วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 5

บทที่ ๒
การรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว
๙. คำจำกัดความ การรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว หมายถึงมาตรการที่
กำหนดขึ้นสำหรับปฏิบัติต่อการส่งข่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ได้ล่วงรู้ หรือรอดพ้นจากการดักรับ การวิเคราะห์การรับ – ส่งข่าว และการลวงเลียน
๑๐. วิธีการส่งข่าว มีดังต่อไปนี้
๑๐.๑ การนำสาร
๑๐.๒ ไปรษณีย์
๑๐.๓ โทรคมนาคม
๑๐.๓.๑ ทัศนสัญญาณ
๑๐.๓.๒ เสียงสัญญาณ
๑๐.๓.๓ ทางสาย
๑๐.๓.๔ วิทยุ
๑๑. การเลือกวิธีการส่งข่าว การเลือกวิธีการส่งข่าว จะต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้ข่าวถึงผู้รับตามลำดับความเร่งด่วนที่กำหนด และตามความประสงค์ของการรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว ซึ่งมีลำดับความปลอดภัยจากมากไปหาน้อย ดังนี้
๑๑.๑ เจ้าหน้าที่นำสาร
๑๑.๒ ไปรษณีย์ลงทะเบียน
๑๑.๓ วงจรทางสายที่รับรองแล้ว
๑๑.๔ ไปรษณีย์ธรรมดา
๑๑.๕ วงจรทางสายที่ไม่รับรอง
๑๑.๖ ทัศนสัญญาณ
๑๑.๗ สัตว์นำสารที่ฝึกและขึ้นทะเบียนของทางราชการแล้ว
๑๑.๘ เสียงสัญญาณ
๑๑.๙ วิทยุ
๑๒. การรักษาความปลอดภัยในการเตรียมทำข่าว เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมทำข่าว ได้แก่ ผู้ให้ข่าว ผู้เขียนข่าวและผู้อนุมัติข่าว จะต้องปฏิบัติดังนี้
๑๒.๑ ผู้เขียนข่าวต้องเขียนข่าวในกระดาษเขียนข่าวตามตัวอย่างที่แสดงไว้ท้ายระเบียบนี้
๑๒.๒ ข่าวที่จะส่งทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และไม่สามารถส่งโดยวิธีอื่นได้
๑๒.๓ ผู้ให้ข่าวเป็นผู้กำหนดชั้นความลับของข่าว โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ บทที่ ๔ ข้อ ๓๐
๑๒.๔ ผู้ให้ข่าวต้องกำหนดลำดับความเร่งด่วนของข่าวให้เหมาะสมเพื่อส่งถึงผู้รับทันเวลา และตามความจำเป็นของสถานการณ์โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและขีดความสามารถในการส่งข่าว

ไม่มีความคิดเห็น: