วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การขอพระราชทานเครื่องราชอันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

การขอพระราชทานเครื่องราชอันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณา
ภรณ์
การขอพระราชทานเครื่องราชอันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์็ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
- กระทำความดีความชอบที่มีผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ศาสนา และประชาชน โดยมีผลงานดีเด่น เป็นแบบอย่างอันควรแก่การสรรเสริญ หรือเป็นการกระทำที่ฝ่าอันตราย หรือเสี่ยงอันตราย อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม
- กระทำความดีความชอบที่เป็นการบริจาคทรัพย์สิน เพื่อสาธารณประโยชน์ (บริจาคในนามตนเอง และทรัพย์สินดังกล่าว ไม่เคยเสนอขอพระราชทานฯ ตามกฎหมายอื่น)




วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์





วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การจำหน่ายพัสดุ ตามระเบียบฯ

การจำหน่ายพัสดุ
ข้อ ๑๕๗ หลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใดหมดความจำเป็น หรือ ถ้าใช้ราชการต่อไปเปลืองค่าใช้จ่ายมากให้ จนท.พัสดุ เสนอรายงานต่อ หน.ส่วน ฯ เพื่อสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการต่อไปนี้


๑ ขาย ให้ขายโดยวิธีขายทอดตลอดก่อน ถ้าไม่ได้ผลให้ใช้วิธีการซื้อมาใช้โดยอนุโลม ยกเว้นการขายพัสดุที่มีราคาที่ได้รวมกันไม่เกิน ๑ แสนบาทจะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องขายทอดตลาดก่อนก็ได้
๒ การแลกเปลี่ยน ให้ทำตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดในระเบียบ
๓ โอน ให้โอนแก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสถานสาธารณกุศล และให้มีหลักฐานการมอบไว้ต่อกันด้วย
๔ แปรสภาพหรือทำลาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันสั่งการ สำหรับราชการส่วนภูมิภาคต้องได้รับความเห็นชอบจาก หน.ส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณก่อน
ข้อ ๑๕๘ เงินที่ได้จากการจำหน่ายให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือข้อตกลงที่ใช้เงินกู้,ช่วยเหลือ

การจำหน่ายเป็นสูญ
ข้อ ๑๕๙ กรณีพัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดหรือมีแต่ไม่สามารถชดใช้ได้ หรือมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สมควรดำเนินการ ขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ ได้ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
๑ เป็นพัสดุที่มีราคาได้มารวมกันไม่เกิน ๕ แสนบาทให้ หน.ส่วน ฯ เป็นผู้อนุมัติ
๒ เป็นพัสดุที่ราคาได้มารวมกันเกิน ๕ แสนบาท ก.การคลังหรือส่วนราชการที่ ก.การคลังมอบหมาย เป็นผู้อนุมัติ

การลงจ่ายออกจากบัญชี
ข้อ ๑๖๐ เมื่อได้ดำเนินการ ขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพแล้ว ให้ จนท.พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชี
หรือทะเบียน ทันที แล้ว แจ้งให้ สตง. ทราบภายใน ๓๐ วัน และเมื่อดำเนินการ จำหน่ายพัสดุเป็นสูญแล้ว
ให้ จนท.พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียน ทันที แล้วแจ้งให้ ก.การคลัง หรือส่วนราชการที่ ก.การคลังมอบหมาย และ สตง. ทราบภายใน ๓๐ วัน

ข้อ ๑๖๑ กรณีพัสดุเกิดการชำรุด เสื่อมสภาพ สูญไป หมดความจำเป็น ก่อนการตรวจสอบประจำปี และได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแล้ว ถ้าไม่มีระเบียบใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ดำเนินการตามข้อ


๑๕๗ ๑๕๘ , ๑๕๙ และ ๑๖๐ (การจำหน่ายพัสดุ การจำหน่ายเป็นสูญ การลงจ่ายออกจากบัญชี)โดยอนุโลม
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล

ข้อ ๑๖๒ ในระหว่าที่ยังไม่ได้ตั้งศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา ไม่ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาใช้กับการการจ้างที่ปรึกษา ให้อนุโลมใช้วิธีดำเนินการหารายชื่อที่ปรึกษาไทยตามวิธีที่ใช้สำหรับที่ปรึกษาต่างประเทศ

ข้อ๑๖๓ รายชื่อผู้ทิ้งงานก่อนระเบียบนี้ให้ถือเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบนี้ สำหรับการพิจารณาลงโทษผู้ได้รับคัดเลือกแล้วไม่ยอมทำสัญญาหรือไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันควร พฤติการณ์เกิดก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้พิจารณาสั่งการตามระเบียบเดิม

ข้อ ๑๖๔ การพัสดุใดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและยังไม่เสร็จ ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ทำตามระเบียบเดิม จนกว่าจะแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะดำเนินการตามระเบียบนี้ได้

ข้อ ๑๖๕ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แก้ไขยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
(ลงชื่อ) อานันท์ ปันยารชุน
(นายอานันท์ ปันยารชุน)
นายกรัฐมนตรี

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศ พ.ศ. ๒๕๒๘

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศ พ.ศ. ๒๕๒๘


๑. กองทหารเกียรติยศจัดสำหรับ
๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒. สมเด็จพระบรมราชินี
๓. สมเด็จพระบรมราชชนนี ๔. รัชทายาท
๕. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ๖. นายกรัฐมนตรี
๗. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๘. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชากาทหารอากาศ
๙.ประมุขของรัฐต่างประเทศ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ แลแขกผู้มีเกียรติของรัฐบาล
๑๐. พระบรมราชานุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์ผู้ประกอบคุณความดี แก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง
๑๑. ศพทหารซึ่งเสียชีวิตในขณะประจำการ
๑๒. ธงชัยเฉลิมพล
๒. กองทหารเกียรติยศสำหรับบุคคลตามความใน ๑ ถึง ๑๐ ให้จัดกำลัง ๑ กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
๓. สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี รัชทายาทและประมุขรัฐต่างประเทศ ให้มีธงชันเฉลิมพลประจำกองทหารเกียรติยศด้วย
๔. สำหรับศพนายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศ ขึ้นไปให้จัด ๑ กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง(ถ้ามี)
๕. สำหรับศพนายทหารชั้นนายร้อย นายเรือ หรือนายเรืออากาศ ขึ้นไปให้จัด กำลัง กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว

เครื่องมือยกขนพัสดุ

 เครื่องมือยกขน

ข้อ ๑ เครื่องมือยกขน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเคลื่อนย้ายพัสดุ ทำให้ประหยัด แรงงาน เวลาและค่าใช้จ่าย
ข้อ ๒ การยกขนคือ การเคลื่อนย้ายเข้าสู่ที่เก็บและยกขึ้นบรรทุกยานพาหนะ หรือยกลง
ข้อ ๓ ประเภทของเครื่องมือยกขนแบ่งได้ ๒ วิธี คือ

๑ แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ มี ๓ ชนิด คือ

๑ ชนิดเคลื่อนที่ คือ ยกขนได้ไกล เช่น รถยนต์

๒ ชนิดกึ่งเคลื่อนที ยกได้ขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่ ได้แก่ รถปั้นจั่น รางเลื่อน และ

๓ ชนิดอยู่กับที่ คือ สร้างติดกับที่ เช่น ลิฟท์
๒ แบ่งตามลักษณะเครื่องกำเนิดกำลัง มี ๓ ชนิด คือ กำลังพายใน กำลังภายนอก และอาศัยแรงดึงดูด เช่นลางเลื่อน



ข้อ ๔ การเลือกใช้เครื่องมือยกขน มี ๔ แบบ คือ
๑ เลือกใช้โดยยึดถือพันธกิจหลัก เช่น ลางเลื่อน
๒ เลือกประเภทมีกำลังในตัว คือ ปั้นจั่น, รถพ่วง ,รถยกของ ใช้ระยะไม่เกิน ๔๐๐ ฟุต รถลากจูงประกอบรถพ่วง
๓ เลือกที่ใช้มือ คือ รถเข็น ๒ , ๔ ล้อ
๔ เลือกตามลักษณะพื้นผิวการเก็บรักษาคือ การรับน้ำหนัก โครงสร้าง ผิวพื้น ประโยชน์ ประเภทและลักษณะ

ข้อ ๕ หลักการใช้เครื่องมือยกขน คือพิจารณาให้เกิดประโยชน์และประหยัด ที่สุดมีแนวทางการใช้คือ
๑ ยกขนให้น้อยที่สุด

๒ ใช้วิธีการและเครื่องช่วยมาตรฐาน

๓ ใช้เครื่องยกขนที่ใช้ได้หลายทาง
๔ ใช้เครื่องมือพิเศษให้น้อยที่สุด

๕ เอาปริมาณเป็นตัวกำหนดวิธียกขน ๖ วางแผนล่วงหน้า
๗ระยะทางและจำนวนครั้งให้น้อยที่สุด ๘ ใช้เครื่องมือตามขีดความสามารถ ๙ วิเคราะห์หาและกำหนดวิธีการใช้
๑๐ ยกขนให้เต็มความสามารถ ๑๑ ใช้เครื่องช่วยให้เหมาะแก่พัสดุ ๑๒ ยกขนเป็นเส้นตรง ๑๓ ปฏิบัติตามแผน
๑๔ ใช้เครื่องมือที่ใช้มือให้มากที่สุด และ ๑๔ พยายามให้เคลื่อนที่ใน ทางราบให้มากที่สุด
ข้อ ๖ เครื่องมือยกขนทีใช้ในคลัง มี ๓ ชนิดคือ
๑ รถเข็นด้วยมือ ๒ รถฉุดและรถพ่วง ๓ รถโฟคลิฟ ขนาด ๔พันปอนด์ใช้ช่องทาง ๑๐ ฟุต ๖ พันใช้ ๑๑ ฟุต
ข้อ ๗ ประโยชน์ ของรถโฟคลิฟ คือ ขนย้ายของที่มีน้ำหนักหรือขนาดรูปร่างต่างกัน ดีกว่าใช้แรงคน ทำการซ้อนสูงได้ป้องกันความเสียหายพัสดุให้น้อยลง ทุ่นเวลาและลดค่าใช้จ่าย แต่ผู้ใช้ต้องชำนาญ และพื้นที่ต้องเรียบ และแข็งแรงพอ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์



ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
พ.ศ. ๒๕๔๑ 

         
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซึ่งใช้แก่บุคคลทั่วไปที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
          ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๑"
          ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑ เป็นต้นไป
          ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๓๖
          บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ระเบียบนี้กำหนดให้ใช้แก่บุคคลทั่วไป ส่วนการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ให้เป็นไปตามราชนิยม
          ข้อ ๕ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาในทางปฏิบัติตามระเบียบนี้ หากไม่ได้ข้อยุติ ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย คำวินิจฉัยของนายกรัฐมนตรี ให้ถือเป็นที่สุด
หมวด
บททั่วไป

         
ข้อ ๖ ตามระเบียบนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ความหมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยและเหรียญ
ราชอิสริยาภรณ์ไทย เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
          ข้อ ๗ สิทธิของบุคคลในการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเภท ตระกูล และชั้นตราใด ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น
          ข้อ ๘ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับตามที่หมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุไว้โดยให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยและที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
          ข้อ ๙ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่บุรุษ แบ่งตามชนิดและลักษณะของการประดับ
โดยเรียงตามประเภท ตระกูล และชั้นตราสูงสุด ตามลำดับดังนี้
     ก. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (มีสายสร้อย)
                (
๒) เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายหน้า
       (
มีสายสร้อย)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ฝ่ายหน้า
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๑ ชนิดที่ ๑
              (
ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ/มีสายสร้อย)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๑ ชนิดที่ ๒ (ปฐมจุลจอมเกล้า/มี      สายสร้อย)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๑ (เสนางคะบดี)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด (มหาวชิรมงกุฎ)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์ช้างเผือก)
                (๑๐) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๑๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๑ (ปฐมดิเรกคุณาภรณ์)
     ข. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๒ ชนิดที่ ๑ (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๒ (มหาโยธิน)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๒ (ทุติยดิเรกคุณาภรณ์)
      ค. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอไม่มีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๒ ชนิดที่ ๒ (ทุติยจุลจอมเกล้า)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๓ (โยธิน)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๓
              (
ตติยดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
     ง. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อ
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๓ ชนิดที่ ๑
              (
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๔ (อัศวิน)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๓ ชนิดที่ ๒ (ตติยจุลจอมเกล้า)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๔
              (
จตุตถดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๓ ชนิดที่ ๓ (ตติยานุจุลจอมเกล้า)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๑๐) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๕
             (
เบญจมดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๑๑) เหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ
          ข้อ ๑๐ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่สตรี แบ่งตามชนิดและลักษณะของการประดับ
โดยเรียงตามประเภท ตระกูล และชั้นตราสูงสุด ตามลำดับ ดังนี้
          ก. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (มีสายสร้อย)
                (
๒) เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายใน
              (
มีสายสร้อย)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ฝ่ายใน
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๑ (ปฐมจุลจอมเกล้า)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด (มหาวชิรมงกุฎ)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๑
              (
ปฐมดิเรกคุณาภรณ์)
                ข. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายไม่มีดารา ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้นที่ ๒  ชนิดที่ ๑ (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)
              ค. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๒
             (
ทุติยดิเรกคุณาภรณ์)
           ง. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอไม่มีดารา ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
                จ. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อไม่มีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๒ ชนิดที่ ๒ (ทุติยจุลจอมเกล้า)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๓
              (
ตติยดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๓ (ตติยจุลจอมเกล้า)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๔
              (
จตุตถดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๔ (จตุตถจุลจอมเกล้า)
                (
๑๐) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๑๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๑๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๕
             (
เบญจมดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๑๓) เหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

         
ข้อ ๑๑ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ได้รับพระราชทานเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานมิให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นก่อนกำหนดเวลาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทาน
               หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานแล้ว แต่ไม่สามรถเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานได้จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้นับตั้งแต่ผ่านพ้นพิธีพระราชทานแล้ว เว้นแต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสต่อไป จึงให้นำความในวรรคแรกมาใช้บังคับโดยอนุโลม
               หากมีความจำเป็นไม่สามารถรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวันพิธีพระราชทานได้ในกรณีใดก็ตาม จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้ นับตั้งแต่สุดพิธีพระราชทาน
               (๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่น ๆ ให้ประดับได้ตั้งแต่วันเนื่องในโอกาสพระราชทานหรือ ตั้งแต่วันที่มีประกาศของทางราชการแล้วแต่กรณี
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบเต็มยศ

         
ข้อ ๑๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อและชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อเครื่องแบบให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) บุรุษ ให้ประดับไว้เหนือปกกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้ายต่ำกว่าแนวรังดุมเม็ดที่หนึ่งลงมา โดยให้ดวงตราอยู่ระหว่างขอบบนปกกระเป๋าเสื้อพองามและให้เรียงลำดับเกียรติจากด้านรังดุมไปทางเบื้องซ้าย
               (
๒) สตรี ให้ประดับไว้ที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้ายพองาม โดยให้เรียงลำดับเกียรติจากด้านรังดุมลดหลั่นไปปลายบ่าซ้าย
          ข้อ ๑๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอไม่มีดารา ให้คล้องไว้ในปกเสื้อโดยให้ห่วงและแพรแถบห้อยดวงตราออกมานอกเสื้อระหว่างตะขอตัวล่างที่ขอบคอเสื้อกับกระดุมเม็ดที่หนึ่งพองามและให้ส่วนสูงสุดของดวงตราจรดขอบล่างของคอเสื้อ หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมากกว่า ๒ ดวง เพื่อความเรียบร้อยสวยงามควรประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทานเพียง ๒ ดวง โดยประทับดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สอง ให้แพรแถบลอดออกมาระหว่างกระดุมเม็ดที่สอง กับขอบล่างของรังดุมพองาม

          ข้อ ๑๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดาราและชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อมีดาราให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) บุรุษ การประดับดวงตราให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑๓ ส่วนดาราให้ประดับไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายระดับใต้ชายปกกระเป๋า
                    
กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดารามากกว่า ๑ ดวง เพื่อความเรียบร้อยสวยงามควรประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตราเดียวกับดวงตราที่คล้องคอเพียง ๒ ดวง โดยให้ประดับดาราในลำดับเกียรติที่สูงกว่าตามวรรคหนึ่งส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองให้ประดับในระดับต่ำกว่าหรือเยื้องไปเบื้องซ้ายพองาม
               (
๒) สตรี การประดับดวงตราให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑๒ (๒) ส่วนดาราให้ประดับไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายโดยเทียบเคียงในตำแหน่งและระดับเดียวกับบุรุษ
                    
กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อมีดารา ๒ ดวง ให้ประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตราเดียวกับที่ประดับหน้าบ่าเสื้อ โดยให้ประดับดาราตาม (๑) วรรคสองหากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวมากกว่า ๒ ดวง ให้ประดับดาราตามข้อ ๑๕ (๒) หรือข้อ ๑๕ (๓) แล้วแต่กรณี
          * เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กำหนดให้ประดับดาราไว้ที่อกเสื้อเบื้องขวาให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับ
          ข้อ ๑๕ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพาย ให้สวมสายสะพายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ๆส่วนการประดับดาราให้ยึดแนวรังดุมเป็นหลัก โดยให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ใกล้แนวรังดุม ส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติรองลงไป ให้ประดับต่ำกว่าหรือเยื้องไปเบื้องซ้ายของลำตัวลดหลั่นกันไป โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
                 (๑) กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีดาราไม่เกิน ๒ ดวง ให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายใต้ชายปกกระเป๋าและให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองในระดับต่ำกว่าหรือเยื้องไปเบื้องซ้ายพองาม
                 (
๒) กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีดารา ๓ ดวง ให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายใต้ชายกระเป๋า ส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองให้ประดับในระดับต่ำกว่าดาราดวงแรกเยื้องไปใกล้แนวรังดุมและดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สามให้ประดับในแนวระดับเดียวกับดาราดวงที่สองเยื้องไปทางซ้ายโดยให้มีระยะห่างกันพองาม
                 (
๓) กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีดารา ๔ ดวง หรือมากกว่า อาจพิจารณาประดับเพียง ๔ ดวง ตามความเหมาะสม โดยประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายใต้ชายปกกระเป๋า ดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองให้ประดับในระดับต่ำกว่าดาราดวงแรกเยื้องไปใกล้แนวรังดุม ส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สามให้ประดับในแนวระดับเดียวกับดาราดวงที่สองเยื้องไปทางซ้าย และดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สี่ ให้ประดับไว้เบื้องล่างสุดตรงกับดาราดวงแรก
โดยมีระยะห่างจากดาราดวงที่สองและดวงที่สามพองาม
                    
การประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายร่วมกับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชนิดคล้องคอหรือชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อ ให้นำความในข้อ ๑๔ มาใช้บังคับ
          ข้อ ๑๖ กรณีหมายกำหนดการระบุชนิดของสายสะพาย ให้สวมสายสะพายตามที่หมายกำหนดการระบุ โดยประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของแต่ละตระกูลที่ได้รับพระราชทานตามลำดับ
           ผู้ที่มิได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่หมายกำหนดการระบุไว้ ให้สวมสายสะพายชั้นสูงสุดหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน ส่วนการประดับดาราให้นำความตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับ
          ข้อ ๑๗ กรณีหมายกำหนดการมิได้ระบุชนิดของสายสะพาย ให้สวมสายสะพายที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานหากมิได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน
          ข้อ ๑๘ การประดับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ แม้จะสวมสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใดก็ตาม ต้องสวมสายสร้อยห้อยตรามหาจักรีกับประดับดาราจักรีด้วยทุกครั้ง
          ข้อ ๑๙ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ให้สวมสายสะพายเฉพาะงานที่เป็นมงคล หรือในงานที่หมายกำหนดการระบุไว้ หากไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ให้นำความใน
               
ข้อ ๑๖ วรรคสอง มาใช้บังคับ
          ข้อ ๒๐ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษหรือปฐมจุลจอมเกล้า ให้สวมสายสร้อยพร้อมดวงตราหรือสายสะพายพร้อมดวงตราอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่หมายกำหนดการระบุไว้ หากจะสวมสายสร้อยจุลจอมเกล้าร่วมกับการสวมสายสะพายให้สวมสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดอื่นที่ได้รับพระราชทาน
          กรณีหมายกำหนดการระบุให้สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า หากไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้าพิเศษ หรือปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ให้สวมสายสะพายที่มีลำดับเกียรติสูงสุดอื่นที่ได้รับพระราชทาน และหากไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน
          ข้อ ๒๑ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ควรสวมสายสะพายรามาธิบดีเฉพาะงานที่เกี่ยวกับราชการทหาร ซึ่งมีหมายกำหนดการระบุไว้โดยเฉพาะว่าให้สวมสายสะพายรามาธิบดี
          ข้อ ๒๒ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือกำหนดไว้
          กรณีสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษให้คล้องแพรแถบไว้ใต้ปกเสื้อเชิ้ตตัวในโดยให้ห่วงและแพรแถบห้อยดวงตราทับอยู่บนผ้าผูกคอ
          ข้อ ๒๓ กรณีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งกาย ด้วยเครื่องแบบเต็มยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประเภทหรือตระกูลใดก็ตาม หากผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะ ให้แต่งกาย ดังนี้
                (๑) บุรุษ แต่งเครื่องแบบขอเฝ้า (เต็มยศ)
                (
๒) สตรี แต่งชุดไทย
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบครึ่งยศ

         
ข้อ ๒๔ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบครึ่งยศ ให้ประดับเช่นเดียวกับการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบเต็มยศส่วนผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายให้ประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ไม่สวมสายสะพายและไม่สวมสายสร้อย เว้นแต่ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังต่อไปนี้
               (๑) เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายใน
               (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ฝ่ายใน
               (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๑ ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน
               (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๒ ทุติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน
         
ไม่ต้องประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว แต่ให้นำดวงตราห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอประดับที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้าย
         
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ จะประดับแต่งกายครึ่งยศเฉพาะงานที่เป็นมงคลเท่านั้น
         
กรณีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะ ให้นำความในข้อ ๒๓ มาใช้บังคับ
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบปกติขาว

         
ข้อ ๒๕ ให้ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้ายโดยไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เว้นแต่กำหนดนัดหมายของทางราชการระบุไว้เป็นอย่างอื่น
          กรณีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งกายเครื่องแบบปกติขาวประดับเหรียญให้ประดับเฉพาะเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานและเหรียญที่ระลึกโดยไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานและแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
          กรณีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว หากผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะให้แต่งกาย  ดังนี้
            (๑) บุรุษ เครื่องแบบขอเฝ้า (ปกติขาว)
            (
๒) สตรี ชุดไทย ไม่ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามความในวรรคหนึ่ง
หมวด
การประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติงาน

         
ข้อ ๒๖ การประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติงานของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทยและหน่วยงานต่างๆ ให้นำความในข้อ ๒๕ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบสโมสร

         
ข้อ ๒๗ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อสำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วนตามขนาดที่ทางราชการกำหนดที่ปกเสื้อเบื้องซ้ายของเสื้อชั้นนอก ใต้เครื่องหมายสังกัดพองามหากไม่มีเครื่องหมายสังกัด ให้ประดับที่ปกเสื้อพองาม
               (
๒) การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดาราสำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานโดยไม่ย่อส่วน หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอหรือชนิดคล้องคอมีดาราหลายดวง ให้ประดับเฉพาะเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดเท่านั้น โดยคล้องดวงตรา ให้แพรแถบอยู่ใต้ผ้าผูกคอ ส่วนดาราให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้านนอก
               (
๓) การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดสายสะพายสำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานโดยให้นำความในหมวด ๓ ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบเต็มยศ ข้อ ๑๕ ถึง ข้อ ๒๑ มาใช้บังคับ โดยให้สวมสายสะพายทับเสื้อตัวในโดยไม่สวมสายสร้อย
          ข้อ ๒๘ การแต่งกายเครื่องแบบสโมสรที่มีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานโดยไม่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน
                    กรณีไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะ ให้แต่งกาย ดังนี้
                (๑) บุรุษ เครื่องแบบขอเฝ้า (เต็มยศ)
                (
๒) สตรี ชุดไทย
หมวด
การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชุดสากลและชุดไทย

         
ข้อ ๒๙ การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชุดสากลให้ประดับที่ปกเสื้อส่วนล่างเบื้องซ้ายของเสื้อชั้นนอก หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายตระกูลให้ประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเพียงตระกูลเดียว
          ข้อ ๓๐ การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชุดไทย ให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) บุรุษให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายบริเวณปากกระเป๋าเสื้อใกล้แนวรังดุมหากได้รับพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายตระกูล ให้ประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเพียงตระกูลเดียว
               การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ให้ประดับได้เฉพาะสำหรับเสื้อชุดไทยสีพื้น
               (๒) สตรี ให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายตระกูล
ให้ประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเพียงตระกูลเดียว
               การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ให้ประดับได้เฉพาะสำหรับชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอัมรินทร์ และชุดไทยบรมพิมาน
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตรา
ที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศร่วมกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย
          ข้อ ๓๑ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์  เครื่องอิสริยาภรณ์  เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศซึ่งมีระเบียบข้อบังคับของต่างประเทศให้ประดับได้จะต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับได้ในโอกาสอันควรก่อน ได้แก่ การต้อนรับพระราชอาคันตุกะ อาคันตุกะ หรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศนั้น
          ข้อ ๓๒ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหรือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทยไว้ในลำดับสูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศ แล้วแต่กรณี แต่การประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย ให้ประดับไว้ในลำดับต่ำกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
               กรณีที่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราไปในงาน หรือโอกาสที่ประมุขต่างประเทศของประเทศใดประเทศหนึ่งมาเยือนประเทศไทยให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศของประเทศนั้นไว้ในลำดับสูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหรือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย แล้วแต่กรณี
          ข้อ ๓๓ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศ ที่มีวิธีการประดับแตกต่างกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหรือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทยแล้วแต่กรณีให้ประดับร่วมกันได้

หมวด ๑๐
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยของชาวต่างประเทศ

         
ข้อ ๓๔ ชาวต่างประเทศจะมีสิทธิในการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ไทย ตามความในข้อ ๗
          ข้อ ๓๕ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยของชาวต่างประเทศ ให้นำความในข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ข้อ ๓๖ การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยของชาวต่างประเทศ ให้แต่งกาย ดังนี้
                  (๑) บุรุษ แต่งเครื่องแบบขอเฝ้า เครื่องแบบ ชุดประจำชาติพิธีการ ชุดราตรีสโมสร หรือชุดสากล แล้วแต่กรณี
                  (
๒) สตรี แต่งชุดไทย เครื่องแบบ ชุดประจำชาติพิธีการ ชุดราตรียาวสุภาพ หรือชุดสุภาพแล้วแต่กรณี
          ข้อ ๓๗ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยร่วมกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับของประเทศที่ชาวต่างประเทศนั้น ๆ ถือสัญชาติอยู่ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการประดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับของประเทศนั้นๆ กำหนดไว้ เว้นแต่ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้ จึงให้นำความในหมวด ๙ มาใช้บังคับในลักษณะถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
                    ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑
  ชวน หลีกภัย
   (
นายชวน  หลีกภัย)  
  
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ   ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑