วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบสำนักนายก ฯ ทหารกระทำความผิด ตอน 8

หมวด ๕ การสอบสวน
ข้อ ๒๒ การสอบสวนคดีทหาร ฝ่ายทหารจะทำการสอบสวนการกระทำความผิดของทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้..............
(๑) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร..............
(๒) คดีที่ผู้กระทำผิดและผู้เสียหายต่างอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยกันตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเขตที่ตั้งทหารหรือไม่ก็ตาม..............
(๓) คดีอาญาทีเกี่ยวด้วยวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร..............
(๔) คดีอาญาที่เกี่ยวด้วยความลับของทางราชการทหาร ในกรณีที่ฝ่ายทหารร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน โดยลำพังหรือร่วมกับฝ่ายทหารหรือช่วยดำเนินการอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานเช่น การสืบสวน การค้นหรือการจับกุม ให้พนักงานสอบสวนให้ความร่วมมือตามที่ฝ่ายทหารร้องขอคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้ก่อนแล้ว หรือได้ประสบเหตุและมีความจำเป็นต้องสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ ถ้าฝ่ายทหารขอรับตัวทหารผู้ต้องหาไปดำเนินการ ให้มอบตัวและสำนวนการสอบสวนให้ไป แต่ถ้าฝ่ายทหารไม่มารับตัวและไม่แจ้งข้อขัดข้องให้ทราบ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปได้จนเสร็จสิ้น

ข้อ ๒๓ การสอบสวนคดีอาญาในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบ แล้วดำเนินการสอบสวนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ต้องหาทราบ ดังนี้..............
(๑) สิทธิที่จะขอประกันตัวตามมาตรา ๒๓๙..............
(๒) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙..............
(๓) สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควรในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙..............
(๔) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรมตามมาตรา ๒๔๑..............
(๕) สิทธิที่จะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เช่น นายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตร เข้าฟังการสอบปากคำของตนได้ตามมาตรา ๒๔๑..............
(๖) สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วตามมาตรา ๒๔๑..............
(๗) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายตามมาตรา ๒๔๒..............
(๘) สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญาตามมาตรา๒๔๓.............. (๙) สิทธิที่จะได้รับการเตือนว่าถ้อยคำซึ่งเกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ถูกทรมาน ใช้กำลังบังคับหรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา ๒๔๓ ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าทหารผู้ต้องหาได้กระทำหรือจะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหารหรือกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารด้วย ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหาอาจส่งนายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรอื่นใดเข้าฟังการสอบปากคำทหารผู้ต้องหาก็ได้ให้นำข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ มาใช้กับการควบคุมตัวและการปล่อยชั่วคราวทหารผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงกำหนดเวลาควบคุมตัวตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาด้วย ในกรณีที่ฝ่ายทหารเห็นว่าการสอบสวนล่าช้า จะขอให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดหรือชี้แจงเหตุผลก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: