วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 7

หลักการจัดคลังมี ๘ ข้อ คือ
๑ จะต้องป้องกันพัสดุไม่ให้ถูกขโมย และความเสียหายต่าง ๆ
๒ จัดวางพัสดุให้ง่ายต่อการนำออกจ่ายและเก็บ
๓ จะต้องจัดวางพัสดุให้พร้อมตรวจสอบและตรวจนับ
๔ ไม่ปล่อยให้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้เหลืออยู่
๕ เก็บพัสดุไม่ให้เกินความสามารถของพื้นคลัง
๖ กองพัสดุต้องไม่กีดขวางระบบดับเพลิงและเครื่องมือดับเพลิง
๗ วางพัสดุแยกตามชนิดและย่อยออกไปตามรายการต่าง ๆ
๘ แยกเก็บพัสดุติดไฟและวัตถุระเบิด
ข้อ ๘ ช่องทางโดยทั่วไป ช่องทางเดินทุกชนิดต้องเป็นเส้นตรง ควรตรงออกสู่ประตูเสมอและต้องผ่านพัสดุให้มากรายการที่สุด ช่องทางที่ใช้ในการจัดของ ทร. มี ๕ ชนิด
๑ ช่องทางใหญ่ ทอดตามความยาม มีจำนวน ๒ ทาง กว้าง ๑๐ – ๑๒ ฟุต ขึ้นกับเครื่องมือที่ใช้
๒ ช่องทางขวาง ทอดไปตามความกว้างขวางทางเดินใหญ่ มี ๒ ทาง กว้างประมาณ ๖ ฟุต พอที่รถยก๑ คันทำงานได้
๓ ช่องทางบุคคล ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรมีเพราะเปลืองพื้นที่
๔ ช่องทางดับไฟ จำเป็นสำหรับคลังทุกคลัง แต่ต้องมีให้น้อยและแคบที่สุด กว้างไม่เกิน ๒๔ นิ้ว
๕ ช่องทางบริการเป็นช่องทางที่เข้าถึงพัสดุเพื่อตรวจนับ ตรวจคุณภาพ ช่องทางนี้ไม่จำเป็น จัดเฉพาะพัสดุพิเศษ
ข้อ ๙ หลัก ๓ ประการในการเก็บรักษาพัสดุ คือ
๑ ความปลอดภัย สำคัญประการแรกที่สำคัญ เก็บพัสดุไม่ให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือพัสดุชำรุดเสียหาย
๒ เข้าถึงพัสดุ เพื่อสะดวกในการจ่ายและเก็บโดยมีหลักการคือ พัสดุจ่ายเสมอเอาไว้ใกล้เคาเตอร์ ไม่วางพัสดุต่างชนิดซ้อนกันหรือวางข้างหลัง และ การหมุนเวียนการจ่าย คือ รับก่อนจ่ายก่อน
๓ ความเป็นระเบียบ โดยใช้อุปกรณ์ในการเก็บ คือ ขนาดเล็กเก็บใน bin , พัสดุเป็นโลหะท่อนเก็บไว้บนชั้น , พัสดุพวกเชือกที่เป็นขดเก็บในกระบะ , พัสดุที่บรรจุหีบเก็บในชั้นโครง

ข้อ ๑๐ อุปกรณ์การจัดวาง แบ่งออกเป็น ๖ ชนิดคือ
๑ ตู้ลิ้นชักเก็บของ โดยทั่วไป มีขนาด ๓๖x ๘๗x๘๗ ลึก ๑๘ นิ้ว และมี ๑๒ ลิ้นชัก
๒ ช่องเก็บพัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือแท่งยาว
๓ กระบะหรือ พาลเลท คือ กระบะแบน ขนาด ๔๘x๔๘ นิ้ว กระบะโครงรูปหีบปิด ขนาด ๔๐x๔๘x๔๕ นิ้ว และ
กระบะรูปโครงหีบเปิด , กระบะรูปตัวยู ใช้กับพัสดุซ้อนด้วยตัวเองสูงไม่ได้
๔ กรอบไม้ ใช้สวมตอนบนของพัสดุ
๕ แผ่นไม้กันกลิ้ง
๖ ชั้นโครง ใช้สำหรับสอดกระบะแบนที่เก็บพัสดุ

ข้อ ๑๑ แผนการจัดคลัง โดยทั่วไปมี ๓ วิธีคือ
๑ การจัดเก็บพัสดุตามความคล้ายคลึง คือจัดเก็บตามจำพวก หรือ จัดเรียงตามประเภท
๒ การจัดเก็บพัสดุตามความนิยม คือ จัดตามความเคลื่อนไหวหรือการหมุนเวียนของพัสดุแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ
๑ หมุนเวียนในการจ่ายช้า คือ ไม่ค่อยจ่าย หมดเปลืองช้า ส่วนมากประเภท ครุภัณฑ์
๒ หมุนเวียนในการจ่ายปานกลาง คือ ไม่จ่ายบ่อยนัก หมดเปลืองช้า เช่น เชือก ลวด
๓ หมุนเวียนในการจ่ายเร็ว คือ จ่ายเสมอ ๆ หมดเปลืองเร็ว เช่น กระดาษ ดินสอ
๓ การจัดวางตามขนาด เนื่องจากระดับปริมาณพัสดุเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเสมอ มี ๔ ขนาด คือ
๑ กองขนาดใหญ่ ๒ กองขนาดกลาง ๓ กองขนาดเล็ก ๔ พัสดุใส่ใน

ไม่มีความคิดเห็น: