วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 4

ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ
ข้อ ๑๑ ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ประกอบด้วย ปลัด ก.คลัง เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมบัญชีกลาง , ผู้แทน กห. , ผู้แทน สตง. , ผู้แทน สนง.อัยการสูงสุด , ผู้แทนสำนักงบประมาณ , ผู้แทน สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา , ผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ช. , ผู้แทน สนง.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, ผู้แทน สนง.บริหารหนี้สาธารณะ , ผู้แทน สนง.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ นายก ฯ แต่งตั้งไม่เกิน ๕ คน เป็นกรรมการ และ ให้ จนท.กรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้ กวพ.แต่งตั้ง ผช.เลขานุการไม่เกิน ๒ คน (รวมประธาน ๑ กรรมการไม่เกิน ๑๘ คน(รวมเลขาแล้ว)ผช.เลขา ๒ คนรวมทั้งหมดไม่เกิน ๒๑ คน)
ผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ ๒ ปี และสามารถได้รับการแต่งตั้งได้อีก
ข้อ ๑๒ กวพ. มีอำนาจหน้าที่ ๑๕ ข้อ ดังนี้
๑ ตีความและวินิจฉัย ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ
๒ พิจารณาการอนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
๓ พิจารณาคำร้องเรียนเกี่ยวกับการที่ส่วนราชการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
๔ เสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงระเบียบต่อ คณะ รมต.
๕ กำหนดแบบหรือตัวอย่างรวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงและกำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ
๖ เสนอความเห็นต่อผู้รักษาการตามระเบียบ(ปลัด ก.คลัง)ในการพิจารณาและแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานและการสั่งเปลี่ยนแปลงเพิกถอนผู้ทิ้งงานของส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ
๗ กำหนดอัตราร้อยละของราคาตามข้อ ๑๖(๖,๗,๘,๑๑) คือ%ของราคาของซื้อที่เกินงบประมาณ
๘ กำหนดประเภทของพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากต่างประเทศตามข้อ ๖๘
๙ เชิญข้าราชการและลูกจ้างหรือบุคคล, ส่วนราชการท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริง
๑๐ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
๑๑ พิจารณาดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรมอบหมาย
๑๒ พิจารณารายงานจ้างตามข้อ ๘๓ วรรค ๒
๑๓ กำหนดอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๙๒
๑๔ กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าปรับตามข้อ ๑๓๔
๑๕ กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติเพื่อให้มีการปฏิบัติตามระเบียบนี้

สรุป หมวดที่ ๑ มี ๔ ส่วน มีระเบียบอยู่ ๑๒ ข้อ

ไม่มีความคิดเห็น: