วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 10

หมวด ๖ การส่งสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๒๗ การส่งสำนวนและผู้ต้องหาให้อัยการ.............. เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นลง ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้..............
(๑) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไปส่วนผู้ต้องหานั้น ถ้าได้มอบตัวให้ผู้บังคับบัญชารับไปควบคุมไว้ก่อนแล้วตามข้อ ๑๖ ก็อาจไม่ต้องขอรับตัวมาดำเนินการอีก แต่ให้บันทึกและแจ้งให้อัยการทหารทราบว่าได้มอบตัวผู้ต้องหาให้ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรับตัวไปแล้วตั้งแต่เมื่อใด..............
(๒) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งตัวทหารผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป การส่งตัวทหารผู้ต้องหาที่อยู่ในการควบคุมของผู้บังคับบัญชา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อส่งตัวทหารผู้นั้นมายังพนักงานสอบสวนตามสถานที่และเวลาที่กำหนดเพื่อส่งให้พนักงานอัยการพร้อมกับสำนวน.............. ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งฟ้องไม่ทันในวันนั้น หากมิได้มีการสั่งให้ปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานอัยการมอบตัวผู้ต้องหาให้อยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนสำหรับในกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ฝากตัวผู้ต้องหาให้เรือนจำควบคุมไว้

ข้อ ๒๘ การส่งสำนวนให้อัยการทหาร.............. ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารต่อไปในกรณีดังต่อไปนี้..............
(๑) คดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้และเปรียบเทียบเสร็จแล้วหรือทหารผู้ต้องหาไม่ยอมให้เปรียบเทียบตามข้อ ๒๔ วรรคสอง..............
(๒) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและยังจับตัวทหารผู้ต้องหาไม่ได้..............
(๓) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและจับตัวทหารผู้ต้องหาได้แต่หลักฐานไม่พอฟ้องหรือพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง.............. ..............
(๔) กรณีมีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของฝ่ายทหารซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่..............
(๕) กรณีที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีทหารตามที่ฝ่ายทหารร้องขอตามข้อ ๒๒ วรรคสอง เสร็จสิ้นแล้ว.............. ในกรณีที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับคดีที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพเมื่อพนักงานสอบสวนชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสร็จแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนฝ่ายทหารตามที่ได้รับการร้องขอ

ข้อ ๒๙ การแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน.............. ในคดีอาญาซึ่งทหารเป็นผู้ต้องหาและอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน ดังนี้..............
(๑) เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ให้หัวหน้าพนักงานสอนสวนหรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้องแจ้งความเห็นทางคดีชั้นสอบสวนไปยังฝ่ายทหาร..............
(๒) เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องหรือมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังฝ่ายทหาร..............
(๓) เมื่อศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาประการใด ให้พนักงานอัยการแจ้งคำพิพากษาของทุกชั้นศาลไปยังฝ่ายทหาร..............
(๔) ในกรณีที่ทหารผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและฝ่ายทหารที่ได้รับแจ้งต้องการที่จะรับตัวทหารผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อพ้นโทษให้แจ้งการอายัดตัวให้ผู้บัญชาการเรือนจำที่ทหารผู้กระทำผิดนั้นต้องคุมขังอยู่ได้ทราบ และให้ผู้บัญชาการเรือนจำแจ้งให้ฝ่ายทหารที่แจ้งการอายัดตัวทราบเมื่อใกล้กำหนดวันเวลาที่จะปล่อยตัวไป..............
(๕) เมื่อจะมีการปล่อยตัวทหารผู้กระทำความผิด หากมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมารับตัว ก็ให้มอบตัวไป แต่ถ้าไม่มีก็ให้ผู้ที่มีอำนาจสั่งปล่อยหรือพนักงานอัยการในกรณีที่ศาบยุติธรรมเป็นผู้สั่งปล่อย แจ้งให้ทหารผู้นั้นไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด..............
(๖) ถ้าทหารผู้นั้น ต้องหาในคดีอื่นซึ่งจะต้องนำตัวไปฟ้องยังศาลทหารอีกด้วย หรือผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารต้องการตัว ให้ฝ่ายทหารมีหนังสืออายัดตัวไว้กับพนักงานสอบสวน และให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนการสอบสวนว่าทางทหารยังต้องการตัว และให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารติดต่อกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อรับตัวทหารนั้นไป

ข้อ ๓๐ การดำเนินคดีกับบุคคลบางประเภท.............. การดำเนินคดีอาญากับบุคคลบางประเภท ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้..............
(๑) ในกรณีที่ทหารผู้ต้องหาว่ากระทำผิดคดีอาญาและอยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการไปตามกฎหมายนั้นทุกประการ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหานั้นทราบ ..............
(๒) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นพลเรือนในสังกัดราชการทหาร แต่การกระทำผิดคดีอาญาเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาสถานที่ราชการทหาร ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๖ มาใช้โดยอนุโลม..............
(๓) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นอาสาสมัครทหารพรานที่อยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการทหาร และการกระทำความผิดคดีอาญาเกิดในขณะที่บุคคลนั้นยังสังกัดอยู่ในหน่วยอาสาสมัครทหารพราน ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๒๓ มาใช้โดยอนุโลม

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔
พันตำรวจโท ทักษิณ.... ชินวัตร
( ทักษิณ ...ชินวัตร )
นายกรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: