วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์



ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
พ.ศ. ๒๕๔๑ 

         
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซึ่งใช้แก่บุคคลทั่วไปที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
          ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๑"
          ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑ เป็นต้นไป
          ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๓๖
          บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ระเบียบนี้กำหนดให้ใช้แก่บุคคลทั่วไป ส่วนการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ให้เป็นไปตามราชนิยม
          ข้อ ๕ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาในทางปฏิบัติตามระเบียบนี้ หากไม่ได้ข้อยุติ ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย คำวินิจฉัยของนายกรัฐมนตรี ให้ถือเป็นที่สุด
หมวด
บททั่วไป

         
ข้อ ๖ ตามระเบียบนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ความหมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยและเหรียญ
ราชอิสริยาภรณ์ไทย เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
          ข้อ ๗ สิทธิของบุคคลในการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเภท ตระกูล และชั้นตราใด ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น
          ข้อ ๘ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับตามที่หมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุไว้โดยให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยและที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
          ข้อ ๙ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่บุรุษ แบ่งตามชนิดและลักษณะของการประดับ
โดยเรียงตามประเภท ตระกูล และชั้นตราสูงสุด ตามลำดับดังนี้
     ก. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (มีสายสร้อย)
                (
๒) เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายหน้า
       (
มีสายสร้อย)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ฝ่ายหน้า
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๑ ชนิดที่ ๑
              (
ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ/มีสายสร้อย)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๑ ชนิดที่ ๒ (ปฐมจุลจอมเกล้า/มี      สายสร้อย)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๑ (เสนางคะบดี)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด (มหาวชิรมงกุฎ)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์ช้างเผือก)
                (๑๐) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๑๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๑ (ปฐมดิเรกคุณาภรณ์)
     ข. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๒ ชนิดที่ ๑ (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๒ (มหาโยธิน)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๒ (ทุติยดิเรกคุณาภรณ์)
      ค. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอไม่มีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๒ ชนิดที่ ๒ (ทุติยจุลจอมเกล้า)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๓ (โยธิน)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๓
              (
ตติยดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
     ง. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อ
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๓ ชนิดที่ ๑
              (
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๔ (อัศวิน)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๓ ชนิดที่ ๒ (ตติยจุลจอมเกล้า)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๔
              (
จตุตถดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นที่ ๓ ชนิดที่ ๓ (ตติยานุจุลจอมเกล้า)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๑๐) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๕
             (
เบญจมดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๑๑) เหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ
          ข้อ ๑๐ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่สตรี แบ่งตามชนิดและลักษณะของการประดับ
โดยเรียงตามประเภท ตระกูล และชั้นตราสูงสุด ตามลำดับ ดังนี้
          ก. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (มีสายสร้อย)
                (
๒) เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายใน
              (
มีสายสร้อย)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ฝ่ายใน
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๑ (ปฐมจุลจอมเกล้า)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด (มหาวชิรมงกุฎ)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๑ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๑
              (
ปฐมดิเรกคุณาภรณ์)
                ข. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายไม่มีดารา ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้นที่ ๒  ชนิดที่ ๑ (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)
              ค. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อมีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๒ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๒
             (
ทุติยดิเรกคุณาภรณ์)
           ง. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอไม่มีดารา ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
                จ. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อไม่มีดารา ได้แก่
                (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๒ ชนิดที่ ๒ (ทุติยจุลจอมเกล้า)
                (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๓ (ตริตาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๓
              (
ตติยดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๓ (ตติยจุลจอมเกล้า)
                (
๖) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๗) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๔ (จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๘) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๔
              (
จตุตถดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ชั้นที่ ๔ (จตุตถจุลจอมเกล้า)
                (
๑๐) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์ช้างเผือก)
                (
๑๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ (เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย)
                (
๑๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๕
             (
เบญจมดิเรกคุณาภรณ์)
                (
๑๓) เหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

         
ข้อ ๑๑ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ได้รับพระราชทานเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานมิให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นก่อนกำหนดเวลาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทาน
               หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานแล้ว แต่ไม่สามรถเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานได้จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้นับตั้งแต่ผ่านพ้นพิธีพระราชทานแล้ว เว้นแต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสต่อไป จึงให้นำความในวรรคแรกมาใช้บังคับโดยอนุโลม
               หากมีความจำเป็นไม่สามารถรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวันพิธีพระราชทานได้ในกรณีใดก็ตาม จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้ นับตั้งแต่สุดพิธีพระราชทาน
               (๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่น ๆ ให้ประดับได้ตั้งแต่วันเนื่องในโอกาสพระราชทานหรือ ตั้งแต่วันที่มีประกาศของทางราชการแล้วแต่กรณี
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบเต็มยศ

         
ข้อ ๑๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อและชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อเครื่องแบบให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) บุรุษ ให้ประดับไว้เหนือปกกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้ายต่ำกว่าแนวรังดุมเม็ดที่หนึ่งลงมา โดยให้ดวงตราอยู่ระหว่างขอบบนปกกระเป๋าเสื้อพองามและให้เรียงลำดับเกียรติจากด้านรังดุมไปทางเบื้องซ้าย
               (
๒) สตรี ให้ประดับไว้ที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้ายพองาม โดยให้เรียงลำดับเกียรติจากด้านรังดุมลดหลั่นไปปลายบ่าซ้าย
          ข้อ ๑๓ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอไม่มีดารา ให้คล้องไว้ในปกเสื้อโดยให้ห่วงและแพรแถบห้อยดวงตราออกมานอกเสื้อระหว่างตะขอตัวล่างที่ขอบคอเสื้อกับกระดุมเม็ดที่หนึ่งพองามและให้ส่วนสูงสุดของดวงตราจรดขอบล่างของคอเสื้อ หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมากกว่า ๒ ดวง เพื่อความเรียบร้อยสวยงามควรประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทานเพียง ๒ ดวง โดยประทับดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สอง ให้แพรแถบลอดออกมาระหว่างกระดุมเม็ดที่สอง กับขอบล่างของรังดุมพองาม

          ข้อ ๑๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดาราและชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อมีดาราให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) บุรุษ การประดับดวงตราให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑๓ ส่วนดาราให้ประดับไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายระดับใต้ชายปกกระเป๋า
                    
กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดารามากกว่า ๑ ดวง เพื่อความเรียบร้อยสวยงามควรประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตราเดียวกับดวงตราที่คล้องคอเพียง ๒ ดวง โดยให้ประดับดาราในลำดับเกียรติที่สูงกว่าตามวรรคหนึ่งส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองให้ประดับในระดับต่ำกว่าหรือเยื้องไปเบื้องซ้ายพองาม
               (
๒) สตรี การประดับดวงตราให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๑๒ (๒) ส่วนดาราให้ประดับไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายโดยเทียบเคียงในตำแหน่งและระดับเดียวกับบุรุษ
                    
กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อมีดารา ๒ ดวง ให้ประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตราเดียวกับที่ประดับหน้าบ่าเสื้อ โดยให้ประดับดาราตาม (๑) วรรคสองหากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวมากกว่า ๒ ดวง ให้ประดับดาราตามข้อ ๑๕ (๒) หรือข้อ ๑๕ (๓) แล้วแต่กรณี
          * เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กำหนดให้ประดับดาราไว้ที่อกเสื้อเบื้องขวาให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับ
          ข้อ ๑๕ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพาย ให้สวมสายสะพายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ๆส่วนการประดับดาราให้ยึดแนวรังดุมเป็นหลัก โดยให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ใกล้แนวรังดุม ส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติรองลงไป ให้ประดับต่ำกว่าหรือเยื้องไปเบื้องซ้ายของลำตัวลดหลั่นกันไป โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
                 (๑) กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีดาราไม่เกิน ๒ ดวง ให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายใต้ชายปกกระเป๋าและให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองในระดับต่ำกว่าหรือเยื้องไปเบื้องซ้ายพองาม
                 (
๒) กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีดารา ๓ ดวง ให้ประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายใต้ชายกระเป๋า ส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองให้ประดับในระดับต่ำกว่าดาราดวงแรกเยื้องไปใกล้แนวรังดุมและดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สามให้ประดับในแนวระดับเดียวกับดาราดวงที่สองเยื้องไปทางซ้ายโดยให้มีระยะห่างกันพองาม
                 (
๓) กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีดารา ๔ ดวง หรือมากกว่า อาจพิจารณาประดับเพียง ๔ ดวง ตามความเหมาะสม โดยประดับดาราที่มีลำดับเกียรติสูงสุดไว้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายใต้ชายปกกระเป๋า ดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สองให้ประดับในระดับต่ำกว่าดาราดวงแรกเยื้องไปใกล้แนวรังดุม ส่วนดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สามให้ประดับในแนวระดับเดียวกับดาราดวงที่สองเยื้องไปทางซ้าย และดาราที่มีลำดับเกียรติสูงเป็นลำดับที่สี่ ให้ประดับไว้เบื้องล่างสุดตรงกับดาราดวงแรก
โดยมีระยะห่างจากดาราดวงที่สองและดวงที่สามพองาม
                    
การประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพายร่วมกับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชนิดคล้องคอหรือชนิดประดับหน้าบ่าเสื้อ ให้นำความในข้อ ๑๔ มาใช้บังคับ
          ข้อ ๑๖ กรณีหมายกำหนดการระบุชนิดของสายสะพาย ให้สวมสายสะพายตามที่หมายกำหนดการระบุ โดยประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของแต่ละตระกูลที่ได้รับพระราชทานตามลำดับ
           ผู้ที่มิได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่หมายกำหนดการระบุไว้ ให้สวมสายสะพายชั้นสูงสุดหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน ส่วนการประดับดาราให้นำความตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับ
          ข้อ ๑๗ กรณีหมายกำหนดการมิได้ระบุชนิดของสายสะพาย ให้สวมสายสะพายที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานหากมิได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน
          ข้อ ๑๘ การประดับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ แม้จะสวมสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใดก็ตาม ต้องสวมสายสร้อยห้อยตรามหาจักรีกับประดับดาราจักรีด้วยทุกครั้ง
          ข้อ ๑๙ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ให้สวมสายสะพายเฉพาะงานที่เป็นมงคล หรือในงานที่หมายกำหนดการระบุไว้ หากไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ให้นำความใน
               
ข้อ ๑๖ วรรคสอง มาใช้บังคับ
          ข้อ ๒๐ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษหรือปฐมจุลจอมเกล้า ให้สวมสายสร้อยพร้อมดวงตราหรือสายสะพายพร้อมดวงตราอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่หมายกำหนดการระบุไว้ หากจะสวมสายสร้อยจุลจอมเกล้าร่วมกับการสวมสายสะพายให้สวมสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดอื่นที่ได้รับพระราชทาน
          กรณีหมายกำหนดการระบุให้สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า หากไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้าพิเศษ หรือปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ให้สวมสายสะพายที่มีลำดับเกียรติสูงสุดอื่นที่ได้รับพระราชทาน และหากไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน
          ข้อ ๒๑ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ควรสวมสายสะพายรามาธิบดีเฉพาะงานที่เกี่ยวกับราชการทหาร ซึ่งมีหมายกำหนดการระบุไว้โดยเฉพาะว่าให้สวมสายสะพายรามาธิบดี
          ข้อ ๒๒ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือกำหนดไว้
          กรณีสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษให้คล้องแพรแถบไว้ใต้ปกเสื้อเชิ้ตตัวในโดยให้ห่วงและแพรแถบห้อยดวงตราทับอยู่บนผ้าผูกคอ
          ข้อ ๒๓ กรณีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งกาย ด้วยเครื่องแบบเต็มยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประเภทหรือตระกูลใดก็ตาม หากผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะ ให้แต่งกาย ดังนี้
                (๑) บุรุษ แต่งเครื่องแบบขอเฝ้า (เต็มยศ)
                (
๒) สตรี แต่งชุดไทย
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบครึ่งยศ

         
ข้อ ๒๔ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบครึ่งยศ ให้ประดับเช่นเดียวกับการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบเต็มยศส่วนผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายให้ประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ไม่สวมสายสะพายและไม่สวมสายสร้อย เว้นแต่ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังต่อไปนี้
               (๑) เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายใน
               (
๒) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ฝ่ายใน
               (
๓) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๑ ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน
               (
๔) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๒ ทุติยจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน
         
ไม่ต้องประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว แต่ให้นำดวงตราห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอประดับที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้าย
         
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ จะประดับแต่งกายครึ่งยศเฉพาะงานที่เป็นมงคลเท่านั้น
         
กรณีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะ ให้นำความในข้อ ๒๓ มาใช้บังคับ
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบปกติขาว

         
ข้อ ๒๕ ให้ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้ายโดยไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เว้นแต่กำหนดนัดหมายของทางราชการระบุไว้เป็นอย่างอื่น
          กรณีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งกายเครื่องแบบปกติขาวประดับเหรียญให้ประดับเฉพาะเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานและเหรียญที่ระลึกโดยไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานและแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
          กรณีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว หากผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะให้แต่งกาย  ดังนี้
            (๑) บุรุษ เครื่องแบบขอเฝ้า (ปกติขาว)
            (
๒) สตรี ชุดไทย ไม่ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามความในวรรคหนึ่ง
หมวด
การประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติงาน

         
ข้อ ๒๖ การประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติงานของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทยและหน่วยงานต่างๆ ให้นำความในข้อ ๒๕ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบสโมสร

         
ข้อ ๒๗ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อสำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วนตามขนาดที่ทางราชการกำหนดที่ปกเสื้อเบื้องซ้ายของเสื้อชั้นนอก ใต้เครื่องหมายสังกัดพองามหากไม่มีเครื่องหมายสังกัด ให้ประดับที่ปกเสื้อพองาม
               (
๒) การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดาราสำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานโดยไม่ย่อส่วน หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอหรือชนิดคล้องคอมีดาราหลายดวง ให้ประดับเฉพาะเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดเท่านั้น โดยคล้องดวงตรา ให้แพรแถบอยู่ใต้ผ้าผูกคอ ส่วนดาราให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้านนอก
               (
๓) การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดสายสะพายสำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานโดยให้นำความในหมวด ๓ ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเครื่องแบบเต็มยศ ข้อ ๑๕ ถึง ข้อ ๒๑ มาใช้บังคับ โดยให้สวมสายสะพายทับเสื้อตัวในโดยไม่สวมสายสร้อย
          ข้อ ๒๘ การแต่งกายเครื่องแบบสโมสรที่มีหมายกำหนดการหรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานโดยไม่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน
                    กรณีไม่เป็นผู้ที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะ ให้แต่งกาย ดังนี้
                (๑) บุรุษ เครื่องแบบขอเฝ้า (เต็มยศ)
                (
๒) สตรี ชุดไทย
หมวด
การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชุดสากลและชุดไทย

         
ข้อ ๒๙ การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชุดสากลให้ประดับที่ปกเสื้อส่วนล่างเบื้องซ้ายของเสื้อชั้นนอก หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายตระกูลให้ประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเพียงตระกูลเดียว
          ข้อ ๓๐ การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชุดไทย ให้ปฏิบัติดังนี้
               (๑) บุรุษให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายบริเวณปากกระเป๋าเสื้อใกล้แนวรังดุมหากได้รับพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายตระกูล ให้ประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเพียงตระกูลเดียว
               การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ให้ประดับได้เฉพาะสำหรับเสื้อชุดไทยสีพื้น
               (๒) สตรี ให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายตระกูล
ให้ประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทานของตระกูลใดตระกูลหนึ่งเพียงตระกูลเดียว
               การประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ให้ประดับได้เฉพาะสำหรับชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอัมรินทร์ และชุดไทยบรมพิมาน
หมวด
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตรา
ที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศร่วมกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย
          ข้อ ๓๑ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์  เครื่องอิสริยาภรณ์  เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศซึ่งมีระเบียบข้อบังคับของต่างประเทศให้ประดับได้จะต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับได้ในโอกาสอันควรก่อน ได้แก่ การต้อนรับพระราชอาคันตุกะ อาคันตุกะ หรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศนั้น
          ข้อ ๓๒ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหรือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทยไว้ในลำดับสูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศ แล้วแต่กรณี แต่การประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย ให้ประดับไว้ในลำดับต่ำกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
               กรณีที่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราไปในงาน หรือโอกาสที่ประมุขต่างประเทศของประเทศใดประเทศหนึ่งมาเยือนประเทศไทยให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศของประเทศนั้นไว้ในลำดับสูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหรือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย แล้วแต่กรณี
          ข้อ ๓๓ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศ ที่มีวิธีการประดับแตกต่างกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหรือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทยแล้วแต่กรณีให้ประดับร่วมกันได้

หมวด ๑๐
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยของชาวต่างประเทศ

         
ข้อ ๓๔ ชาวต่างประเทศจะมีสิทธิในการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ไทย ตามความในข้อ ๗
          ข้อ ๓๕ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยของชาวต่างประเทศ ให้นำความในข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
          ข้อ ๓๖ การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยของชาวต่างประเทศ ให้แต่งกาย ดังนี้
                  (๑) บุรุษ แต่งเครื่องแบบขอเฝ้า เครื่องแบบ ชุดประจำชาติพิธีการ ชุดราตรีสโมสร หรือชุดสากล แล้วแต่กรณี
                  (
๒) สตรี แต่งชุดไทย เครื่องแบบ ชุดประจำชาติพิธีการ ชุดราตรียาวสุภาพ หรือชุดสุภาพแล้วแต่กรณี
          ข้อ ๓๗ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยร่วมกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับของประเทศที่ชาวต่างประเทศนั้น ๆ ถือสัญชาติอยู่ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการประดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องอิสริยาภรณ์ เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับของประเทศนั้นๆ กำหนดไว้ เว้นแต่ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้ จึงให้นำความในหมวด ๙ มาใช้บังคับในลักษณะถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
                    ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑
  ชวน หลีกภัย
   (
นายชวน  หลีกภัย)  
  
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ   ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

ไม่มีความคิดเห็น: