที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ให้ตรวจข่าวและอนุมัติให้ส่งข่าวในนามของผู้ให้ข่าวได้
๔.๑๖ “การห้ามส่งวิทยุ” (RADIO SILENCE) หมายถึงการหยุดส่งคลื่นวิทยุภายในช่วงเวลาที่กำหนด
๔.๑๗ “การรับรองฝ่าย” (AUTHENTICATION) หมายถึงวิธีรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันมิให้มีการส่งข่าวปลอมแปลงขึ้นในระบบการสื่อสาร
๔.๑๘ “วงจรทางสายที่รับรองแล้ว” (APPROVED WIRE CIRCUITS) หมายถึงวงจรทางสายซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้ส่งข่าวที่มีชั้นความลับเป็นข้อความธรรมดาได้ไม่เกินชั้นความลับ “ลับมาก”
๔.๑๙ “วงจรทางสายที่ไม่รับรอง” (NON-APPROVED WIRE CIRCUITS) หมายถึงวงจรทางสายซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่ได้กำหนดไว้สำหรับใช้ส่งข่าวที่มีชั้นความลับเป็นข้อความธรรมดา
๔.๒๐ “วัสดุการรหัส” (CRYPTOMATERIAL) หมายถึงเอกสารบริภัณฑ์ และยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในการเข้าและถอดการรหัส
๔.๒๑ “วัสดุลับทางการสื่อสาร” (CLASSIFIED COMMUNICA-TIONS MATERIAL) หมายถึงเอกสารบริภัณฑ์ และยุทธภัณฑ์ทางการสื่อสารซึ่งได้กำหนดชั้นความลับแล้ว
๔.๒๒ “โคมไฟบังคับทิศ” (DIRECTIONAL FLASH LIGHT) หมายถึงการส่งสัญญาณด้วยการใช้โคมไฟที่บังคับทิศทางในเมื่อต้องการติดต่อหรือทำการเรียก เพียง สถานีเดียว
๔.๒๓ “โคมไฟไม่บังคับทิศ” (NON-DIRECTIONAL FLASHLIGHT) หมายถึงการส่งสัญญาณโดยวิธีส่งลำแสงไฟให้เห็นโดยรอบทิศหรือเห็นเป็นมุมกว้าง โดยสถานีหนึ่งต้องการส่งข่าวให้กับสถานีรับมากกว่า ๒ แห่งพร้อมกัน
๔.๒๔ “ธงสองมือ” (FLAGSIGNALS) หมายถึงการส่งสัญญาณโดยใช้ธงสองมือ หรือธงเดี่ยวที่พนักงานถืออยู่ ตำแหน่งหรือการเคลื่อนไหวของธงจะแทนตัวอักษรตัวเลข หรือสัญญาณมอร์ส
๔.๒๕ “ธงสัญญาณ” (FLAGHOIST) หมายถึงการใช้ธงอักษร ธงตัวเลข และธงพิเศษ ชักขึ้นด้วยเชือกที่เสา สามารถส่งได้เร็วและแน่นอน แต่ใช้ได้เฉพาะกลางวัน ใกล้หรือไกล ขึ้นอยู่กับทัศนวิสัย
๔.๒๖ “แผ่นผ้าสัญญาณ” (PANELS) หมายถึงการใช้ผืนผ้าหรือวัตถุอย่างอื่นที่มีรูปร่างและหรือสีพิเศษสำหรับแสดงตามประมวลที่ได้เตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อสื่อข่าว ใช้ระหว่าง พื้นดิน – อากาศ หรือผิวน้ำ – อากาศ
๔.๒๗ “ดอกไม้เพลิงสัญญาณ” (PYROTECHNICS) หมายถึงการใช้ร่มส่งแสง พลุ และควันเพื่อส่งสัญญาณซึ่งได้จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า หรือเพื่อความมุ่งหมายในการหมายรู้
๔.๒๘ “ไฟพรวน” (YARD ARM BLINKERS) หมายถึงไฟที่ติดตั้งไว้ที่พรวนของเสากระโดงเรือในทางระดับ ปกติเป็นสีขาว เพื่อใช้การประดับเรือและการสัญญาณตามโอกาส
๔.๒๙ “ระบบแสงอินฟราเรด” (INFRARED PROCEDURE) หมายถึงการส่งสัญญาณด้วยแสงซึ่งอยู่นอกย่านการเห็น วิธีการนี้อาจใช้แบบจำกัดทิศหรือไม่จำกัดทิศก็ได้ แต่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษซึ่งจะให้ความปลอดภัยมากกว่าวิธีทางทัศนะธรรมดา

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 2

๔.๔ “ การลวงเลียน” (DECEPTION) หมายถึงการกระทำใด ๆ ในการส่งข่าวลวงผ่ายเข้าไปในข่าวการสื่อสารของฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้หลงผิด สับสน หรือคิดว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน
๔.๕ “ การวิเคราะห์การรหัส” (CRYPTANALYSIS) หมายถึงการศึกษาพิจารณาระบบ วิธีการขอประมวลลับและรหัส เพื่อถอดให้เป็นข้อความธรรมดา
๔.๖ “การวิเคราะห์การรับ – ส่งข่าว” (TRAFFICANALYSIS) หมายถึงการศึกษาพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสาร ซึ่งได้แก่ปริมาณข่าว การเรียกขาน การโต้ตอบ เวลาติดต่อ ความถี่ความแรงและความสม่ำเสมอของสัญญาณ ฯลฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับการจัดและการปฏิบัติการของหน่วยรวมทั้งกิจการของระบบการสื่อสาร
๔.๗ “การสื่อสาร” (CCMMUNICATIONS) หมายถึงวิธีการส่งข่าวใด ๆ ที่ส่งเป็นข้อความธรรมดาหรือเข้าการรหัสซึ่งมิใช่เป็นการสนทนากันโดยตรง
๔.๘ “ข่าว” (MESSAGE) หมายถึงข้อความใด ๆ ที่เป็นข้อความธรรมดา หรือรหัส ที่ส่งด้วยวิธีการสื่อสารต่าง ๆ
๔.๙ “นามเรียกขาน” (CALL SIGN) หมายถึงการนำตัวอักษรหรือตัวเลข รวมทั้งคำพูดมาใช้แทนชื่อสถานีหรือข่ายสถานีในการปฏิบัติการสื่อสารในการส่งข่าว
๔.๑๐ “ประมวลลับ” (CODE) หมายถึงการนำตัวอักษร ตัวเลข คำพูด สัญญาณ สัญญลักษณ์ มาใช้แทนความหมายอันแท้จริงตามที่ตกลงกันไว้เพื่อรักษาความลับในการส่งข่าว
๔.๑๑ “รหัส” (CIPHER) หมายถึงการใช้อักษรและหรือตัวเลขแทนอักษรหรือตัวเลขในข้อความธรรมดาด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อรักษาความลับในการส่งข่าว
๔.๑๒ “การรหัส” (CRYPTOGRAPHY) หมายถึงการใช้ประมวลลับและหรือรหัสแทนข้อความหรือข่าวสารที่เป็นความลับ
๔.๑๓ “ผู้ให้ข่าว” (MESSAGE ORIGNATOR) หมายถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ รวมทั้งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่สั่งให้ส่งข่าวไป
๔.๑๔ “ผู้เขียนข่าว” (MRITER) หมายถึงเจ้าหน้าที่ที่ได้รับคำสั่งจากผู้ให้ข่าวให้จัดทำข่าว ผู้เขียนข่าวอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ให้ข่าวก็ได้

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติเกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ.2525

ระเบียบ
ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
เกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. ๒๕๒๕
--------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติเกี่ยวกับการสื่อสารไว้ให้ส่วนราชการถือเป็นหลักปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติให้วางระเบียบดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติเกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. ๒๕๒๕
ข้อ ๒ ให้ระเบียบนี้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นเกี่ยวกับการสื่อสารซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการทั้งปวง หากส่วนราชการใดมีเหตุพิเศษซึ่งจะต้องมีระเบียบเฉพาะเรื่อง ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางระเบียบสำหรับส่วนราชการนั้นเป็นกรณีไป ยกเว้นการสื่อสารสำหรับบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศซึ่งจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION UNIO-ITU)
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
๔.๑ “การก่อกวน” (JAMMING) หมายถึงการกระทำใด ๆ ในการส่งคลื่นวิทยุเข้าไปรบกวนการสื่อสารทางวิทยุของเป้าหมายเพื่อทำให้การสื่อสารเกิดความยุ่งยากหรือติดต่อไม่ได้เลย
๔.๒ “การดักรับ” (INTERCEPTION) หมายถึงการฟังและหรือการบันทึกการสื่อสารของฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้ได้ข่าวสารที่ต้องการโดยฝ่ายที่ทำการสื่อสารอยู่นั้นไม่ทราบว่าถูก ดักรับ
๔.๓ “การเฝ้าฟัง” (MONITORING ) หมายถึงการฟังและหรือการบันทึกการสื่อสารของฝ่ายเดียวกันเพื่อหาข้อมูลนำมาปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 10

หมวด ๖ การส่งสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๒๗ การส่งสำนวนและผู้ต้องหาให้อัยการ.............. เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นลง ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้..............
(๑) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไปส่วนผู้ต้องหานั้น ถ้าได้มอบตัวให้ผู้บังคับบัญชารับไปควบคุมไว้ก่อนแล้วตามข้อ ๑๖ ก็อาจไม่ต้องขอรับตัวมาดำเนินการอีก แต่ให้บันทึกและแจ้งให้อัยการทหารทราบว่าได้มอบตัวผู้ต้องหาให้ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรับตัวไปแล้วตั้งแต่เมื่อใด..............
(๒) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งตัวทหารผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป การส่งตัวทหารผู้ต้องหาที่อยู่ในการควบคุมของผู้บังคับบัญชา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อส่งตัวทหารผู้นั้นมายังพนักงานสอบสวนตามสถานที่และเวลาที่กำหนดเพื่อส่งให้พนักงานอัยการพร้อมกับสำนวน.............. ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งฟ้องไม่ทันในวันนั้น หากมิได้มีการสั่งให้ปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานอัยการมอบตัวผู้ต้องหาให้อยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนสำหรับในกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ฝากตัวผู้ต้องหาให้เรือนจำควบคุมไว้

ข้อ ๒๘ การส่งสำนวนให้อัยการทหาร.............. ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารต่อไปในกรณีดังต่อไปนี้..............
(๑) คดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้และเปรียบเทียบเสร็จแล้วหรือทหารผู้ต้องหาไม่ยอมให้เปรียบเทียบตามข้อ ๒๔ วรรคสอง..............
(๒) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและยังจับตัวทหารผู้ต้องหาไม่ได้..............
(๓) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและจับตัวทหารผู้ต้องหาได้แต่หลักฐานไม่พอฟ้องหรือพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง.............. ..............
(๔) กรณีมีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของฝ่ายทหารซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่..............
(๕) กรณีที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีทหารตามที่ฝ่ายทหารร้องขอตามข้อ ๒๒ วรรคสอง เสร็จสิ้นแล้ว.............. ในกรณีที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับคดีที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพเมื่อพนักงานสอบสวนชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสร็จแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนฝ่ายทหารตามที่ได้รับการร้องขอ

ข้อ ๒๙ การแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน.............. ในคดีอาญาซึ่งทหารเป็นผู้ต้องหาและอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน ดังนี้..............
(๑) เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ให้หัวหน้าพนักงานสอนสวนหรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้องแจ้งความเห็นทางคดีชั้นสอบสวนไปยังฝ่ายทหาร..............
(๒) เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องหรือมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังฝ่ายทหาร..............
(๓) เมื่อศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาประการใด ให้พนักงานอัยการแจ้งคำพิพากษาของทุกชั้นศาลไปยังฝ่ายทหาร..............
(๔) ในกรณีที่ทหารผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและฝ่ายทหารที่ได้รับแจ้งต้องการที่จะรับตัวทหารผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อพ้นโทษให้แจ้งการอายัดตัวให้ผู้บัญชาการเรือนจำที่ทหารผู้กระทำผิดนั้นต้องคุมขังอยู่ได้ทราบ และให้ผู้บัญชาการเรือนจำแจ้งให้ฝ่ายทหารที่แจ้งการอายัดตัวทราบเมื่อใกล้กำหนดวันเวลาที่จะปล่อยตัวไป..............
(๕) เมื่อจะมีการปล่อยตัวทหารผู้กระทำความผิด หากมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมารับตัว ก็ให้มอบตัวไป แต่ถ้าไม่มีก็ให้ผู้ที่มีอำนาจสั่งปล่อยหรือพนักงานอัยการในกรณีที่ศาบยุติธรรมเป็นผู้สั่งปล่อย แจ้งให้ทหารผู้นั้นไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด..............
(๖) ถ้าทหารผู้นั้น ต้องหาในคดีอื่นซึ่งจะต้องนำตัวไปฟ้องยังศาลทหารอีกด้วย หรือผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารต้องการตัว ให้ฝ่ายทหารมีหนังสืออายัดตัวไว้กับพนักงานสอบสวน และให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนการสอบสวนว่าทางทหารยังต้องการตัว และให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารติดต่อกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อรับตัวทหารนั้นไป

ข้อ ๓๐ การดำเนินคดีกับบุคคลบางประเภท.............. การดำเนินคดีอาญากับบุคคลบางประเภท ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้..............
(๑) ในกรณีที่ทหารผู้ต้องหาว่ากระทำผิดคดีอาญาและอยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการไปตามกฎหมายนั้นทุกประการ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหานั้นทราบ ..............
(๒) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นพลเรือนในสังกัดราชการทหาร แต่การกระทำผิดคดีอาญาเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาสถานที่ราชการทหาร ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๖ มาใช้โดยอนุโลม..............
(๓) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นอาสาสมัครทหารพรานที่อยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการทหาร และการกระทำความผิดคดีอาญาเกิดในขณะที่บุคคลนั้นยังสังกัดอยู่ในหน่วยอาสาสมัครทหารพราน ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๒๓ มาใช้โดยอนุโลม

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔
พันตำรวจโท ทักษิณ.... ชินวัตร
( ทักษิณ ...ชินวัตร )
นายกรัฐมนตรี

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 9

ข้อ ๒๔ คดีในอำนาจศาลแขวงและคดีที่เปรียบเทียบได้ ถ้าทหารผู้ต้องหาคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงให้การรับสารภาพตลอดข้อหาให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง โดยแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบการจับกุมและการฟ้องคดีด้วย ถ้าคดีอาญาที่ทหารต้องหาว่ากระทำความผิดนั้นอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จเปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ก็ตาม และทหารผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบได้ ให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบตาม อำนาจหน้าที่ ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ ก็ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการหรืออัยการทหารเพื่อดำเนินการต่อไป

ข้อ ๒๕ การสอบสวนกรณีทหารและตำรวจก่อการวิวาทกัน.............. ในกรณีที่ทหารและตำรวจก่อการวิวาทกันไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นร่วมกระทำความผิดหรือได้รับความเสียหายด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ฝ่ายตำรวจรายงานตามลำดับชั้นถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหากเหตุเกิดในกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หากเหตุเกิดในจังหวัดอื่น เพื่อให้แต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันระหว่างฝ่ายตำรวจกับฝ่ายทหารมีจำนวนตามความจำเป็นแห่งรูปคดี โดยให้แต่ละฝ่ายมีจำนวนเท่ากัน เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจสั่งคดีไปตามอำนาจหน้าที่ประกอบกับผลการสอบสวนนั้น แต่ถ้าความเห็นของคณะพนักงานร่วมกันของฝ่ายตำรวจไม่ตรงกับฝ่าย ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีความเห็นทางคดีแล้วส่งสำนวนคดีให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป หากพนักงานสอบสวนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มาร่วมการสอบสวนตามกำหนดนัด ให้คณะพนักงานสอบสวนร่วมกันเท่าที่มีอยู่ดำเนินการสอบสวนต่อไป จนแล้วเสร็จเพื่อมิให้การสอบสวนล่าช้าจนเกิดความเสียหายหรือเป็นผลให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานทั้งนี้ ให้บันทึกการที่ฝ่ายใดไม่มาร่วมทำการสอบสวนติดสำนวนไว้ด้วย ในระหว่างรอการแต่งตั้งหรือรอการประชุมคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อมิให้เสียหายแก่รูปคดีหรือ เพื่อประโยชน์แก่ความเที่ยงธรรมของคดี

ข้อ ๒๖ การชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่ทหารตายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ให้จัดให้มีการสอบสวนและชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา และให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารหรือหน่วยทหารตามข้อ ๑๑ ทราบเพื่อส่งนายทหาร สัญญาบัตรเข้าฟังการสอบสวนและร่วมสังเกตการชันสูตรพลิกศพด้วย

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 8

หมวด ๕ การสอบสวน
ข้อ ๒๒ การสอบสวนคดีทหาร ฝ่ายทหารจะทำการสอบสวนการกระทำความผิดของทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้..............
(๑) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร..............
(๒) คดีที่ผู้กระทำผิดและผู้เสียหายต่างอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยกันตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเขตที่ตั้งทหารหรือไม่ก็ตาม..............
(๓) คดีอาญาทีเกี่ยวด้วยวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร..............
(๔) คดีอาญาที่เกี่ยวด้วยความลับของทางราชการทหาร ในกรณีที่ฝ่ายทหารร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน โดยลำพังหรือร่วมกับฝ่ายทหารหรือช่วยดำเนินการอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานเช่น การสืบสวน การค้นหรือการจับกุม ให้พนักงานสอบสวนให้ความร่วมมือตามที่ฝ่ายทหารร้องขอคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้ก่อนแล้ว หรือได้ประสบเหตุและมีความจำเป็นต้องสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ ถ้าฝ่ายทหารขอรับตัวทหารผู้ต้องหาไปดำเนินการ ให้มอบตัวและสำนวนการสอบสวนให้ไป แต่ถ้าฝ่ายทหารไม่มารับตัวและไม่แจ้งข้อขัดข้องให้ทราบ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปได้จนเสร็จสิ้น

ข้อ ๒๓ การสอบสวนคดีอาญาในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบ แล้วดำเนินการสอบสวนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ต้องหาทราบ ดังนี้..............
(๑) สิทธิที่จะขอประกันตัวตามมาตรา ๒๓๙..............
(๒) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙..............
(๓) สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควรในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙..............
(๔) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรมตามมาตรา ๒๔๑..............
(๕) สิทธิที่จะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เช่น นายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตร เข้าฟังการสอบปากคำของตนได้ตามมาตรา ๒๔๑..............
(๖) สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วตามมาตรา ๒๔๑..............
(๗) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายตามมาตรา ๒๔๒..............
(๘) สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญาตามมาตรา๒๔๓.............. (๙) สิทธิที่จะได้รับการเตือนว่าถ้อยคำซึ่งเกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ถูกทรมาน ใช้กำลังบังคับหรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา ๒๔๓ ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าทหารผู้ต้องหาได้กระทำหรือจะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหารหรือกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารด้วย ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหาอาจส่งนายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรอื่นใดเข้าฟังการสอบปากคำทหารผู้ต้องหาก็ได้ให้นำข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ มาใช้กับการควบคุมตัวและการปล่อยชั่วคราวทหารผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงกำหนดเวลาควบคุมตัวตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาด้วย ในกรณีที่ฝ่ายทหารเห็นว่าการสอบสวนล่าช้า จะขอให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดหรือชี้แจงเหตุผลก็ได้

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 7

หมวด ๔ การตรวจค้น
ข้อ ๑๗ การตรวจค้นตัวบุคคล.............. การตรวจค้นตัวทหาร ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อ ๑๘ การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐาน.............. การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานของทหารที่ไม่เกี่ยวกับราชการทหารให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๘ การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานอันเป็นเขตที่ตั้งทหารหรือของทางราชการทหาร นอกจากจะต้องปฏิบัติตามวรรคก่อนแล้ว ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจค้นแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบเขตที่ตั้งทหารนั้น ส่งผู้แทนไปอยู่ในการตรวจค้นด้วย

ข้อ ๑๙ การตรวจค้นยานพาหนะ การตรวจค้นยานพาหนะของทหารไม่ว่าจะเป็นของส่วนตัวหรือทางราชการทหารหรือการค้นตัวทหารที่อยู่ในยานพาหนะนั้นไม่ว่าจะสวมเครื่องแบบหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญ และให้ทหารผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมยานพาหนะให้ความร่วมมือและความสะดวกจนกว่าการตรวจค้นจะเสร็จสิ้น การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหาร เช่น รถสงคราม เครื่องบิน เรือซึ่งชักธงราชนาวี ขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรควบคุมยานพาหนะนั้นมา ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นจะตรวจค้นได้ต่อเมื่อมีหนังสืออนุมัติจากผู้บังคับบัญชายานพาหนะนั้น ๆ ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับบัญชากองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหารอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธพึงเสียเปรียบให้งดการตรวจค้น

ข้อ ๒๐ การตรวจค้นสิ่งของราชการลับ ในการตรวจค้น ถ้าได้รับแจ้งจากฝ่ายทหารว่าสิ่งของใดเป็นของราชการลับทางทหาร ให้ดำเนินการ ดังนี้..............
(๑) เมื่อนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทำหนังสือรับรองกำกับสิ่งของนั้นและแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทราบ ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นงดเว้นการตรวจเฉพาะสิ่งของดังกล่าว แล้วทำบันทึกเหตุงดเว้นการตรวจค้น พร้อมทั้งลงชื่อรับรองทุกฝ่ายแล้วรีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ..............
(๒) ถ้าผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นปลัดอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจขึ้นไปยังติดใจสงสัยที่จะตรวจค้น ให้ทำเครื่องหมายลงชื่อทุกฝ่ายปิดผนึกหรือกำกับไว้ที่หีบห่อหรือภาชนะบรรจุสิ่งของนั้นแล้วจัดส่งสิ่งของนั้นไปยังสถานที่ปลายทางตามที่ตกลงกันเพื่อร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดตรวจสิ่งของนั้นต่อไป ถ้าสิ่งของใดอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตรวจค้นหรือก่อให้เกิดความเสียหายอันจะทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของราชการลับหรือไม่ก็ตาม ให้ดำเนินการตามวรรคก่อนโดยอนุโลม การตรวจค้นสิ่งของใดอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธพึงเสียเปรียบให้งดการตรวจค้น

ข้อ ๒๑ การประสานการตรวจค้น ในการตรวจค้นตัวบุคคล สถานที่และที่รโหฐาน ยานพาหนะหรือสิ่งของตามหมวดนี้ ให้กระทำในเวลาและสถานที่อันสมควรโดยใช้ความสุภาพนุ่มนวลตามควรแก่กรณี ถ้ามีสารวัตรทหารอยู่ ณ สถานที่หรือบริเวณที่จะตรวจค้น ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นประสาน โดยขอสารวัตรทหารมาร่วมเป็นพยานในการตรวจค้นด้วย แต่ถ้าไม่มีหรือมีแต่สารวัตรทหารไม่ยินยอมร่วมเป็นพยานก็ให้บันทึกไว้ และเมื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นดำเนินการเสร็จแล้ว ให้ทำบันทึกพร้อมกับให้ทุกฝ่ายลงชื่อรับรองและต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 6

ข้อ ๑๔ การควบคุมตัวทหาร.............. การควบคุมตัวทหารที่ถูกหาว่ากระทำความผิดอาญาและถูกจับกุมตัวไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าทหารที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวสวมเครื่องแบบ ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจดำเนินการดังนี้..............
(๑) แนะนำให้ทหารผู้นั้นทราบถึงเกียรติของเครื่องแบบทหาร และขอให้พิจารณาว่าจะถอดเครื่องแบบหรือไม่..............
(๒) ถ้าทหารไม่ยอมถอดเครื่องแบบ ให้แจ้งฝ่ายทหารทราบ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมาแนะนำให้ถอดเครื่องแบบแล้วดำเนินการตามวรรคแรก หากฝ่ายทหารไม่มาภายในระยะเวลาอันสมควรหรือระยะเวลาที่กำหนด หรือดำเนินการใดๆ แล้วไม่เป็นผล ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมาปฏิบัติตามวรรคแรกได้ และบันทึกเหตุผลไว้ แล้วแจ้งเหตุนั้นให้ฝ่ายทหารทราบ

ข้อ ๑๕ การปล่อยชั่วคราว.............. การปล่อยชั่วคราวหรือการพิจารณาคำขอประกันทหารผู้ต้องหาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๙ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา และระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการนี้เช่นเดียวกับผู้ต้องหาทั่วไป

ข้อ ๑๖ การรับตัวทหาร.............. เมื่อควบคุมตัวทหารไว้ตามข้อ ๑๔ แล้ว ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งการจับกุมให้ฝ่ายทหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบทางสิ่งสื่อสาร หรือหนังสือโดยไม่ชักช้า และให้ดำเนินการดังต่อไปนี้..............
(๑) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าไม่ประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหานั้นไปหรือไม่มาขอรับตัวภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวและดำเนินการไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ฝ่ายทหารอาจแจ้งขอรับตัวมาภายหลังจากนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ดำเนินการตาม (๒)..............
(๒) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหาไปจากพนักงานสอบสวนก็ให้นำหนังสือขอรับตัวผู้ต้องหามาแสดงต่อพนักงานสอบสวน ในกรณีนี้ให้พนักงานสอบสวนทำหนังสือส่งมอบตัว และให้บันทึกเป็นหลักฐานรวมเข้าสำนวนไว้ พร้อมกับลงบันทึกในรายงานประจำวันด้วย..............
(๓) หากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่ามีความจำเป็นในทางคดีที่จะต้องนำตัวทหารไปดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมพยานหลักฐานนอกจากการสอบปากคำ เช่น การนำชี้สถานที่เกิดเหตุ การชี้ตัว การทำแผนประทุษกรรม อาจขอดำเนินการก่อนที่จะส่งมอบตัวทหารผู้ต้องหาให้ฝ่ายทหารรับตัวไปก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้ต้องหาต้องการให้ฝ่ายทหาร ทนายความ หรือผู้อื่นซึ่งตนไว้วางใจอยู่ในสถานที่นั้นด้วย ก็ให้อนุญาตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๔๑ และมาตรา ๒๔๒ หนังสือขอรับตัวและหนังสือส่งมอบตัวผู้ต้องหาตามข้อนี้ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ในการรับตัวทหารไปจากพนักงานสอบสวน หากพนักงานสอบสวนเห็นควรให้ฝ่ายทหารควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อประโยชน์ทางคดี ก็ให้แจ้งเป็นหนังสือและให้ฝ่ายทหารดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารการรับตัวทหารที่ได้รับบาดเจ็บและถูกควบคุมตัวไว้ ณ สถานพยาบาลให้ดำเนินาการดังกล่าวข้างต้น แต่ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบด้วย

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 5

ข้อ ๑๐ ทหารขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เมื่อฝ่ายทหารจับกุมตัวทหารที่ถูกหาว่ากระทำผิดวินัยทหารหรือ กระทำความผิดอาญาได้ และประสงค์จะใช้สถานที่ สิ่งสื่อสาร หรือยานพาหนะของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เพื่อการสอบสวน หรือดำเนินการในส่วนของทหาร ให้ขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ตามความจำเป็น

ข้อ ๑๑ หน่วยประสานงานการร้องขอ การขอความร่วมมือหรือการแจ้งเหตุใดๆต่อฝ่ายทหารตามระเบียบนี้ นอกจากการประสานงานกับผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของทหารผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยทหารในเขตที่ตั้งทหารซึ่งใกล้ที่สุดกับบริเวณที่เกิดเหตุ หรือเชื่อว่าจะเกิดเหตุโดยใช้สิ่งสื่อสารแล้ว พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจประสานโดยใช้สิ่งสื่อสารกับหน่วยทหารอื่นในพื้นที่ได้ตามความจำเป็น

ข้อ ๑๒ การรายงานคดี ในกรณีที่นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการหรือข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่ความผิดลหุโทษ ความผิดประเภทที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ หรือคดีที่เสร็จสิ้นหรือระงับไปในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว ให้พนักงานสอบสวนรายงานคดีตามลำดับถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายเพื่อแจ้งให้กระทรวงกลาโหมทราบ..............

หมวด ๓ การจับกุม การควบคุมและการรับตัวทหารไปควบคุม
ข้อ ๑๓ การจับกุมทหาร ในกรณีมีคำสั่งหรือหมายของศาลให้จับทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบในโอกาสแรก เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่กฎหมายให้จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าทหารผู้นั้นจะหลบหนีการจับกุมตามหมาย ในการจับกุมทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ทหารผู้นั้นไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หากไม่ยอมไป ขัดขวาง หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี ให้จับกุมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๗ โดยอาจร้องขอให้สารวัตรทหารช่วยควบคุมตัวผู้นั้น ไปส่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ หากทหารมีจำนวนมาก ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ โดยเร็วเพื่อมาช่วยระงับเหตุและร่วมมือในการจับกุมทหารผู้กระทำความผิดไปดำนเนินคดีในการจับกุมตามวรรคหนึ่ง หากทหารผู้นั้นสวมเครื่องแบบอยู่ ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ โดยอนุโลม และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องพันธนาการ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและมิให้ใช้อาวุธระหว่างการจับกุมโดยไม่จำเป็นถ้าเป็นกรณีทหารและตำรวจหรือ พนักงานฝ่ายปกครองกำลังก่อการวิวาทกัน ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาของแต่ละฝ่ายทราบทันทีและให้ผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง รีบออกไประงับเหตุโดยเร็วส่วนการดำเนินการขั้นต่อไปให้ปฏิบัติตามความในวรรคก่อน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 4

หมวด ๒ การประสานงานระหว่างทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ข้อ ๘ การประสานงานก่อนเกิดเหตุ ให้ผู้บังคับบัญชาของทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีความสามัคคีระหว่างกัน และพยายามป้องกันหรือระงับความขัดแย้งเพื่อมิให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณนอกเขตที่ตั้งทหารในการนี้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจขอให้ฝ่ายทหารจัดส่งสารวัตรทหารหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไปร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในบางสถานที่หรือบางโอกาสเพื่อป้องปรามหรือ ป้องกันเหตุร้ายได้ตามความจำเป็น

ข้อ ๙ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจขอความร่วมมือจากทหารในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจสืบทราบว่าทหารจะกระทำความผิดอาญา ใช้อิทธิพลในทางมิชอบ ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนหรือจะมีการก่อเหตุวิวาทนอกเขตที่ตั้งทหารไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยฝ่ายทหารทั้งหมดหรือมีทหารร่วมอยู่ด้วย ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตักเตือนห้ามปรามไปตามอำนาจหน้าที่ถ้าเกรงว่าจะไม่เป็นผลให้แจ้งเหตุแก่ฝ่ายทหารโดยด่วนเพื่อขอความร่วมมือ ในการสอดส่องตรวจตรา ระงับยับยั้งหรือป้องกันมิให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้น เมื่อมีการร้องขอหรือแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ฝ่ายทหารให้ความร่วมมือตามความจำเป็น ทั้งนี้ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุต้องสวมเครื่องแบบ ส่วนจะนำอาวุธไปด้วยหรือไม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นหัวหน้าหน่วยของฝ่ายนั้นๆ แต่มิให้ใช้อาวุธ เว้นแต่จะมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หัวหน้าชุดของแต่ละฝ่ายที่จะควบคุมไปต้องเป็นข้าราชการ นายทหาร หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ห้ามมิให้ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มิได้รับคำสั่ง ไปยังสถานที่นั้นเองเป็นอันขาด

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 3

หมวด ๒ การประสานงานระหว่างทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ข้อ ๘ การประสานงานก่อนเกิดเหตุ ให้ผู้บังคับบัญชาของทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีความสามัคคีระหว่างกัน และพยายามป้องกันหรือระงับความขัดแย้งเพื่อมิให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณนอกเขตที่ตั้งทหารในการนี้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจขอให้ฝ่ายทหารจัดส่งสารวัตรทหารหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไปร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในบางสถานที่หรือบางโอกาสเพื่อป้องปรามหรือ ป้องกันเหตุร้ายได้ตามความจำเป็น

ข้อ ๙ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจขอความร่วมมือจากทหารในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจสืบทราบว่าทหารจะกระทำความผิดอาญา ใช้อิทธิพลในทางมิชอบ ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนหรือจะมีการก่อเหตุวิวาทนอกเขตที่ตั้งทหารไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยฝ่ายทหารทั้งหมดหรือมีทหารร่วมอยู่ด้วย ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตักเตือนห้ามปรามไปตามอำนาจหน้าที่ถ้าเกรงว่าจะไม่เป็นผลให้แจ้งเหตุแก่ฝ่ายทหารโดยด่วนเพื่อขอความร่วมมือ ในการสอดส่องตรวจตรา ระงับยับยั้งหรือป้องกันมิให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้น เมื่อมีการร้องขอหรือแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ฝ่ายทหารให้ความร่วมมือตามความจำเป็น ทั้งนี้ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุต้องสวมเครื่องแบบ ส่วนจะนำอาวุธไปด้วยหรือไม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นหัวหน้าหน่วยของฝ่ายนั้นๆ แต่มิให้ใช้อาวุธ เว้นแต่จะมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หัวหน้าชุดของแต่ละฝ่ายที่จะควบคุมไปต้องเป็นข้าราชการ นายทหาร หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ห้ามมิให้ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มิได้รับคำสั่ง ไปยังสถานที่นั้นเองเป็นอันขาด

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 2

ข้อ ๔ ในระเบียบนี้..............
“เขตที่ตั้งทหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณซึ่งมีหน่วยทหารตั้งอยู่..............
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา..............
“ตำรวจ” หมายความว่า ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ..............
“ทหาร” หมายความว่า ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร..............
“พนักงานฝ่ายปกครอง” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งมิใช่ตำรวจและทหาร แต่มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น.............. “สิ่งสื่อสาร” หมายความรวมถึง จดหมาย โทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร โทรพิมพ์ วิทยุ และการติดต่อสื่อสารส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด>>
ข้อ ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้..............

หมวด ๑ คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา>>
ข้อ ๖ องค์ประกอบของคณะกรรมการให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย..............
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ ..............
(๒) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ..............
(๓) ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ..............
(๔) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ..............
(๕) ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ..............
(๖) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมอบหมายเป็นกรรมการ..............
(๗) รองอัยการสูงสุดคนหนึ่งตามที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นกรรมการ..............
(๘) ข้าราชการตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไปคนหนึ่งตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมายเป็นกรรมการ..............
(๙) อธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการ..............
(๑๐) เจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการและเลขานุการ>>

ข้อ ๗ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้..............
(๑) วางมาตราการป้องกัน แก้ไข วินิจฉัย สั่งการหรือให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้เสียหายที่ต้องร้องเรียนเมื่อมีปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการใช้ระเบียบนี้ ในกรณีที่เห็นว่าปัญหาใดเป็นเรื่องสำคัญอันควรได้รับคำวินิจฉัยหรือสั่งการให้มีผลเป็นการทั่วไปให้เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา..............
(๒) ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบของหนังสือ ขั้นตอนหรือรายละเอียดในการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา ตลอดจนข้อกำหนดว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และตำรวจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ข้อกำหนดดังกล่าวให้มีผลเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา..............
(๓) เสนอนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา..............
(๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายให้บุคคลใดช่วยในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ บุคคลใดเห็นว่าตนหรือสมาชิกในครอบครัวของตนได้รับความเสียหายหรือความไม่เป็นธรรม เนื่องจากการที่ทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจ อ้างการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือละเลยการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายเพื่อแนะนำ วินิจฉัยหรือสั่งการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด

สวัสดีครับ ในส่วนระเบียบต่าง ๆ นั้น มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ฉบับหนึ่งมีขึ้นในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้ ซึ่งครั้งนั้นมีทหารกระทำความผิดและร่วมกับบุคคลพลเรือน จึงเป็นที่มีของประกาศระเบียบสำนักฯ ฉบับนี้

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดคดีอาญา เนื่องจากบัดนี้มีการโอนกรมตำรวจจากกระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับตำรวจ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และวิธีพิจารณาความอาญาใหม่แล้ว ประกอบกับข้อตกลงบางข้อไม่สอดคล้องกับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมในเวลาปกติอันมิใช่ภาวะสงคราม จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และกฎหมายโดยเฉพาะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งควรกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติให้ชัดเจน สะดวกต่อผู้ปฏิบัติและสามารถดำเนินการได้รวดเร็วไม่เสียหายต่อรูปคดีโดยคำนึงถึงหลักความสามัคคีปรองดอง และหลักการประสานงานระหว่างตำรวจ ทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองในการร่วมมือและอำนวยความสะดวก เพื่อป้องปราม ป้องกันหรือระงับเหตุวิวาทมิให้ลุกลามต่อไป อันจะช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ประการหนึ่ง ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงแบบธรรมเนียมของแต่ละฝ่าย ตลอดจนความจำเป็นขององค์กรในการดูแลรักษาสถานที่ ยานพาหนะ และอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนให้ปลอดภัยและปกครองดูแลบุคลากรให้อยู่ในวินัยและได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นธรรมตามควรแก่กรณี แต่ทั้งนี้ต้องมิให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือฝ่าฝืนกฎหมายที่มีเพื่อคุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยเสมอกัน อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้>>ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔>>ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป>>

ข้อ ๓ ให้ยกเลิก..
๓.๑ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘..............
๓.๒ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติกระสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ.๒๕๐๗..............
๓.๓ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๑๒..............
๓.๔ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๑๘..............
๓.๕ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๒๕บรรดาข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 33

หมวดที่ ๓ ส่วนที่ ๓ การจำหน่าย
การจำหน่ายพัสดุ
ข้อ ๑๕๗ หลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใดหมดความจำเป็น หรือ ถ้าใช้ราชการต่อไปเปลืองค่าใช้จ่ายมากให้ จนท.พัสดุ เสนอรายงานต่อ หน.ส่วน ฯ เพื่อสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการต่อไปนี้
๑ ขาย ให้ขายโดยวิธีขายทอดตลอดก่อน ถ้าไม่ได้ผลให้ใช้วิธีการซื้อมาใช้โดยอนุโลม ยกเว้นการขายพัสดุที่มีราคาที่ได้รวมกันไม่เกิน ๑ แสนบาทจะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องขายทอดตลาดก่อนก็ได้
๒ การแลกเปลี่ยน ให้ทำตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดในระเบียบ
๓ โอน ให้โอนแก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสถานสาธารณกุศล และให้มีหลักฐานการมอบไว้ต่อกันด้วย
๔ แปรสภาพหรือทำลาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันสั่งการ สำหรับราชการส่วนภูมิภาคต้องได้รับความเห็นชอบจาก หน.ส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณก่อน
ข้อ ๑๕๘ เงินที่ได้จากการจำหน่ายให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือข้อตกลงที่ใช้เงินกู้,ช่วยเหลือ

การจำหน่ายเป็นสูญ
ข้อ ๑๕๙ กรณีพัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดหรือมีแต่ไม่สามารถชดใช้ได้ หรือมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สมควรดำเนินการ ขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ ได้ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
๑ เป็นพัสดุที่มีราคาได้มารวมกันไม่เกิน ๕ แสนบาทให้ หน.ส่วน ฯ เป็นผู้อนุมัติ
๒ เป็นพัสดุที่ราคาได้มารวมกันเกิน ๕ แสนบาท ก.การคลังหรือส่วนราชการที่ ก.การคลังมอบหมาย เป็นผู้อนุมัติ

การลงจ่ายออกจากบัญชี
ข้อ ๑๖๐ เมื่อได้ดำเนินการ ขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพแล้ว ให้ จนท.พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชี
หรือทะเบียน ทันที แล้ว แจ้งให้ สตง. ทราบภายใน ๓๐ วัน และเมื่อดำเนินการ จำหน่ายพัสดุเป็นสูญแล้ว
ให้ จนท.พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียน ทันที แล้วแจ้งให้ ก.การคลัง หรือส่วนราชการที่ ก.การคลังมอบหมาย และ สตง. ทราบภายใน ๓๐ วัน

ข้อ ๑๖๑ กรณีพัสดุเกิดการชำรุด เสื่อมสภาพ สูญไป หมดความจำเป็น ก่อนการตรวจสอบประจำปี และได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแล้ว ถ้าไม่มีระเบียบใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ดำเนินการตามข้อ

๑๕๗ ๑๕๘ , ๑๕๙ และ ๑๖๐ (การจำหน่ายพัสดุ การจำหน่ายเป็นสูญ การลงจ่ายออกจากบัญชี)โดยอนุโลม
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล

ข้อ ๑๖๒ ในระหว่าที่ยังไม่ได้ตั้งศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา ไม่ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาใช้กับการการจ้างที่ปรึกษา ให้อนุโลมใช้วิธีดำเนินการหารายชื่อที่ปรึกษาไทยตามวิธีที่ใช้สำหรับที่ปรึกษาต่างประเทศ

ข้อ๑๖๓ รายชื่อผู้ทิ้งงานก่อนระเบียบนี้ให้ถือเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบนี้ สำหรับการพิจารณาลงโทษผู้ได้รับคัดเลือกแล้วไม่ยอมทำสัญญาหรือไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันควร พฤติการณ์เกิดก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้พิจารณาสั่งการตามระเบียบเดิม

ข้อ ๑๖๔ การพัสดุใดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและยังไม่เสร็จ ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ทำตามระเบียบเดิม จนกว่าจะแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะดำเนินการตามระเบียบนี้ได้

ข้อ ๑๖๕ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แก้ไขยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
(ลงชื่อ) อานันท์ ปันยารชุน
(นายอานันท์ ปันยารชุน)
นายกรัฐมนตรี

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 32

หมวดที่ ๓ ส่วนที่ ๒ การควบคุม
การเก็บรักษาพัสดุ
ข้อ ๑๕๑ พัสดุของทางราชการไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใดให้ให้อยู่ในความควบคุมตามระเบียบนี้ยกเว้นจะมีระเบียบหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ข้อ ๑๕๒ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับมอบพัสดุแล้วดำเนินการตามนี้
๑. ลงบัญชีหรือทะเบียนควบคุม แยกเป็นชนิด และรายการ โดยให้มีหลักฐานการขึ้นบัญชี ไว้ด้วย
สำหรับอาหารสดจะลงรายการทุกชนิดไว้ในบัญชีเดียวกันก็ได้
๒. เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบ ปลอดภัยและให้ตรงตามบัญชี

การเบิก – จ่ายพัสดุ
ข้อ ๑๕๓ หน่วยงานระดับกองหรือหน่วยงานที่แยกต่างหากจากกรม หรือหน่วยงานในส่วนภิภาค จะเบิกพัสดุระดับกรม ให้หน.หน่วยงานเป็นผู้เบิก ให้ หน.ส่วน ฯ แต่งตั้ง หน.หน่วยพัสดุ ที่เป็น หน.แผนกหรือต่ำกว่าที่มี่หน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ หรือข้าราชการอื่น เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ ถ้าส่วนราชการใดมีความจำเป็นจะกำหนดวิธีการจ่ายพัสดุเป็นอย่างอื่นก็ได้ แล้วแจ้งให้ สตง. ทราบด้วย

ข้อ ๑๕๔ ผู้จ่ายต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกลงบัญชีทุกครั้งที่จ่าย และเก็บใบเบิกไว้เป็นหลักฐานด้วย

การตรวจสอบพัสดุประจำปี
ข้อ ๑๕๕ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนของทุกปีให้ หน.ส่วน ฯหรือ หน.หน่วยที่มีพัสดุไว้จ่ายตามข้อ๑๕๓(ระดับกอง)
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ที่ไม่ใช่ จนท.พัสดุ เพื่อตรวจสอบการรับ- จ่ายพัสดุ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.ปีก่อน ถึง ๓๐ ก.ย.ปีปัจจุบัน ตรวจนับพัสดุที่คงเหลืออยู่ถึง ๓๐ ก.ย.โดยเริ่มตรวจสอบตั้งแต่วันแรกของวันเปิดทำการของเดือน ต.ค. แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบให้ผู้แต่งตั้งทราบภายใน ๓๐ วันทำการ นับแต่วันที่เริ่มตรวจสอบ เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานแล้วให้ส่งรายงานเสนอตามลำดับชั้นจนถึง หน.ส่วนราชการ ๑ ชุด และส่งสำเนารายงานให้ สตง. ๑ ชุด สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นให้ส่งสำเนาให้ส่วนราชการต้นสังกัดอีก ๑ ชุด

ข้อ ๑๕๖ เมื่อ หน.ส่วนราชการได้รับรายงานแล้ว ปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด สูญหาย หรือหมดความจำเป็น ให้แต่งตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง แล้วรายงานผลให้ทราบ ถ้าเห็นว่าเป็นการเสื่อมสภาพเนื่องจากใช้งานตามปกติหรือสูญไปตามธรรมชาติให้ หน.ส่วน ฯ สั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไป ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าจะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้ หน.ส่วนดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 31

ข้อ ๑๔๕ฉ กรณีที่นิติบุคคลใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๔๕ ทวิ ตรี จัตวา ถ้าการกระทำเกิดจากผู้ที่เป็นหุ้นส่วนในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้บุคคลนั้นเป็นผู้ทิ้งงานด้วย ถ้าเป็นกรณีที่นิติบุคคลรายใดที่ถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานแล้วไปมีชื่อเป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้บริหาร ฯ ในนิติบุคคลอื่นๆที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันให้นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ทิ้งงานด้วย และถ้าเป็นบุคคลธรรมดารายใดที่ถูกสั่งให้ทิ้งงานแล้วไปมีชื่อเป็น หุ้นส่วน กรรมการ ผู้บริหารของนิติบุคคลรายใดให้ถือว่านิติบุคคลรายนั้นเป็นผู้ทิ้งงานด้วย

ข้อ ๑๔๕ สัตต เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ ถ้ามีข้อสงสัยแล้วปลัดกระทรวงยังไม่รายงานไปยังปลัด ก.การคลัง ปลัด ก.การคลังอาจเรียกผู้ได้รับการคัดเลือก หรือ ผู้เสนอราคา ที่มีข้อเท็จจริงสงสัยให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อปลัด ก.คลัง ภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งไป
ถ้าชี้แจงแล้วไม่มีเหตุผลเพียงพอ หรือไม่ชี้แจงในเวลาที่กำหนดให้ ปลัด ก.การคลังสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน แล้วแจ้งผลให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย

หมวด ๓ การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ส่วนที่ ๑ การยืม
ข้อ ๑๔๖ การให้ยืมหรือนำพัสดุไปใช้ที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของราชการ ทำไม่ได้

ข้อ ๑๔๗ การยืมพัสดุประเภทคงรูปให้ผู้ยืมทำหนังสือแสดงเหตุผลและกำหนดวันส่งคืนมีหลักเกณฑ์ดังนี้
๑ ระหว่างส่วนราชการต้องได้รับอนุมัติจาก หน.ส่วน ฯ ผู้ให้ยืม
๒ ให้บุคคลยืมภายในสถานที่เดียวกันต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบพัสดุนั้น
ถ้ายืมไปใช้นอกสถานที่ราชการต้องได้รับอนุมัติจาก หน.ส่วนราชการ

ข้อ ๑๔๘ ผู้ยืม จะต้องนำพัสดุส่งคืนในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อย ถ้าชำรุด สูญหายให้ซ่อมให้คงสภาพเดิมหรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืม ตามที่ ก.การคลังกำหน

ข้อ ๑๔๙ การยืมพัสดุสิ้นเปลืองระหว่างส่วนราชการให้ทำได้เฉพาะกรณีต้องใช้พัสดุรีบด่วน จัดหาไม่ทัน และมีของพอที่จะให้ยืมได้ ไม่เสียหายต่อราชการของตนเอง และให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร

ข้อ ๑๕๐ เมื่อครบกำหนดยืม ให้ติดตามทวงคืนภายใน ๗ วัน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 30

หมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน
ข้อ ๑๔๕ ให้ผู้รักษาการตามระเบียบนี้คือปลัด ก.การคลัง จัดทำรายชื่อผู้ทิ้งงาน และห้ามส่วนราชการก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงาน ยกเว้น ปลัด ก. การคลัง จะเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน การห้ามการก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานให้ใช้กับบุคคลดังนี้ คือ
๑ เป็นนิติบุคคลที่เป็นถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานให้มีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมี หุ้นส่วน กรรมการ ผู้บริหาร ฯ ที่เป็นบุคคลคนเดียวกัน
๒ เป็นบุคคลธรรมดาที่ทิ้งงานมีผลถึงนิติบุคคลอื่น ๆ ที่มีชื่อบุคคลนั้นเป็น หุ้นส่วน กรรมการ บริหารฯ
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นผู้ทิ้งงาน มีสิทธิยื่นซองได้แต่ถ้าผลการพิจารณาสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกระทรวงตัดชื่อออกจากผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกหรือยกเลิกยกเว้น ปลัดกระทรวงเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทางราชการจะไม่ตัดสิทธิหรือยกเลิก ที่ทำก่อนการสั่งการของ ปลัด ก.การคลัง ก็ได้
ข้อ ๑๔๕ ทวิ ให้ กรณีดังต่อไปนี้กรณีใดกรณีหนึ่งเป็นผู้ทิ้งงาน
๑ ผู้ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมทำสัญญาตามเวลาที่กำหนด
๒ เมื่อคู่สัญญาหรือรับจ้างช่วงต่อ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อตกลง
๓ พัสดุที่ซื้อหรือจ้างทำเกิดข้อบกพร่องภายในเวลาที่กำหนดในสัญญาและไม่ได้รับการแก้ไขหรือเป็นพัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานตามสัญญาทำให้งานบกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรง
๔ สำหรับการก่อสร้างสาธารณูปโภค ถ้าพัสดุที่ใช้มีข้อบกพร่องหรือไม่ได้มาตรฐานตามสัญญา
ให้ หน.ส่วนฯ รายงาน ปลัดกระทรวงพร้อมเสนอความเห็นเพื่อพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ทิ้งงาน และเมื่อปลัดกระทรวงพิจารณาแล้วมีเหตุผลอันควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ส่งรายชื่อให้ ปลัด ก.การคลัง สั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ตามหลักเกณฑ์และวงเงินที่ กวพ.กำหนด หากปลัดกระทรวงเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้ทิ้งงานให้ รายงานให้ กวพ.ทราบด้วย และเมื่อ ปลัด ก.การคลัง ได้ฟังความเห็นตามที่ กวพ.เสนอ แล้วเห็นว่าสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน และสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน ให้ลงบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน แจ้งเวียนให้ส่วนราชการทราบ และแจ้งให้ผู้ทิ้งงานทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วย และถ้า ปลัด ก.การคลังเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้ทิ้งงานให้แจ้งผลการพิจารณาให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย

ข้อ ๑๔๕ ตรี กรณีการจ้างที่ปรึกษาหรือออกแบบและควบคุมงาน ถ้าเกิดข้อบกพร่องทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ให้ หน.ส่วน ฯ เสนอปลัดกระทรวงเพื่อสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน

ข้อ ๑๔๕ จัตวา ในการจัดหาตามระเบียบนี้หากมีเหตุสงสัยในภายหลังว่ามีการกระทำที่จัดขวางการแข่งขันราคาไม่เป็นธรรม ให้ส่วนราชการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงหว่าเป็นบุคคลที่สมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ โดยให้มีหนังสือแจ้งเหตุที่สงสัยไปให้ผู้ขายทราบและให้ชี้แจงข้อเท็จจริงภายใน ๑๕ วัน เมื่อได้รับการชี้แจงแล้วให้รายงานพร้อมเสนอความเห็นให้ปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณาว่าสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ หากผู้ขายไม่ชี้แจงภายใน ๑๕ วัน ถือว่ามีเหตุอันควรเป็นผู้ทิ้งงานให้รายงานให้ปลัดกระทรวง พิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงาน

ข้อ ๑๔๕ เบญจ กรณีที่ผู้เสนอราคาร่วมกันกันขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ถ้าผู้ใดให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาให้ หน.ส่วน , ปลัดกระทรวง , ปลัด ก.การคลัง ยกเว้นให้ผู้นั้นไม่เป็นผู้ทิ้งงาน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 29

ข้อ ๑๓๖ สัญญาหรือข้อตกลงที่ลงนามแล้วจะแก้ไขไม่ได้ ยกเว้น มีความจำเป็น ไม่เสียประโยชน์ หรือแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้อยู่ในอำนาจของ หน.ส่วน ฯ อนุมัติแก้ไขได้ แต่ถ้าเพิ่มวงเงินต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือขอทำความตกลงในส่วนที่เป็นเงินกู้หรือช่วยเหลือ โดยให้ตกลงแก้ไขพร้อมกันไปเลยครั้งเดียว และถ้าเป็นงานด้านเทคนิคเฉพาะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกร หรือผู้ทรง ,ชำนาญการ
ข้อ ๑๓๗ ให้ หน.ส่วน ฯ ใช้สิทธิยกเลิกสัญญากรณีที่มีเหตุเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานเสร็จทันเวลาตามสัญญา การยกเลิกสัญญาให้ สน.ส่วน พิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ราชการหรือแก้ไขข้อเสียเปรียบ
ข้อ ๑๓๘ ในกรณีผู้ขายไม่ทำตามสัญญาและต้องเสียค่าปรับ ถ้าจำนวนค่าปรับเกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินค่าพัสดุให้ หน.ส่วน ยกเลิกสัญญา เว้นแต่ ผู้ขายยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขให้ผ่อนปรนการยกเลิกเท่าที่จำเป็น
ข้อ ๑๓๙ การลด , งด , ขยายเวลา ค่าปรับให้อยู่ในอำนาจของ หน.ส่วน ฯพิจารณาตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีดังนี้
๑ เกิดจากความผิดของทางราชการ ๒ เหตุสุดวิสัย
๓ เกิดจากพฤติการณ์ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
ให้ส่วนราชการระบุในสัญญาให้ผู้ขายต้องแจ้งเหตุภายใน ๑๕ วันถ้าไม่แจ้งจะกล่าวอ้างเหตุผลไม่ได้ยกเว้นมีหลักฐานชัดเจนและส่วนราชการรู้ดีอยู่แล้ว
ข้อ ๑๔๐ ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ให้อยู่ในดุลยพินิจของ หน.ส่วน ฯ ใช้สิทธิสั่งการได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๔๑ หลักประกันซองหรือสัญญาให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
๑ เงินสด ๒ เช็คธนาคารที่ลงวันที่ชำระต่อเจ้าหน้าที่ก่อนวันรับซองไม่เกิน ๓ วัน
๓ หนังสือคำประกันธนาคารภายในประเทศ ๔ หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน ฯ
๕ พันธบัตรรัฐบาทไทย
สำหรับการประกวดนานาชาติให้ใช้หนังสือคำประกันของธนาคารต่างประเทศ และ หน.ส่วนเชื่อถือ
ข้อ ๑๔๒ หลักประกันซองตามข้อ ๑๔๑ ให้กำหนดมูลค่าอัตรา ร้อยละ ๕ ของวงเงิน เว้นแต่ หน.ส่วนเห็นว่ามีความสำคัญพิเศษ จะกำหนดอัตราสูงกว่าก็ได้ แต่ไม่เกิน ร้อยละ ๑๐ และในการทำสัญญาที่มีข้อผูกพันสัญญาเกิน ๑ ปี และพัสดุนั้นไม่ชำรุด ให้กำหนดหลักประกันร้อยละ ๕ ของราคาพัสดุที่ส่งมอบในแต่ละปี โดยถือหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกัน และ ถ้าในปีต่อไป ราคาพัสดุที่ส่งมอบมีราคาเปลี่ยนไปให้ปรับปรุงหลักประกันตามราคาที่เปลี่ยนไป และถ้าหลักประกันที่เปลี่ยนไปในทางที่เพิ่มขึ้นแล้วผู้ขายไม่นำหลักประกันที่เพิ่มขึ้นมาให้ภายใน ๑๕ วัน ก่อนส่งมอบงวดสุดท้ายให้หักเงินค่างวดสุดท้ายของปีนั้น
ข้อ ๑๔๓ กรณีที่คู่สัญญาเป็น ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องวางหลักประกัน
ข้อ ๑๔๔ ให้ส่วนราชการคือหลักประกัน แก่ผู้ขายหรือผู้ค้ำ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
๑ คืนหลักประกันซองคืนให้ผู้ขายหรือผู้ค้ำ ภายใน ๑๕ วัน ยกเว้น ผู้ขายที่คัดเลือกที่มีราคาต่ำสุด
ไม่เกิน ๓ ราย
๒ คืนหลักประกันสัญญาให้ผู้ขายหรือผู้ค้ำ ไม่เกิน ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่พ้นข้อผูกพันตามสัญญา
การคืนหลักประกัน ถ้าผู้ขายไม่มารับให้รีบส่งคืนให้แก่ผู้ขายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แล้วแจ้งให้ธนาคารหรือบริษัทเงินทุน ฯ ผู้ค้ำประกันทราบด้วย

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 28

หมวดที่ ๒ ส่วนที่ ๗ สัญญาและหลักประกัน
ข้อ ๑๓๒ การลงนามในสัญญาเป็นอำนาจของ หน.ส่วนราชการและให้ทำเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด และถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปโดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดให้ทำได้ ยกเว้น หน.ส่วน ฯเห็นว่าเสียเปรียบไม่รัดกุม ให้ส่งร่างให้ สนง.อัยการสูงสุดพิจารณาก่อน ในกรณีไม่อาจทำสัญญาตามที่ กวพ.กำหนดได้ และจำเป็นต้องร่างสัญญาใหม่ต้องส่งร่างให้ สนง.อัยการสูงสุดพิจารณาก่อน ยกเว้น เป็นสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณาของ สนง.อัยการสูงสุดมาแล้วให้ทำได้
สำหรับการเช่าที่ต้องเสียเงินนอกจากการเช่าหรือ หน.ส่วนเห็นว่าเสียเปรียบไม่รัดกุมให้ส่งร่างสัญญาให้สนง.อัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน กรณีจำเป็นสัญญาต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศให้ทำเป็นภาษาอังกฤษแต่ ต้องมีคำแปลต่อท้ายสัญญาด้วย ยกเว้น กวพ.กำหนดว่าไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย การทำสัญญาของส่วนราชการต่างประเทศทำเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาประเทศนั้นโดยผ่านการพิจารณาของผู้รู้กฎหมายของประเทศนั้นก็ได้
ข้อ ๑๓๓ การจัดหากรณีดังนี้จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันโดยไม่ต้องทำสัญญาต่อกันก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ หน.ส่วนราชการ
๑ การซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน โดยวิธีตกลงราคา หรือจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลงที่วงเงินไม่เกิน ๑ แสนบาท
๒ การจัดหาที่ส่งของไม่เกิน ๕ วันทำการนับถัดจากวันที่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
๓ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ
๔ การซื้อโดยวิธีพิเศษคือ ขายทอดตลาดของส่วนราชการ,ใช้เร่งด่วน,ใช้ราชการลับ,ซื้อเพิ่ม และซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ
๕ การจ้างโดยวิธีพิเศษคือจ้างผู้มีฝีมือเฉพาะ , ต้องถอดตรวจก่อน , งานเร่งด่วน, งานลับและ จ้างเพิ่ม
๖ การเช่า ที่ไม่ต้องเสียเงินอื่นใดจากการเช่า
การจัดหาที่ราคาไม่เกิน ๑ หมื่นบาท หรือกรณีการซื้อหรือการจ้างกรณีเร่งด่วน โดยไม่คาดคิดและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ จะไม่ต้องทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้ก็ได้

ข้อ ๑๓๔ การทำสัญญาหรือข้อตกลง ยกเว้นจ้างที่ปรึกษา ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันอัตราตายตัว คือ ร้อยละ ๐.๐๑- ๐.๒๐ % ของพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ ยกเว้นการจ้างที่ต้องมีสำเร็จพร้อมกันทั้งหมด หรือเป็นชุดปรับอัตรา ร้อยละ ๐.๐๑-๐.๑๐ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาทและให้คิดค่าปรับเต็มราคาของทั้งชุด สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจรให้ปรับในอัตรา ร้อยละ ๐.๒๕ แต่แต่อาจกำหนดขั้นปรับสูงสุดก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กวพ.กำหนด การปรับเป็นจำนวนเงินเท่าใดให้อยู่ในดุลยพินิจของ หน.ส่วนราชการ และในกรณีจัดหาที่มีการติดตั้งหรือทดลอง ถ้าติดตั้งเกินกำหนดให้ปรับเป็นรายวันในอัตราของราคาทั้งหมด และเมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้องตกลงให้รีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาให้บอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะส่งมอบนั้นด้วย

ข้อ ๑๓๕ ให้ หน.ส่วน ฯ ส่งสำเนาสัญญาที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ ล้านบาทขึ้นไปให้ สตง. และกรมสรรพกร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญา

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 27

หมวดที่ ๒ ส่วนที่ ๖ การเช่า
ข้อ ๑๒๘ การเช่า สังหาริมทรัพย์ ให้ หน.ส่วน ดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม และถ้าจำเป็นต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้ทำได้เฉพาะการเช่าไม่เกิน ๓ ปี
ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
๑ การเช่าจากหน่วยงานราชการท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกิน ร้อยละ ๕๐ ของค่าเช่าทั้งหมด
๒ เช่าจากเอกชนจ่ายได้ไม่เกิน ร้อยละ ๒๐ ของค่าเช่าทั้งหมด นอกเหนือจากนี้ให้ขอทำความตกลงกับ กระทรวงการคลังก่อน
ข้อ ๑๒๙ การเช่า อสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้ดังนี้
๑ เช่าที่ดินเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ
๒ เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการ
๓ เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย
๔ เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของทางราชการ
การเช่าให้ดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา

ข้อ ๑๓๐ ก่อนการเช่าให้ จนท.พัสดุทำรายงานเสนอหน.ส่วนราชการตามรายการดังนี้
๑ เหตุผลและความจำเป็น
๒ ราคาค่าเช่า
๓ รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า
๔ อัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดและสภาพใกล้เคียงกัน
ในกรณีราชการส่วนกลางเช่าจาก ส่วนภูมิภาค ให้ขอความเห็นและความเหมาะสมของสถานที่ อัตราค่าเช่า จากจังหวัดนั้น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

ข้อ ๑๓๑ อัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และค่าบริการอื่น ๆ ไม่เกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐บาท หน.ส่วนฯ เป็นผู้อนุมัติ
ถ้าเกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 26

หมวดที่ ๒ ส่วนที่ ๕ การแลกเปลี่ยน
ข้อ ๑๒๓ การแลกเปลี่ยนจะกระทำไม่ได้เว้นแต่ หน.ส่วน ฯ เห็นว่าจำเป็น ให้ทำได้เฉพาะ ครุภัณฑ์กับ ครุภัณฑ์และ วัสดุกับวัสดุ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
๑ ครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ ประเภทและชนิดเดียวกัน ยกเว้น ครุภัณฑ์บางชนิดที่สำนักงบประมาณกำหนดหรือ การแลกเปลี่ยนที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อน
๒ การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์ต่างชนิดกันให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อนทุกกรณี
๓ การแลกเปลี่ยนวัสดุประเภทเดียวกันที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มทำได้นำเหนือจากนี้ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน
ข้อ ๑๒๔ กรณีแลกเปลี่ยนพัสดุ ให้ จนท.ทำรายงานต่อ หน.ส่วน ฯ เพื่อสั่งการ โดยให้รายงานตามรายการดังนี้
๑ เหตุผลและความจำเป็น
๒ รายละเอียดของพัสดุ
๓ ราคาที่ซื้อหรือดได้มา
๔ พัสดุที่จะรับแลกเปลี่ยน และจะแลกเปลี่ยนกับใคร
๕ ข้อเสนออื่น ๆ
ยกเว้นการแลกเปลี่ยนพัสดุที่ราคารวมกันไม่เกิน ๑ แสนบาท จะใช้วิธีตกลงราคาก็ได้
ข้อ ๑๒๕ การแลกเปลี่ยนกับเอกชน ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งหรือหลายคณะก็ได้ตามความจำเป็นและกรรมการมีหน้าที่ดังนี้
๑ ตรวจสอบและประเมินราคาตามสภาพพัสดุ
๒ ตรวจสอบพัสดุที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนว่าเป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน เว้นแต่พัสดุเก่าที่จำเป็นไม่เสียประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ราชการ
๓ เปรียบเทียบราคาพัสดุที่แลกเปลี่ยน จากราคาประเมิน ซึ่งถือตามราคากลางหรือราคามาตรฐาน
๔ ต่อรองราคา ๕ เสนอความเห็นต่อ หน.ส่วน ๖ ตรวจรับพัสดุที่แลกเปลี่ยน
ข้อ ๑๒๖ การแลกเปลี่ยนพัสดุของส่วนราชการกับส่วนราชการให้อยู่ในดุลพินิจของ หน.ส่วน ทั้ง สองฝ่ายจะตกลงกันเอง
ข้อ ๑๒๗ ครุภัณฑ์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเมื่อลงทะเบียนครุภัณฑ์แล้วให้แจ้ง สำนักงบประมาน และ สตง.ภายใน ๓๐ วัน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 25

การเสนองาน
ข้อ ๑๑๒ ผู้เสนองานจ้าโดยวิธีคัดเลือก และ วิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด จะต้องยื่นหลักฐานดังนี้
๑ ข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนด ๒ คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิก
๓ หลักฐานแสดงผลการ ๔ หลักประกันการเสนองาน
เมื่อการคัดเลือกเสร็จแล้วให้คืนหลักฐานต่าง ๆ แก้ผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก

ข้อ ๑๑๓ ผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีสัญชาติไทยและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และหรือวิศวกรรม และไม่เป็นข้าราชการหรื รัฐวิสาหกิจ ถ้าเป็นนิติบุคคล กรรมการหรือหุ้นส่วนต้องเป็นคนไทย และเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเกิน ร้อยละ ๕๐ ของทุนจัดตั้งนิติบุคคลนั้น
อำนาจในการสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงาน

ข้อ ๑๑๔ การสั่งจ้างการออกแบบและควบคุมงานเป็นอำนาจของ ผู้ดำรงตำแหน่งภายในวงเงิน
๑ หน.ส่วนราชการ ไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท ๒ ปลัดกระทรวง เกิน ๑๐ ล้านบาท

ข้อ ๑๑๕ ผู้ว่าจ้างอาจริบประกันหรือเรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกันกรณีดังนี้
๑ หลีกเลี่ยงการทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด
๒ ผู้ว่าจ้างไม่สามารถส่งใบตกลงทำสัญญาได้ เนื่องจากผู้ขาย เลิกกิจการ หรือ เป็นบุคคลธรรมดาถูกระงับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
๓ ผู้รับจ้างผิดสัญญา แล้วผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว
การตรวจและรับมอบงาน

ข้อ ๑๑๖ ในการจ้างและออกแบบควบคุมงานให้ หน.ส่วนแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานประกอบด้วย ประธาน ๑ คน กรรมการอย่างน้อย ๒ คน ระดับ ๔ และควรมีผู้ทรงหรือชำนาญการด้วย

ข้อ ๑๑๗ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงานมีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานออกแบบและก่อสร้างอาคารว่าถูกต้องตามสัญญา เมื่อถูกต้องแล้วให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานลงชื่อเป็นหลักฐาน อย่างน้อย ๒ ฉบับ
การควบคุมงาน

ข้อ๑๑๘ ผู้รับจ้างต้องจัดผู้ที่ควบคุมงานที่มีความรู้ความสามารถให้เหมาะสมกับงานและต้องส่งรายชื่อผู้ควบคุมงานผู้ตรวจการหรือผู้แทนให้ผู้จ้างเห็นชอบและถ้าทำงานไม่ได้จัดคนแทนจะต้องได้รับความยินยอมก่อน
ค่าออกแบบและควบคุมงาน
ข้อ ๑๑๙ การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงาน ตามอัตราดังนี้
๑ อาคารที่งบประมาณค่าก่อสร้าง ไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท อัตรา ร้อยละ ๒ ของค่าก่อสร้าง
๒ อาคารที่งบประมาณค่าก่อสร้างเกิน ๑๐ ล้านบาทในส่วนที่เกิน๑๐ ล้านบาท จ่ายอัตราร้อยละ ๑.๗๕

ข้อ ๑๒๐ ในกรณีผู้ว่าจ้างนำแบบแปลนไปก่อสร้างนอกเหนือสัญญาให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินเองตามอัตราที่ กวพ.กำหนด

ข้อ ๑๒๑ ห้ามผู้รับจ้างนำแบบแปลนที่ได้ทำสัญญาไว้แล้วไปให้ผู้อื่นดำเนินการก่อสร้างอีก

ข้อ ๑๒๒ ระหว่างดำเนินการตามสัญญาจ้าง ถ้าผู้จ้างขอให้แก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างสำคัญ ของงานที่ส่งมอบงานแล้ว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม ถ้าแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำคัญให้ขออนุมัติ กวพ.ก่อน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 24

การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด
ข้อ ๑๐๔ การาจ้างโดยวิธีเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด เป็นการคัดเลือกผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล โดยคำนึงถึงฐานะทางนิติบุคคล คุณวุฒิ ประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิก หรือวิศวกร ผลงาน แนวความคิดในการออกแบบ ฯลฯ ใช้กับการก่อสร้างที่มีวงเงินงบประมาณ เกิน ๕ ล้านบาท
ข้อ ๑๐๕ การจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ให้ตั้งคณะกรรมกาขึ้น ๒ ชุดคือ คณะกรรมการรับซองและคณะกรรมการดำเนินการจ้างวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด

ข้อ ๑๐๖ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด มีหน้าที่ดังนี้
๑ เมื่อคณะกรรมการมาครบองประชุม จึงเปิดซอง เสนองาน
๒ พิจารณาข้อกำหนดต่าง ๆ คือ ข้อกำหนดของผู้ให้บริการ , คุณวุฒิ ประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและวิศวกร , ผลงาน , และแนวความคิดในการออกแบบ
๓ พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีข้อกำหนดที่เหมาะสมไว้เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ รายการ และลงลายมือชื่อไว้ในใบเสนองานเพื่อเป็นหลักฐาน
๔ เมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรดำเนินการอย่างใดให้รายงานต่อ หน.ส่วน ผ่าน หน.จนท.พัสดุ
การจ้างโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๑๐๗ การจ้างโดยวิธีพิเศษ มี ๒ ลักษณะคือ
๑ วิธีเลือกจ้าง คือ การจ้างออกแบบและควบคุมงานในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและความมั่นคงของชาติ ถ้าดำเนินการวิธีอื่นจะล่าช้าเสียหาย ให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจตกลงจ้าง
๒ การว่าจ้างโดยวิธีประกวดแบบ คือ การว่าจ้างออกแบบอาคารที่มีลักษณะพิเศษ เป็นที่เชิดชูคุณค่าทางด้านศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมของชาติ เช่น อนุสาวรีย์ , รัฐสภา , พิพิธภัณฑ์ ฯ หรืองานออกแบบอาคารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬาแห่งชาติ , สนามบิน ให้เสนอรายละเอียดการจ้างออกแบบโดยวิธีประกวดแบบ ต่อ กวพ.
ข้อ ๑๐๘ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกการคัดเลือกได้ ๒ กรณีคือ
๑ มีผู้ยื่นซองน้อยกว่า ๒ ราย ๒ ผู้ให้บริการยื่นเสนองานไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์
ข้อ ๑๐๙ ให้ผู้ว่าจ้างส่งหนังสือแจ้งผลการตัดสินและนัดทำสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือกโดยเร็ว
การประกาศเชิญชวน
ข้อ ๑๑๐ การประกาศเชิญชวนทำได้ ๓ วิธี คือ
๑ ปิดประกาศ ๒ ประกาศทางสื่อมวลชน ๓ ประกาศไปยังสมาคมสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรม ฯ
จะประกาศวิธีใดให้ดูตามความจำเป็นและความเหมาะสม
ข้อ ๑๑๑ การประกาศเชิญชวน ให้แสดงรายการอย่างน้อยคือ
๑ ความต้องการและขอบเขต
๒ กำหนดวัน เวลา สถานที่ เปิดและ ปิดรับซอง
๓ เงื่อนไขและระยะเวลาการออกแบบ
๔ กำหนดหลักประกันซอง
ถ้าผู้เข้าประกวดราคาถอนการเสนองานหรือไม่ทำสัญญา ให้ริบหลักประกันซอง และถือเป็นผู้ทิ้งงาน
๕ การวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 23

หมวดที่ ๒ ส่วนที่ ๔ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
วิธีจ้างออกแบบและควบคุมงาน
ข้อ ๙๕ การจ้างออกแบบและควบคุมงานทำได้ ๔ วิธีคือ
๑ วิธีตกลง
๒ วิธีคัดเลือก
๓ วิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด และ
๔ วิธีพิเศษ

รายงานขอจ้างออกแบบและควบคุมงาน
ข้อ ๙๖ ก่อนการจ้างออกแบบและควบคุมงานทุกวิธีให้ จนท.พัดสุ จัดทำรายงานเสนอ หน.ส่วนฯ ดังนี้
๑ ขอเขตวงงานและรายละเอียดเท่าที่จำเป็น ๒ วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง
๓ ประมาณการค่าจ้าง ๔ กำหนดเวลาแล้วเสร็จ
๕ วิธีจ้างและเหตุผลที่ต้องจ้างโดยวิธีนั้น ๖ ขอเสนออื่น ๆ
เมื่อ หน.ส่วน ฯ เห็นชอบแล้วให้ จนท.พัสดุ ดำเนินการจ้างตามวิธีนั้นต่อไป
การจ้างโดยวิธีตกลง
ข้อ ๙๗ การจ้างโดยวิธีตกลงราคาคือ การจ้างที่ผู้ว่าจ้างเลือกจ้างผู้ที่เคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถและหลักฐานดีตามที่คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงเสนอแนะเป็นการจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน ๒ ล้านบาท
ข้อ ๙๘ ในการจ้างให้ หน.ส่วน แต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้างโดยมี ประธาน ๑ และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ระดับ ๔ ขึ้นไปอย่างน้อย ๑ คน และ คณะกรรมการต้องมีไม่ต่ำกว่า กึ่งหนึ่ง จึงจะดำเนินการตามที่กำหนดได้
ข้อ ๙๙ คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลง มีหน้าที่ พิจาณาผู้รับจ้างตามข้อกำหนด และ
รายงานผลและความเห็นให้ หน.ส่วนฯ ผ่าน หน.จนท.พัสดุ
การจ้างโดยวิธีคัดเลือก
ข้อ ๑๐๐ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก คือ การจ้างที่ผู้จ้างประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง แล้วคณะกรรมการพิจารณาจัดเลือกผู้ที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุด เป็นการจ้างที่มีวงเงินเกิน ๒ ล้าน แต่ไม่เกิน ๕ ล้านบาท
ข้อ ๑๐๑ การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแต่ละครั้งให้ หน.ส่วนแต่งตั้งกรรมการรับซอง และ กรรมการดำเนินการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก โดยกรรมการับซอง มี ประธาน ๑ คน กรรมการอย่างน้อย ๒ คน ระดับ ๓ ขึ้นไปและ กรรมการดำเนินการจ้าง มี ประธาน ๑ คน กรรมการ อย่างน้อย ๒ คน ระดับ ๔ และควรมีผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
ข้อ ๑๐๒ คณะกรรมการรับซองเสนองานวิธีคัดเลือกมีหน้าที่ ดังนี้
๑ รับซอง และบันทึกไว้หน้าซองว่าเป็นผู้เสนอรายใด แล้วลงบัญชีเป็นหลักฐาน
๒ มอบซองให้ กรรมการดำเนินการจ้าง
ข้อ ๑๐๓ คณะกรรมการดำเนินการจ้างวิธีคัดเลือกมีหน้าที่ดังนี้
๑ เมื่อกรรมการมาครบแล้วให้เปิดซอง
๒ พิจารณาข้อกำหนดตามที่ผู้เสนอตามที่กำหนดไว้
๓ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วรายงาน ให้ หน.ส่วน ฯ ผ่าน หน.จนท.พัสดุ

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 22

อำนาจในการจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๙๑ การสั่งจ้าที่ปรึกษาอยู่ในอำนาจและผู้ดำรงตำแหน่งดังนี้
๑ หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท ๒ ปลัดกระทรวง เกิน ๕๐ ล้านแต่ไม่เกิน ๑๐๐ ล้านบาท
๓ รมต.เจ้ากระทรวง เกิน ๑๐๐ ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๙๒ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัด และอัตราค่าจ้างที่ส่วนราชการเคยจ้างให้มีจำนวนคน และเดือน เท่าที่จำเป็น แต่ต้องไม่เกินอัตราที่ กวพ.กำหนด และในกรณีที่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้จ่ายได้ไม่เกิน ๕๐%ของค่าจ้างตามสัญญาและให้ที่ปรึกษาจัดให้ธนาคารในประเทศเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่รับไปและให้คืนหนังสือคำประกันเมื่อทางราชการได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดแล้ว ทั้งนี้ให้กำหนดไว้ในสัญญาด้วย กรณีการจ้างส่วนราชการไม่ต้องมีหลังประกันเงินล่วงหน้าที่รับไปก็ได้

หลักประกันผลงาน
ข้อ ๙๓ การจ่ายเงินค่าจ้างที่แบ่งจ่ายเป็นงวดให้หักเงินที่จ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่า ๕% แต่ไม่เกิน ๑๐%ของค่าจ้างหรือหนังสือคำประกันของธนาคารแทน เพื่อเป็นการประกันผลงานก็ได้
ข้อ ๙๔ กรณีสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามโครงการ เงินกู้ที่รวมภาษี ซึ่งที่ปรึกษาต้องจ่ายให้รัฐบาทไทยให้แยกภาษีออกจากราคารวม

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 21

ข้อ ๘๔ คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงมีหน้าที่
๑ พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค ๒ พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น และเจรจาต่อรอง
๓ พิจาณารายละเอียดข้อกำหนดในสัญญา
๔ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหน.ส่วนราชการผ่าน หน.จนท. พัสดุ
วิธีคัดเลือก
ข้อ ๘๕ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกคือ การจ้างโดยการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้เหลือน้อยรายและเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอเข้ารับงานเพื่อพิจารณาเลือกรายที่ดีที่สุด กรณีมีเหตุอันควรและ หน.ส่วนเห็นชอบให้เชิญที่ปรึกษาที่เหมาะสมเข้ารับงานโดยไม่ต้องคัดเลือกให้เหลือน้อยรายก็ทำได้
ข้อ ๘๖ เพื่อให้ได้รายชื่อที่ปรึกษาที่เหมาะสมมากรายที่สุดให้จนท.ที่รับผิดชอบดำเนินการดังนี้
๑ ที่ปรึกษาต่างประเทศให้ขอรายชื่อจากสถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ ประกาศ นสพ.แจ้งไปยังสมาคม ฯ หรือสถานทูต ที่เกี่ยวข้องหรือขอความร่วมมือจากส่วนราชการที่เคยจ้างที่ปรึกษาในเรื่องเดียวกัน
๒ ที่ปรึกษาไทยให้ขอรายชื่อจากศูนย์ข้อมูล ก.การคลัง การคัดเลือกให้เหลือน้อยรายนั้นคือคัดเลือกให้เหลืออย่างมาก ๖ ราย แล้วเสนอให้ หน.ส่วนทราบ กรณีจ้างโดยเงินกู้หรือช่วยเหลือให้ทำตามข้อกำหนดนั้นด้วย
ข้อ๘๗ ให้ส่วนราชการออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ เพื่อเสนอรับงาน ๒ วิธีดังนี้
๑ ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา แยกเป็น ๒ ซอง ๒ ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคซองเดียว
ข้อ๘๘ คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกมีหน้าที่ดังนี้
๑ กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก
๒ พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคทุกรายและจัดลำดับ
๓ กรณีใช้วิธียื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาพร้อมกันให้เปิดซองด้านราคาของผู้เสนอที่มีข้อเสนอดีที่สุด และเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม กรณีที่ใช้วิธีเสนอด้านเทคนิคให้เชิญผู้ที่มีข้อเสนอดีที่สุดมาต่อรองราคาให้ได้ราคาที่เหมาะสม หากต่อรองไม่ได้ผลให้เสนอ หน.ส่วนยกเลิกรายนั้น แล้วพิจาณารายต่อไป
๔ เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมให้พิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะกำหนดในสัญญา
๕ ให้คณะกรรมการรายงานผลและความเห็นให้ หน.ส่วน ผ่าน หน.จนท.พัสดุ กรณีใช้วิธียื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาพร้อมกัน หลังตกลงจ้างแล้วให้คืนซองราคารายอื่นคืนโดยไม่เปิดซอง กรณีการจ้างโดยวิธีคัดเลือกด้วยเงินช่วยเหลือโดยกรมวิเทศสหการให้ปฏิบัติตามโดยอนุโลม
ข้อ ๘๙ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานไม่ยุ่งยากซับซ้อนสามารถทำงานได้เป็นการทั่วไปให้อยู่ในดุลยพินิจของหน.ส่วนฯที่จะออกหนังสือเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอรับงานโดยดำเนินกาดังนี้
๑ ให้ยื่นซองเสนอด้านเทคนิคและราคาแยกกัน ๒ ซอง
๒ให้คัดเลือกพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคทุกรายและจัดลำดับ
๓ เปิดซองราคาผู้เสนอที่จัดลำดับไว้ ๑ ถึง ๓ แล้วเลือกรายที่ราคาต่ำสุดมาต่อรองราคาก่อน
๔ หากเจรจารายแรกไม่ได้ผลให้ยกเลิกและเจรจารายถัดไปตามลำดับ
เมื่อเจรจาได้ผลแล้วให้พิจารณาเงื่อนไขที่จะกำหนดในสัญญาแล้วรายงานผลให้ หน.ส่วน ผ่าน หน.จนท.พัสดุ
ข้อ ๙๐ การจ้างที่ปรึกษาเป็นรายบุคลที่ไม่ต้องยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค ให้คัดเลือกคุณสมบัติเหมาะสม พิจารณาจัดลำดับแล้วให้เชิญรายที่เหมาะสมที่สุดมาเจรจาต่อรองราคาตามลำดับ

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 20

หมวดที่ ๒ ส่วนที่ ๓ การจ้างที่ปรึกษา
การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย
ข้อ ๗๔ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาที่ปรึกษาไทย ให้มีศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาโดย ก.การคลัง เป็นผู้กำกับควบคุมดูแล เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
๑. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียน
๒. รับจด ต่อ เพิกถอน ทะเบียน
๓. รวบรวม จัดทำ ปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ
๔. เผยแพร่หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ปรึกษาไทยแก่ส่วนราชการและเอกชนผู้สนใจ
ข้อ ๗๕ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นนิติบุคคลให้ส่วนราชการจ้างที่ปรึกษาไทยเป็นหลัก ยกเว้นไม่มีที่ปรึกษาไทยในสาขานั้น การจ้างที่ปรึกษาที่ไม่ใช่นิติบุคคลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กวพ.กำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้กำหนดเป็นอย่างอื่น กรณีมีที่ปรึกษาไทยแต่มีเหตุและความจำเป็นไม่จ้างที่ปรึกษาไทยให้ขออนุมัติ กวพ.ก่อน การจ้างที่ปรึกษาของส่วนราชการต่างประเทศไม่จ้างที่ปรึกษาไทยก็ได้ กรณีการจ้างด้วยเงินกู้หรือช่วยเหลือให้ทำวิธีอื่น
ข้อ ๗๖ การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของส่วนราชการ จะต้องมีบุคลากรไทยร่วมงานไม่น้อยกว่า ๕๐ % ของจำนวน คน – เดือน ของที่ปรึกษายกเว้นสาขาที่ไม่อาจจ้างบุคคลากรไทยได้ให้ขออนุมัติต่อ กวพ.
วิธีจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๗๗ การจ้างที่ปรึกษาทำได้ ๒ วิธี คือ วิธีตกลง และ วิธีคัดเลือก
รายงานขอจ้างที่ปรึกษา
ข้อ ๗๘ ก่อนดำเนินการจ้างที่ปรึกษา ให้จนท.พัสดุทำรายงานเสนอ หน.ส่วนราชการตามรายการดังนี้
๑ เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา ๒ ขอบเขตโดยละเอียดของงาน ( TOR) ๓ คุณสมบัติของที่ปรึกษา ๔ วงเงินค่าจ้างโดยประมาณ
๕ ระยะเวลาแล้วเสร็จ ๖ วิธีจ้างที่ปรึกษาและเหตุผล ๗ ข้อเสนออื่น ๆ
ถ้าหน.ส่วนราชการเห็นชอบตามรายงานแล้วให้ จนท.พัสดุดำเนินการจ้างตามวิธีนั้นต่อไป
กรรมการ
ข้อ ๗๙ การจ้างที่ปรึกษา ให้ หน.ส่วนราชการแต่งตั้งกรรมการเพื่อปฏิบัติตามระเบียบ แล้วแต่กรณี ๒ คณะคือ
๑ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตงลง และ ๒ โดยวิธี คัดเลือก
ข้อ ๘๐ คณะกรรมการวิธีตกลง และวิธีคัดเลือก ประกอบด้วย ประธาน ๑ คนและกรรมการอย่างน้อย ๔ คน ระดับ ๖ อย่างน้อย ๒ คน กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการให้แต่งตั้งผู้แทนจากส่วนราชการอื่นหรือบุคคลที่ไม่ใช่ข้าราชการซึ่งชำนาญการหรือทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการด้วย กรณีจ้างที่ปรึกษาด้วยเงินกู้ให้มีผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลังด้วย ๑ คน
ข้อ ๘๑ การประชุมคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษา ให้มีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงถือเป็นองค์ประชุม
วิธีตกลง
ข้อ ๘๒ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง คือการจ้างผู้ที่เคยเห็นความสามารถและผลงานและเป็นผู้เชื่อถือได้

ข้อ ๘๓ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงให้กระทำได้กรณีดังนี้
๑ การจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน ๑ แสนบาท
๒ การจ้างเพื่อทำงานที่ต่อเนื่องจากที่ทำอยู่แล้ว
๓. การจ้างกรณีที่ทราบแน่ชัดว่ามีผู้เชี่ยวชาญจำนวนจำกัดไม่เหมาะสมกับวิธีคัดเลือกและมีค่าจ้างไม่เกิน ๒ ล้านบาท
๔ เป็นการจ้างส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีกฎหมายหรือมติ ครม.ให้จ้างได้โดยตรง การจ้างที่เร่งด่วนหากช้าจะเสียหายแก่ราชการและจำเป็นต้องจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้ทำได้ แต่หน.ส่วนราชการต้องทำรายงานชี้แจงเหตุผลให้ กวพ.ทราบ อย่างช้าไม่เกิน ๑๕ วันนับแต่วันที่จ้าง ถ้า กวพ.ไม่เห็นด้วย กวพ.มีอำนาจแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ได้ และในการทำสัญญาจ้างกรณีเร่งด่วน จะสมบูรณ์เมื่อ กวพ.ให้ความเห็นชอบ และในกรณีการจ้างโดยอาศัยเหตุ เพื่อทำงานต่อเนื่อง หรือ มีผู้เชี่ยวชาญจำกัด กวพ.จะกำหนดให้ หน.ส่วนรายงานชี้แจงเหตุผลเพื่อทราบก็ได้สำหรับกรณีค่าจ้างเกินวงเงินขั้นสูงที่ กวพ.กำหนด

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 19

การตรวจรับพัสดุ
ข้อ ๗๑ คณะกรรมการตรวจพัสดุมีหน้าที่ดังนี้
๑ ตรวจรับ ณ ที่ทำการของผู้ใช้หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา กรณีไม่กำหนดไว้ต้องได้รับอนุมัติจาก หน.ส่วนราชการก่อน
๒ ตรวจรับให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา กรณีต้องส่งทดลองหรือตรวจสอบทางเทคนิคจะเชิญผู้ชำนาญการหรือส่งไปตรวจสอบที่ผู้ชำนาญการก็ได้
๓ ปกติให้ตรวจรับในวันที่ที่ส่งของและให้ทำให้เสร็จโดยเร็ว
๔ เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้วให้รับไว้และถือเป็นการส่งมอบแก่ จนท.พัสดุแล้วพร้อมทำใบตรวจรับลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ ให้ ผู้ขาย ๑ ฉบับ จนท. พัสดุ ๑ ฉบับเพื่อเบิกจ่ายเงินและรายงานให้
หน.ส่วนราคาการทราบ กรณีส่งของไม่ตรงให้รายงาน หน.ส่วน ผ่าน หน.จนท.พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ
๕ ในกรณีส่งมอบถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวนหรือครบแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมดให้ตรวจรับเฉพาะจำนวนที่ถูกต้องแล้วรายงานให้ หน.ส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน ๓ วันทำการทั้งนี้ไม่ติดสิทธิ์ที่จะปรับผู้ขายในจำนวนที่ส่งของไม่ครบหรือไม่ถูกต้องนั้น
๖ การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดถ้าขาดส่วนประกอบใดแล้วไม่สามารถใช้งานได้ให้ถือว่ายังไม่ได้ส่งของ ให้รายงานให้ หน.ส่วนทราบเพื่อแจ้งให้ ผู้ขายทราบภายใน ๓ วันทำการ
๗ ถ้ากรรมการตรวจรับบางคนไม่รับให้ทำความขัดแย้งไว้ให้เสนอหน.ส่วนเพื่อสั่งการถ้าเห็นว่าให้รับก็ให้รับและดำเนินการต่อไป
การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ ๗๒ กรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่
๑ ตรวจสอบรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างทุกสัปดาห์รวมทั่งรับทราบหรือสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงาน หน.ส่วนเพื่อสั่งการต่อไป
๒ ถ้าตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานแล้วมีข้อสงสัยหรือไม่น่าจะเป็นไปได้ตามหลักวิชาการให้ออกตรวจงาน ณ สถานที่ที่กำหนดโดยมีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปรงได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้เป็นไปตามสัญญา
๓ ปกติให้ตรวจผลงานที่ส่งมอบภายใน ๓ วัน ทำการนับแต่วันที่ประธานรับทราบการส่งมอบงาน
๔ เมื่อเห็นว่าส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาให้ถือว่าส่งมอบงานแล้วตั้งแต่วันที่ส่งงาน และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ แล้วรายงานให้ หน.ส่วนราชการทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าการส่งมอบไม่เป็นไปตามสัญญาให้รายงานให้ สน.ส่วน ผ่าน หน.จนท.พัสดุ ทราบเพื่อสั่งการ
๕ ในกรณีกรรมการบางคนไม่รับโดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอ หน.ส่วน เพื่อสั่งการ หากเห็นควรให้รับก็รับแล้วจึงดำเนินการต่อไป
ข้อ ๗๓ ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ดังนี้
๑ ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ตามสัญญาทุกวัน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาทุกประการถ้าไม่เป็นไปตามสัญญาสามารถสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นไปตามสัญญาได้ ถ้าผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามให้สั่งหยุดงานนั้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดจนกว่าผู้รับจ้างจะปฏิบัติตามและรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทันที
๒ กรณีปรากฏว่าข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดแย้งกันหรือคาดว่าถ้าทำตามสัญญาเมื่อเสร็จจะไม่มันคงแข็งแรง ปลอดภัยให้สั่งพักงานนั้นก่อนแล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว
๓ จดบันทึกการปฏิบัติงานเป็นรายวัน พร้อมผลการปฏิบัติงานหรือการหยุดงานพร้อมสาเหตุอย่างน้อย อย่างน้อย ๒ ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ ๑ ฉบับ และ เพื่อมอบให้แก่จนท.พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวดโดยถือเป็นเอกสารสำคัญเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่
๔ในวันที่กำหนดลงมือทำและวันที่ถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้น

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 18

อำนาจการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง
ข้อ๖๕ การสั่งซื้อสั่งจ้างครั้งหนึ่งยกเว้นวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษ ผู้มีอำนาจซื้อ ภายในวงเงินดังนี้
๑ หน.ส่วนราชการ ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท
๒ ปลัดกระทรวง เกิน ๕๐ ล้านบาท
๓ รมต.เจ้าสังกัด เกิน ๑๐๐ ล้านบาท
ข้อ ๖๖ การสั่งซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษผู้มีอำนาจซื้อภายในวงเงิน
๑. หน.ส่วนราชการ ไม่เกิน ๒๕ ล้านบาท
๒. ปลัดกระทรวง เกิน ๒๕ ล้านบาท แต่ไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท
๓. รมต.เจ้ากระทรวง เกิน ๕๐ ล้านบาท
ข้อ ๖๗ การสั่งซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ หน.ส่วนราชการสั่งซื้อหรือจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน
การจ่ายเงินล่วงหน้า
ข้อ ๖๘ การจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าทำไม่ได้ยกเว้นหน.ส่วนราชการเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจ่ายและกำหนดไว้ในเงื่อนไขให้ทำได้เฉพาะและหลักเกณฑ์ดังนี้
๑ การซื้อจากส่วนราชการจ่ายได้ไม่เกิน ๕๐% ของราคาซื้อหรือจ้าง
๒ ซื้อจากสถาบันของรัฐหรือหน่วยงานอื่นในต่างประเทศจ่ายได้ตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่กำหนด
๓ การบอกรับวารสารหรือสั่งจองหนังสือหรือการจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จ(cd-rom) ให้จ่ายได้เท่าท่าจ่ายจริง
๔ การซื้อโดยสอบหรือประกวด จ่ายได้ไม่เกิน ๑๕% แต่ต้องกำหนดอัตราไว้ในเงื่อนไขด้วย
๕ การซื้อโดยวิธีพิเศษ จ่ายได้ไม่เกิน ๑๕%
ข้อ ๖๙ การจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายหรือรับจ้างตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือดราฟต์ถ้าวงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐บาท หรือจ่ายตามความก้าวหน้ากระทำได้โดยไม่ถือเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า
ข้อ ๗๐ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้า ซื้อจากส่วนราชการและสถาบันของรัฐในต่างประเทศไม่ต้องเรียกหลักประกัน ส่วนการจ่ายเงินล่วงหน้าในการซื้อวิธีสอบ,ประกวด,วิธีพิเศษผู้ขายต้องนำพันธบัติรัฐบาลไทยหรือหนังสือคำประกันของธนาคารในประเทศมาค้ำประกันเงินที่ลับล่วงหน้า

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 17

วิธีพิเศษ
ข้อ ๕๗ การซื้อวิธีพิเศษให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการดังนี้
๑ เป็นพัสดุจะขายทอดตลาดให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีตกลงราคา
๒ เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วนให้เชิญผู้ขายโดยตรงมาเสนอราคา ถ้าราคาสูงกว่าท้องตลาดหรือราคาที่เห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
๓ พัสดุใช้ในราชการลับให้เชิญผู้ขายโดยตรงมาเสนอราคาตามข้อ ๒
๔ เป็นพัสดุที่ซื้อไว้แล้วแต่ต้องการเพิ่มให้เจรจากับผู้ขายรายเดิมตามสัญญาที่ยังไม่สิ้นสุดการส่งมอบเพื่อขอให้ขายพัสดุให้ตามรายละเอียดเดิม ราคาต่ำกว่าหรือเท่าเดิมหรือเงื่อนไขดีกว่าหรือเท่าเดิม
๕ เป็นพัสดุที่ต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศให้เสนอ หน.ส่วนติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศส่วนการซื้อโดยผ่านองค์กรระหว่างประเทศให้ติดต่อกับนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่อยู่ในประเทศโดยตรงถ้าไม่มีให้ติดต่อสำนักงานในต่างประเทศได้
๖ ในกรณีที่เป็นพัสดุที่มีข้อจำกัดทางเทคนิคต้องระบุยี่ห้อให้เรียกผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายมาเสนอราคาถ้าสูงกว่าท้องตลาดให้ต่อรองลงเท่าที่จะทำได้
๗ พัสดุเป็นที่ดินให้เรียกเจ้าของมาเสนอราคาหากราคาสูงกว่าท้องตลาดให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้
การซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างในต่างประเทศจะติดต่อผ่านนายหน้าหรือดำเนินการในทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือประเพณีนิยมท้องถิ่นแทนเจ้าของที่ดินก็ได้
๘ กรณีซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลให้สืบราคาจากผู้ขายโดยตรงหรือผู้เสนอราคาที่ถูกยกเลิกถ้าราคาที่เห็นสมควรซื้อยังสูงกว่าท้องตลาดให้ต่อรองเท่าที่ทำได้แล้วรายงานผลการพิจารณาและความเห็นให้หน.ส่วนราชการเพื่อสั่งการ ผ่าน หน.จนท.พัสดุ
ข้อ ๕๘ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้หน.ส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการดังนี้
๑ จ้างโดยวิธีพิเศษที่ต้องจ้างจากช่างฝีมือเฉพาะ ต้องถอดตรวจสอบสิ่งที่ชำรุดก่อน เร่งด่วน และเป็นความลับ ให้เรียกผู้ขายโดยตรงมาเสนอราคาถ้าสูงให้ต่อรองเท่าที่จะทำได้
๒ จ้างโดยวิธีพิเศษที่จ้างเพิ่มให้เจรจากับผู้ขายเดิมตามสัญญาที่ยังไม่สิ้นสุดการส่งมอบ
๓ จ้างโดยวิธีพิเศษที่จ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลให้สืบราคาจากผู้ขายโดยตรงหรือผู้ถูกยกเลิกไปหากราคาที่เห็นสมควรจ้างสูงให้ต่อรองราคาเท่าที่จะทำได้แล้วรายงานผลให้หน.ส่วนผ่าน หน.จนท.พัสดุ

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 16

ข้อ ๕๑ ในกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือหลายรายแต่มีผู้เสนอถูกต้องเพียงรายเดียว โดยปกติจะยกเลิกแต่ถ้าคณะกรรมการเห็นว่ามีเหตุผลสมควร จะเสนอให้ซื้อก็ได้โดยอนุโลม
ข้อ ๕๒ กรณีไม่มีผู้เสนอราคาหรือมีแต่คุณสมบัติไม่ถูกต้อง ให้ หน.ส่วนยกเลิก เพื่อดำเนินการใหม่
หากหน.ส่วนเห็นว่าถ้าดำเนินการใหม่แล้วจะไม่ได้ผลดีจะซื้อโดยวิธีพิเศษก็ได้
ข้อ ๕๓ หลักการประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงแต่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายละเอียดซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบให้หน.ส่วนยกเลิกการประกวดครั้งนั้น
ข้อ ๕๔ การซื้อหรือจ้างที่ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุหรือคุณสมบัติซึ่งอาจไม่อยู่ในฐานเดียวกันเป็นเหตุให้มีปัญหาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวต้องปรับปรุงให้เป็นไปตามต้องการให้ประปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกวดทั่วไป เว้นแต่การกำหนดให้ยื่นซองประกวดแยกเป็น
๑ ข้อเสนอด้านเทคนิคและอื่น ๆ ๒ ข้อเสนอด้านราคา ๓ ข้อเสนอทางด้านการเงิน
ข้อ ๕๕ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๕๔ จึงให้คณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคาเป็นผู้เปิดซองเสนอด้านเทคนิคโดยปฏิบัติตามหน้าที่ และในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินกากรดังนี้
๑. พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคทุกราย คัดเลือกเฉพาะรายที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงมากที่สุดถ้าจำเป็นจะเรียกผู้เสนอมาชี้แจงเพิ่มเติมก็ได้
๒. เปิดซองราคาเฉพาะรายที่ผ่านการคัดเลือก รายที่ไม่ผ่านให้คืนซองราคาและการเงินโดยไม่เปิดซอง
ในการพิจารณาด้านเทคนิคและการเงินให้หน.ส่วนราชการแต่งตั้งผู้ชำนาญการด้านเทคนิคและเชี่ยวชาญการเงินอย่างน้อย ๑ คน ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผลด้วย
ข้อ ๕๖ การซื้อที่มีการยื่นซองเสนอทางการเงินให้เปิดซองพร้อมกับซองเสนอราคา เพื่อประเมินเปรียบเทียบ

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 15

ข้อ ๔๗ กรณีการซื้อที่มีรายละเอียดซับซ้อนจะต้องมีการชี้แจงให้กำหนด วัน เวลาสถานที่ ในประกาศด้วย และถ้ามีการแก้ไขรายละเอียดให้จำทำเอกสารเพิ่มเติม และระบุ วันเวลาสถานที่ ในการชี้แจงด้วย และให้แจ้งผู้ขายทุกรายทราบด้วย ในกรณีนี้ ให้ส่วนราชการพิจารณาเลื่อนวันเวลา รับ ปิด เปิด ซองประกวดราคา ตามความจำเป็นแก่กรณีด้วย การชี้แจงรายละเอียดให้ จนท.ที่รับผิดชอบจัดทำบันทึกการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
ข้อ ๔๘ นอกจากกรณี ข้อ ๕๗ ห้ามมิให้เลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงเวลา รับ เปิดซองประกวดราคา และการรับซองประกวดราคาทางไปรษณีย์ ทำไม่ได้ ยกเว้น ประกวดราคานานาชาติซึ่งกำหนดยื่นซองทางไปรษณีย์ได้
ข้อ ๕๙ คณะกรรมการรับละเปิดซองประกวดราคามีหน้าที่ดังนี้
๑ รับ ลงทะเบียน ลงชื่อกำหับซองไว้หน้าซอง
๒ ตรวจหลักประกันซองร่วมกับจนท .กง. และให้ จนท.กง.ออกใบรับ กรณีเป็นหนังสือค้ำประกันให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคารทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วย.
๓รับเอกสารหลักฐานตามบัญชีรายการเอกสารของผู้ขาย
๔ เมื่อหมดเวลารับซองแล้วห้ามรับซอง
๕ เปิดซองและอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสาร และให้รมการทุกคนลงชื่อในเอกสารทุกแผ่น กรณีมีซองข้อเสนอทางเทคนิคไม่ต้องเปิดซอง เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผลดำเนินการ
๖ ส่งมอบเอกสารทั้งหมดให้คณะกรรมการพิจาณาผล
ข้อ ๕๐ คณะกรรมการพิจารณาผลมีหน้าที่ดังนี้
๑ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา กรณีผู้ขายเสนอรายละเอียดแตกต่างเป็นอย่างอื่นแต่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ได้เปรียบผู้อื่นหรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยให้พิจารณาผ่อนปรนไม่ตัดผู้ขายรายนั้นออก
๒ พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ มีมีคุณภาพและคุณสมบัติตามต้องการแล้วเสนอให้ซื้อผู้เสนอราคาต่ำสุด กรณีผู้ขายไม่ยอมทำสัญญาให้พิจารณาผู้เสนอราคาต่ำรายต่อไป ถ้าเสนอมาคาเท่ากันหลายรายให้ยื่นซองใหม่พร้อมกัน ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้ขายที่คณะกรรมการจะซื้อมีราคาสูงว่าเงิน(พิจาณาตามข้อ๔๓)ให้เรียกมาต่อรอง ถ้าลดแล้วราคาสูงไม่เกิน ๑๐ % ให้ซื้อได้หรือพิจารณาลดจำนวนหรือเพิ่มวงเงินจัดซื้อก็ได้
๓ คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นให้ หน.ส่วนโดยเสนอ ผ่านหน.จนท.พัสดุ

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 14

วิธีประกวดราคา
ข้อ ๔๔ ให้ จนท.พัสดุทำเอกสารประกวดราคาตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด หรือตามแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และถ้าจะทำเอกสารประกวดราคาที่แตกต่างออกไปจากนี้ให้
ส่งร่างเอกสารให้สำนักอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน
การเผยแพร่เอกสารประกวดราคาให้จัดทำประกาศโดยมีสาระสำคัญดังนี้
๑ รายการพัสดุที่ต้องการซื้อ
๒ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา
๓ กำหนดวัน เวลารับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา
๔ สถานที่และระยะเวลาในการขอรับเอกสารหรือซื้อเอกสาร และราคาเอกสาร
๕ แหล่งเงินกู้และประเทศผู้มีสิทธิ์เข้าประกวดกรณีประกวดราคานานาชาติ

ข้อ ๔๕ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคาให้ หน.จนท.พัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลและจัดทำหลักฐานการเผยแพร่และปิดประกาศภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการดังนี้
๑ ปิดประกาศโดยเปิดเผยในตู้ปิดประกาศทีมีกุญแจปิดตลอดเวลาโดยผู้ปิดและผู้ปลดประกาศจะต้องทำหลักฐานการปิดและปลดประกาศเป็นหนังสือมีพยานรับรองและ ผู้ปิดและปลดประกาศและพยานต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกัน
๒ ส่งประกาศทางวิทยุ และ/หรือ นสพ.
๓ ส่งให้กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเผยแพร่
๔ ส่งไปเผยแพร่ที่ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของทางราชการ
๕ ส่งให้ สตง.หรือ สตง.ภูมิภาค
หากเห็นสมควรจะส่งประกาศไปยังผู้ขายโดยตรง หรือโฆษณาวิธีอื่นก็ได้ ถ้าจัดส่งทางไปรษณีย์ให้จัดส่งโดย EMS ถ้าไม่มี EMS ก็ให้ลงทะเบียน และให้ทำก่อนการให้หรือขายเอกสารไม่น้อยกว่า ๗ วัน
สำหรับการซื้อโดยวิธีประกวดราคานานาชาติให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ
ข้อ ๔๖ การให้หรือการขายเอกสารจะต้องจัดทำให้เพียงพอและให้โดยไม่มีเงื่อนไข ให้ ณ สถานที่ที่ติดต่อได้สะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้าม การให้ต้องกระทำไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ และต้องมีช่วงให้ผู้ขายคำนวณราคาก่อนถึงวันรับซองไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ หรือรวมกันแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑๔ วันทำการ ถ้ามีการยกเลิกผู้ขายมีสิทธิใช้เอกสารเก่าได้หรือได้รับเอกสารใหม่ฟรี

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 13

ข้อ ๔๑ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาให้ทำดังนี้
๑ ประกาศไม่น้อยกว่า ๑๐ วันสำหรับสอบราคาในประเทศ และ ไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับสอบราคานาชาติ โดยให้ จนท.พัสดุส่งประกาศโดยตรงให้ผู้ขาย โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดและติดประกาศไว้ที่สำนักงานด้วย
๒ การยื่นซองให้ปิดซองเสนอราคาจ่าหน้าซองถึงประธานคณะกรรมการเปิดซอง และส่งถึงส่วนราชการการผู้ดำเนินการก่อนวันเปิดซองโดยยื่นโดยตรงหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนในกรณีกำหนดให้ทำได้
๓ ให้ จนท.ลงรับโดยไม่เปิดซอง ระบุวันเวลาที่รับกรณีที่มายื่นซองโดยตรงให้ออกไปรับให้ผู้ยื่นซอง กรณียื่นซองทางไปรษณีย์ให้ถือวันและเวลาที่ลงรับจากไปรษณีย์เป็นเวลารับซองแล้วส่งมอบให้ หน.เจ้าหน้าที่พัสดุทันที
๔ ให้ หน.จนท.พัสดุเก็บรักษาซองเสนอราคาทุกรายโดยไม่เปิดซอง และเมื่อถึงเวลาเปิดซองให้ส่งมอบซองเสนอราคาพร้อมรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ ๔๒ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคามีหน้าที่คือ
๑ เปิดซองเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตรวจสอบเอกสารตามบัญชีและลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารทุกแผ่น
๒ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไข
๓. พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่คุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขซึ่งเสนอราคาต่ำสุด และในกรณีที่
ผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่ยอมทำสัญญาหรือข้อตกลงในเวลาที่กำหนดให้พิจารณาผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไป และถ้ามีราคาต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้ยื่นซองใหม่พร้อมกัน ถ้าปรากฏว่าราคาสูงกว่าวงเงินให้ดำเนินการตามข้อ ๔๓
๔ กรณีมีผู้เสนอราคาถูกต้องตามรายละเอียดและเงื่อนไขรายเดียวให้พิจารณาซื้อได้โดยอนุโลม
๕ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชราชการเพื่อสั่งการ ผ่าน หน.จนท.พัสดุ
ข้อ ๔๓ การซื้อหรือการจ้างที่ราคาเกินวงเงินที่จะซื้อให้คณะกรรมการดำเนินการดังนี้
๑ ให้เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคา ถ้าลดแล้วไม่สูงกว่าหรือสูงกว่าไม่เกิน ๑๐%ของวงเงิน
หากเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้ซื้อจากผู้เสนอราคารายนั้น
๒ ถ้าทำตามข้อ ๑ แล้วไม่ได้ผลให้เรียกผู้เสนอราคาทุกรายมาต่อรองราคาใหม่โดยการยื่นซองภายในกำหนดระยะเวลาอันควร หากรายได้ไม่มายื่นซองให้ถือราคาเดิม และถ้าผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่สูงกว่าหรือสูงกว่าแต่ไม่เกิน ๑๐% ของวงเงินที่จะซื้อหากเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อผู้เสนอราคารายนั้น
๓ ถ้าทำตามข้อ ๒ ไม่ได้ผลให้เสนอความเห็นต่อ หน.ส่วนราชการ เพื่อเห็นสมควร ลดรายการ
ลดจำนวน , ลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่ม หรือยกเลิกเพื่อสอบราคาใหม่

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 12

วิธีตกลงราคา
ข้อ ๓๙ การซื้อการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้ จนท.พัสดุติดต่อโดยตรงกับผู้ขายแล้วให้ หน.จนท.พัสดุ จัดซื้อภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ ๒๙( หน.จนท.พัสดุ เห็นชอบ ตามรายงานขอซื้อหรือจ้าง)

การซื้อโดยวิธีตกลงราคากรณีจำเป็นเร่งด่วนให้ จนท.พัสดุ หรือจนท.ผู้รับผิดชอบดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อ หน.ส่วนราชการเมื่อเห็นชอบแล้วให้ถือว่ารายงานนั้นเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม

วิธีสอบราคา
ข้อ ๔๐ ให้จนท.พัสดุจัดทำเอกสารสอบราคาอย่างน้อยให้มีรายการต่อไปนี้
๑ คุณลักษณะเฉพาะ จำนวน แบบรูป รายการละเอียดและปริมาณงานที่ต้องการ กรณีจำเป็นต้องดูสถานที่ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลาที่นัดหมาย
๒ คุณสมบัติของผู้เสนอราคา
๓ กรณีจำเป็นให้ผู้เสนอราคาส่งตัวอย่างแคตตาล็อก,แบบรูป,รายละเอียด พร้อมกับใบเสนอราคา
๔ ถ้าจำเป็นต้องมีการตรวจทดลอง ให้กำหนดตัวอย่างให้พอทดลองและเหลือไว้ทำสัญญาด้วยโดยกำหนดว่าไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่จะเกิดจากการทดสอบตัวอย่าง
๕ สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับรูปแบบ รายละเอียดในกรณีที่มีการขาย ให้ระบุราคาขายด้วย
๖ กำหนดให้ผู้ขายเสนอราคารวมทั้งสิ้น ราคาต่อหน่วย หรือต่อรายการ(ถ้าทำได้) โดยระบุหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนว่าจะพิจารณาราคารวม ราคาต่อหน่วย หรือต่อรายการ ถ้าไม่กำหนดให้พิจารณาราคารวม
๗ กำหนดใน การเสนอราคาต้องลงเป็นตัวเลขและต้องมีตัวหนังสือกำกับถ้าไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือเป็นหลัก ในการสอบราคาจ้างให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้างเพื่อให้ผู้ขายกรอกปริมาณวัสดุและราคาด้วย
๘ กำหนดการยื่นราคาเท่าที่จำเป็นต่อทางราชการยื่นซองแล้วลงทะเบียนรับแล้วถอนคืนไม่ได้
๙ กำหนดสถานที่และวันส่งมอบ สำหรับการซื้อ กำหนดวันเริ่มทำงานและวันแล้วเสร็จ สำหรับการจ้าง
๑๐ กำหนดสถานที่ วัน เวลา เปิดซองสอบราคา
๑๑ กำหนดให้ผู้เสนอราคาผนึกซองให้เรียบร้อยจ่าหน้าซองถึงประธานกรรมการเปิดซองสอบราคา และส่งถึงส่วนราชการก่อนวันเปิดซองโดยส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมบัญชีรายการเอกสารเสนอพร้อมกับซองเสนอราคา สำหรับการยื่นซองทางไปรษณีย์ให้กำหนดวิธีการปฏิบัติให้ชัดเจน
๑๒ กำหนดการสงวนสิทธิ์ ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับราชการเป็นผู้ทิ้งงาน
๑๓ กำหนดว่าผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำสัญญา จะต้องวางหลักประกันสัญญาตามชนิดและอัตรา
ตามระเบียบการค้ำประกันตามข้อ๑๔๑ , ๑๔๒หลักประกันซองหรือสัญญาและวงเงินประกันตามอัตรา๕-๑๐%
๑๔ ร่างสัญญา รวมทั้งการงวดงาน การจ่ายเงิน เงื่อนไข การจ่ายเงินล่วงหน้า(ถ้ามี)อัตราค่าปรับ
๑๕ ข้อสงวนสิทธิ์ว่า จะไม่พิจารณาผู้ทิ้งงาน และทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะงดซื้อหรือจ้างหรือเลือกซื้อหรือจ้างโดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไปรวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคาและลงโทษผู้เสนอราคาเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุผลเชื่อได้ว่าการเสนอราคาทำโดยไม่สุจริตและสมยอมกัน

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 11

ข้อ ๓๕ คณะกรรมการในข้อ ๓๔ ( ๗ คณะ)ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน กรรมการ ๒ คน (ระดับ ๓) ในกรณีจำเป็นจะแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ใช่ข้าราชการร่วมก็ได้ ถ้าประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ หน.ส่วนราชการ
แต่งตั้งข้าราชการที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นทำหน้าที่แทนได้
ในกรณีเมื่อถึงเวลาเปิดซอง หรือรับซองประกวดราคา ประธานยังไม่มาให้ กรรมการเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน โดยทำเฉพาะ เปิดซอง แจ้งราคาและเซ็นชื่อในในเอกสารทุกแผ่น แล้วรายงานให้ประธานทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
ในการซื้อหรือจ้าง ครั้งเดียว ห้ามแต่งตั้งผู้เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเป็นกรรมการพิจารณาผล หรือกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจรับ
คณะกรรมการทุกคณะ ยกเว้นคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
สำหรับการจัดซื้อหรือจ้างที่วงเงินไม่เกิน ๑ หมื่นบาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่งที่ไม่ใช่ผู้จัดซื้อเป็นผู้ตรวจรับโดยทำหน้าที่เหมือนกรรมการตรวจรับก็ได้
ข้อ ๓๖ ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แต่ละคนมีหนึ่งเสียงในการลงมติ โดยให้ถือเสียงข้างมากถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด ยกเว้นคณะกรรมการตรวจรับและตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์ ถ้ากรรมการท่านใดไม่เห็นด้วยให้ทำบันทึกความคิดเห็นแย้งไว้ด้วย
ข้อ ๓๗ ในการจ้างก่อสร้าง ให้ หน.ส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความชำนาญการด้านช่างตามลักษณะของงานปกติคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า ปวช. จากข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดหรือนอกสังกัดตามที่ได้ยินยอมจากหน.ส่วนราชการของผู้นั้น
ข้อ ๓๘ ในการซื้อหรือจ้างทำพัสดุที่มีเทคนิคพิเศษและจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะให้อยู่ในดุลยพินิจของ
หน.ส่วนราชการทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษามาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งตามความจำเป็นโดยปฏิบัติตามระเบียบในส่วนที่ ๓ คือ การจ้างที่ปรึกษา

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 10

ข้อ ๓๑ เมื่อ หน.ส่วนราชการอนุมัติให้คัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว(ข้อ๓๐) ให้ จนท.พัสดุจัดทำประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น โดยอย่างน้อยให้แสดงรายการดังนี้
๑. รายละเอียดเฉพาะ
๒. ประสบการณ์และผลงาน
๓. สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และโรงงาน
๔. ฐานะการเงิน
๕. หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาคัดเลือก
๖. สถานที่ในการขอรับเอกสารคุณสมบัติเบื้องต้น
ในการประกาศครั้งแรก ให้กำหนด สถานที่ วัน เวลา ที่รับซอง , ปิดการรับซอง และเปิดซองข้องเสนอ
โดยจะต้องทำก่อนวันซองข้องเสนอไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน โดยประกาศวิทยุ ลง นสพ. หรือส่งประกาศไปให้รานค้าโดยตรงหรือโฆษณาโดยวิธีอื่นก็ได้และ ถ้าเป็นการประกวดราคานานาชาติให้ประกาศไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
ข้อ ๓๒ ให้หน.ส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ ประธาน ๑ คน กรรมการระดับ ๕ อย่างน้อย ๔ คน ผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย ๑ คน ( รวมอย่างน้อย ๖ คน)
คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และภายในเวลาที่ หน.ส่วนราชการกำหนด และรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อยเอกสารที่รับไว้ทั้งหมดให้ หน.ส่วนราชการผ่าน
หน.จนท.พัสดุเพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นต่อไป
ข้อ ๓๓ ให้ส่วนราชการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติและตรวจสอบรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้ประกาศไปแล้วอย่างน้อยทุกรอบ ๓ ปี ปกติทำภายในเดือน ต.ค.และเมื่อได้ทบทวนแล้วให้แจ้งผลพร้อมส่งหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ กวพ.ทราบไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
ในกรณีที่ส่วนราชการมีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นไว้เป็นประจำ ให้เปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่มีบัญชีรายชื่ออยู่และประสงค์จะขอเลื่อนชั้นหรือบุคคลที่ประสงค์จะเข้ารับการพิจาณาคุณสมบัติเบื้องต้นมีสิทธิยื่นคำขอได้ตลอดเวลา และให้คณะกรรมการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน ถ้าไม่ทันต้องชี้แจงเหตุผลและระยะเวลาที่ต้องใช้ตามความจำเป็นให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย และ ในระหว่างการยื่นและตรวจคำขอ ผู้ยื่นไม่สามารถใช้สิทธิในระหว่างยื่นคำขอเสนอราคาในการซื้อหรือจ้างได้
ในกรณีส่วนราชการเห็นควรยกเลิกบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ให้แจ้งให้ผู้มีบัญชีรายชื่อเก่าทราบหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ทราบไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน
ข้อ ๓๓ ทวิ ในการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้ส่วนราชการพิจารณาถึงความสามารถในการรับงานด้วย
ในกรณีที่ส่วนราชการมีการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นไว้แล้วให้แจ้งผู้ขายแสดงหลักฐาน
ขีดความสามารถและความพร้อมที่มีในวันเสนอราคา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดทั้งในด้าน บุคลากร เครื่องมือ โรงงาน ฐานะทางการเงินด้วย
กรรมการ
ข้อ ๓๔ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้ หน.ส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณีคือ

๑. คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
๒. คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
๓. คณะกรรมการพิจาณาผลการประกวดราคา
๔. คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
๕. คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
๖. คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
๗. คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ให้คณะกรรมการแต่ละคณะรายงานผลการพิจารณาต่อ หน.ส่วนราชการในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุทำให้
ล่าช้าให้เสนอ หน.ส่วนราชการพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น