วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบ ฯ ความปลอดภัยแห่งชาติ 2525 ตอน 4

บทที่ ๑
กล่าวทั่วไป
๕. คำจำกัดความ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร (COMMUNICATIONSECURITY) หมายถึงการใช้มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อความคุมพิทักษ์รักษา และป้องกันมิให้ความลับของทางราชการอันเนื่องมาจากการสื่อสารรั่วไหล หรือรู้ไปถึงหรือตกไปอยู่กับบุคคลผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ หรือฝ่ายตรงข้าม
๖. หลักการทั่วไป ให้ยึดถือหลักการการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสารตามแนวทางต่อไปนี้
๖.๑ บุคคลที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสื่อสาร จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการรับรองความไว้วางใจตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ บทที่ ๓ และต้องผ่านการอบรมการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสารมาแล้ว
๖.๒ การดำเนินการต่อข่าวที่มีชั้นความลับ ซึ่งจะส่งด้วยเครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับประมวลลับหรือรหัส จะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ บทที่ ๔
๗. ประเภทและความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร
๗.๑ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๗.๑.๑ การรักษาความปลอดภัยในการส่งข่าว
๗.๑.๒ การรักษาความปลอดภัยทางการรหัส
๗.๑.๓ การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ทางการสื่อสาร
๗.๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร รวมทั้งนายทะเบียนวัสดุลับทางการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ควบคุมการรหัส และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสารได้ตามความจำเป็น (บทที่ ๕ บทผนวก)
๘. การพิจารณาในกรณีละเมิดการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร
การละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร ซึ่งจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนา หรือการละเมิดนั้นจะเกิดความเสียหายหรือยังไม่เกิดความเสียหายต่อความลับของทางราชการ ให้ถือเป็นความผิดต้องถูกพิจารณาโทษทางวินัย หรือโทษทางอาญาได้ตามความเหมาะสมแห่งสภาพของความผิดในการละเมิดนั้น
หัวหน้าส่วนราชการจะต้องรับผิดชอบที่จะพิจารณาดำเนินการลงทัณฑ์หรือดำเนินคดีทางอาญาตามความผิด

ไม่มีความคิดเห็น: