วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 8

๑๓.๓.๔.๕ ให้มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ เวลารับ - ส่งข่าวและนามเรียกขานอยู่เสมอโดยไม่เป็นระบบ
๑๓.๓.๔.๖ ให้ใช้การรับรองฝ่ายในกรณีต่อไปนี้
๑๓.๓.๔.๖.๑ เมื่อสงสัยว่าจะถูกลวงเลียน
๑๓.๓.๔.๖.๒ เมื่อเริ่มเปิดการติดต่อหรือเปลี่ยนความถี่ทุกครั้ง
๑๓.๓.๔.๖.๓ เมื่อจำเป็นจะต้องส่งข่าวในระหว่างการห้ามส่งวิทยุ
๑๓.๓.๔.๗ ต้องรักษาวินัยในการใช้วงจรการสื่อสารโดยให้ปฏิบัติตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
๑๓.๓.๔.๘ ข่าวที่ส่งต้องสั้น ถ้าจำเป็นต้องส่งข่าวยาวที่ไม่มีความเร่รงด่วนให้แบ่งส่งเป็นตอน ๆ โดยใช้ห้วงระยะเวลาที่ไม่ต่อเนื่องกัน
๑๓.๓.๔.๙ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสื่อสารจัดให้มีการเฝ้าฟังและแก้ไขการละเมิดการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร

บทที่ ๓
การรักษาความปลอดภัยทางการรหัส
๑๔ คำจำกัดความ การรักษาความปลอดภัยทางการรหัส หมายถึงมาตรการ ที่กำหนดขึ้นสำหรับปฏิบัติต่อข่าวที่มีชั้นความลับ โดยการนำเอาระบบการรหัสที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไปใช้อย่างถูกต้องเพื่อป้องกันมิให้เผยแก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่
๑๕. ระบบการรหัส
๑๕.๑ การรหัส แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑๕.๑.๑ ประมวลลับ
๑๕.๑.๒ รหัส
๑๕.๒ ลำดับความปลอดภัยของระบบการรหัส มีดังนี้
๑๕.๒.๑ การใช้เครื่องรหัสประกอบร่วมอยู่ในวงจร
๑๕.๒.๒ การใช้รหัสแยกวงจร
๑๕.๒.๓ การใช้ประมวลลับ
๑๕.๓ การเลือกใช้ระบบการรหัส
๑๕.๓.๑ ข่าวชั้น “ลับที่สุด” และ “ลับมาก” ให้ใช้ระบบการรหัสตามข้อ ๑๕.๒.๑ หรือ ๑๕.๒.๒
๑๕.๓.๒ ข่าวชั้น “ลับ” และ “ปกปิด” ให้เลือกใช้ระบบการรหัสตามข้อ ๑๕.๒ โดยอนุโลม

ไม่มีความคิดเห็น: