วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 7

๙. การดำเนินการ ตาม ๕,๖,๗,๘ให้ถือตามที่ปรากฏในบัญชีคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกของ ก.อุตสาหกรรม
ถ้าผู้เสนอราคาพัสดุอยู่ระหว่างขอ ISO หรือ มอก. หรือการขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้แนบใบรับมาพร้อมกับในเสนอราคา หากพัสดุได้รับการับรองภายใน ๑๐ วัน แต่ต้องก่อนการพิจารณ่าตัดสินของกรรมการ ให้ถือเสมือนว่ารับการรับรองแล้ว
๑๐. ถ้าดำเนินการตาม ๒,๓๕,๖,๗,๘แล้วยังซื้อไม่ได้ ให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่พิจารณารายนั้นแล้วแต่กรณี
๑๑. การซื้อนอกจากที่กล่าวในข้อ ๒,๓,๕,๖,๗,๘ ให้กำหนดเงื่อนไขระบุ แหล่งกำเนิดและประเทศผู้ผลิต ในกรณีผู้เสนอราคามีแหล่งกำเนิดหรือ ผลิต หรือเป็นกิจการของคนไทย เสนอราคาสูงกว่าไม่เกิน ๕% ของผู้เสนอรายต่ำสุด ให้ต่อรองของคนไทย หากต่อรองแล้วสูงไม่เกิน ๓% ให้ซื้อจากรายนี้
๑๒. การเปรียบเทียบราคาให้อยู่ในฐานเดียวกัน คือ ราคารวมภาษี ,ยกเว้นภาษี ,แยกภาษี
๑๓. ราคาที่ซื้อให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในแต่ละวิธีซื้อ เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม ๖,๗,๘,หรือ ๑๑ ( มี มอก. , ISO หรือได้จดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับ ก. อุตสาหกรรมแล้วราคาสูง เรียกมาต่อรอง)
ในกรณีที่พัสดุผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศให้ กวพ.มีอำนาจยกเว้นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในประเทศ และ ในกรณีที่ผู้เสนอราคาที่ ได้ มอก. , ISO ตาม ๕,๖,๗ แต่ละรายถ้ามีลักษณะเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันให้นับเป็นผู้เสนอราคาเป็นหนึ่งรายเท่านั้น
ข้อ ๑๗ ให้ส่วนราชการที่มี่หน้าที่ควบคุมดูแลสนับสนุนให้ทำตามข้อ ๑๖ ( การซื้อการจ้างพัสดุที่ผลิตและเป็นกิจการของคนไทย)
๑. ก.อุตสาหกรรม มีหน้าที่ ดังนี้
๑.๑ พิจารณาคำขอรับใบ มอก. , ขอรับใบทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน และคำขอจดทะเบียนให้เสร็จโดยเร็วและในระหว่างที่ยังพิจารณาไม่เสร็จให้ออกใบรับแก้ผู้ยื่นคำขอเพื่อเป็นหลักฐาน
๑.๒จัดทำคู่มือผู้ซื้อปีละครั้ง และใบแทรกคู่มือ และ บัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผ่านการพิจารณาเดือนละครั้งเผยแพร่เป็นประจำ
๑.๓ ตรวจสอบความจำเป็นพิเศษตามข้อ ๑๖(๔) หากไม่สมควรให้ทักท้วง ถ้าเห็นด้วยให้ตอบรับทราบภายใน ๑๐ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
๒. สตง.มีหน้าที่สอดส่องไม่ให้มีการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อ ๑๖ หากพบว่าหลีกเลี่ยงให้รายงานตามลำดับชั้นเอาผิดทางวินัย แล้วแจ้งให้ผู้รักษาการตามระเบียบ(ปลัด ก.คลัง)ทราบ
วิธีซื้อและวิธีจ้าง
ข้อ ๑๘ การซื้อหรือการจ้างทำได้ ๕ วิธีคือ
๑. วิธีตกลงราคาคือการซื้อหรือจ้างมี ราคาไม่เกิน ๑ แสนบาท ข้อ ๑๙
๒. วิธีสอบราคา คือการซื้อหรือจ้างมี ราคาเกิน ๑ แสนบาท แต่ไม่เกิน ๒ ล้านบาท ข้อ ๒๐
๓. วิธีประกวดราคาคือการซื้อหรือการจ้างมี ราคาซื้อครั้งหนึ่ง เกิน ๒ ล้านบาท ข้อ ๒๑
๔. วิธีพิเศษ การซื้อครั้งหนึ่งเกิน ๑ แสนบาท และให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด
๕. วิธี กรณีพิเศษ
๖. วิธีประมูลด้วยระบบเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

ไม่มีความคิดเห็น: