วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 2

๔.๔ “ การลวงเลียน” (DECEPTION) หมายถึงการกระทำใด ๆ ในการส่งข่าวลวงผ่ายเข้าไปในข่าวการสื่อสารของฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้หลงผิด สับสน หรือคิดว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน
๔.๕ “ การวิเคราะห์การรหัส” (CRYPTANALYSIS) หมายถึงการศึกษาพิจารณาระบบ วิธีการขอประมวลลับและรหัส เพื่อถอดให้เป็นข้อความธรรมดา
๔.๖ “การวิเคราะห์การรับ – ส่งข่าว” (TRAFFICANALYSIS) หมายถึงการศึกษาพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสาร ซึ่งได้แก่ปริมาณข่าว การเรียกขาน การโต้ตอบ เวลาติดต่อ ความถี่ความแรงและความสม่ำเสมอของสัญญาณ ฯลฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับการจัดและการปฏิบัติการของหน่วยรวมทั้งกิจการของระบบการสื่อสาร
๔.๗ “การสื่อสาร” (CCMMUNICATIONS) หมายถึงวิธีการส่งข่าวใด ๆ ที่ส่งเป็นข้อความธรรมดาหรือเข้าการรหัสซึ่งมิใช่เป็นการสนทนากันโดยตรง
๔.๘ “ข่าว” (MESSAGE) หมายถึงข้อความใด ๆ ที่เป็นข้อความธรรมดา หรือรหัส ที่ส่งด้วยวิธีการสื่อสารต่าง ๆ
๔.๙ “นามเรียกขาน” (CALL SIGN) หมายถึงการนำตัวอักษรหรือตัวเลข รวมทั้งคำพูดมาใช้แทนชื่อสถานีหรือข่ายสถานีในการปฏิบัติการสื่อสารในการส่งข่าว
๔.๑๐ “ประมวลลับ” (CODE) หมายถึงการนำตัวอักษร ตัวเลข คำพูด สัญญาณ สัญญลักษณ์ มาใช้แทนความหมายอันแท้จริงตามที่ตกลงกันไว้เพื่อรักษาความลับในการส่งข่าว
๔.๑๑ “รหัส” (CIPHER) หมายถึงการใช้อักษรและหรือตัวเลขแทนอักษรหรือตัวเลขในข้อความธรรมดาด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อรักษาความลับในการส่งข่าว
๔.๑๒ “การรหัส” (CRYPTOGRAPHY) หมายถึงการใช้ประมวลลับและหรือรหัสแทนข้อความหรือข่าวสารที่เป็นความลับ
๔.๑๓ “ผู้ให้ข่าว” (MESSAGE ORIGNATOR) หมายถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ รวมทั้งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจที่สั่งให้ส่งข่าวไป
๔.๑๔ “ผู้เขียนข่าว” (MRITER) หมายถึงเจ้าหน้าที่ที่ได้รับคำสั่งจากผู้ให้ข่าวให้จัดทำข่าว ผู้เขียนข่าวอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ให้ข่าวก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: