วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบสำนักนายก ฯ ว่าด้วยการพัสดุ 35 ตอน 3

ส่วนที่ ๒ การใช้บังคับและการมอบอำนาจ
ข้อ ๖ ระเบียบนี้ใช้แก่ส่วนราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้และเงินช่วยเหลือ
ข้อ ๗ สำหรับ กห. จะกำหนดให้ส่วนราชการระดับใด ผบ.ชา ระดับใด ตำแหน่งใด ดำเนินการตามระเบียบนี้ แล้วแต่ กห.จะกำหนด แล้วแจ้งให้ ปลัด ก. คลัง และ สตง.ทราบด้วย
ข้อ ๘ สำหรับส่วนราชการที่ หน.ส่วน ฯ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงใด ให้ หน.ส่วน ฯ นั้น ๆ มีอำนาจในการดำเนินการตามระเบียบนี้เท่ากับหน.ส่วนราชการ ส่วนอำนาจที่เกินกว่านั้นให้ ผบ.ชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้พิจารณา
ข้อ ๙ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยคำนึงถึง ระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบเป็นสำคัญ และเมื่อผู้รับมอบอำนาจได้รับมอบอำนาจแล้วจะมอบอำนาจต่อผู้อื่นอีกไม่ได้ เว้นแต่
๑. การมอบอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผวจ. จะมอบอำนาจต่อไปได้ในกรณีดังนี้
๑.๑ มอบให้แก่ รอง ผวจ. , ปลัดจังหวัด , หรือ หน.ส่วนราชการประจำจังหวัด แล้วให้ ผวจ.แจ้งให้ผู้มอบอำนาจชั้นต้น (หน.ส่วนราชการ) ทราบด้วย
๑.๒ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นๆ นอกจากข้อ ๑.๑ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจชั้นต้นแล้ว ( หน.ส่วนราชการเห็นชอบ)
๒. การมอบอำนาจและ การมอบอำนาจต่อตามระเบียบ กห. เพื่อความคล่องตัวในการจัดหาให้
หน.ส่วนฯมอบอำนาจในการสั่งการและดำเนินการจัดหาให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไปตามลำดับ
สำหรับโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ผู้มีอำนาจตามระเบียบ ( หน.ส่วนฯ) จะแต่งตั้งข้าราชการคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการโครงการและรับผิดชอบโครงการเป็นการ เฉพาะก็ได้ โดยผู้มอบ(หน.ส่วน ฯ)ต้องส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้ สตง และ สตง. ภูมิภาค ทราบทุกครั้ง
ส่วนที่ ๓ บทกำหนดโทษ
ข้อ ๑๐ ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการใดโดย จงใจหรือประมาท เงินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือ กระทำการโดย มีเจตนาทุจริต , ไม่มีอำนาจ ,นอกเหนืออำนาจ รวมทั้งพฤติกรรมเอื้อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคา ให้มีการ ขัดขวางการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการหรือตามกฎหมายเฉพาะของส่วนราชการนั้น ๆ มีโทษดังนี้
๑. ถ้ามีเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้ราชการเสียหายร้ายแรงโทษอย่างต่ำ ปลดออกจากราชการ
๒. เป็นเหตุให้ราชการเสียหายแต่ไม่ร้ายแรง โทษ อย่างต่ำตัดเงินเดือน
๓. ไม่เป็นเหตุให้ราชการเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือนโดยทำเป็นลายลักษณ์อักษร
การลงโทษตามข้อ ๑,๒ ไม่เห็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดพ้นความผิดในทางแพ่งและอาญา(ถ้ามี)

ไม่มีความคิดเห็น: