วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยการลา พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอน 8

๑๐๙.หน่วยกำลังรบ หมายความว่า หน่วยที่มีกำลังและสมรรถภาพที่จะทำการรบได้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยที่มีภารกิจทางยุทธวิธี หรือไม่มีภารกิจทางยุทธวิธี แต่มีอาวุธยุทโธปกรณ์สามารถปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีได้
๑๑๐. การเตรียมพร้อม แบ่งออกเป็น ๓ ขั้น คือ ๑. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๑ , ๒ เตรียมพร้อมขั้นที่ ๒ , ๓. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๓
๑๑๑. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๑ เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีการคุกคามภายนอกราชอาณาจักรด้วยกำลังทหาร หรือมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมือง และด้านมวลชน เพื่อก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจีกรเป็นครั้งคราวหรืออย่างต่อเนื่อง
๑๑๒. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๒ เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุยืนยันการเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากขั้นที่ ๑ ว่าน่าจะเกิดการคุกคามจากนอกประเทศเพิ่มขึ้นหรือมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองและด้านมวลชนต่อเนื่องจากขั้นที่ ๑ และเริ่มมีแนวโน้ม ที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบของมวลชนขึ้นไม่ว่าเฉพาะตำบลหรือโดยทั่วไป
๑๑๓. เตรียมพร้อมขั้นที่ ๓ เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุอย่างแน่ชัดรวมทั้งการเคลื่อนไหวทางด้านกำลังทหารจากนอกราชอาณาจักรในลักษณะการรุกราน หรือการปฏิบัติการเชิงรุก ทั้งอย่างจำกัดและกว้างขวาง หรือเหตุการณ์ภายในได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจต้องใช้อำนาจตามกฎหมาย และใช้กำลังจนสุดความสามารถแล้วแต่ยังไม่สามารถระงับการขยายตัวแห่งความไม่สงบสุขได้
๑๑๔. การเตรียมพร้อมให้สั่งการด้วยหนังสือ เว้นแต่กรณีจำเป็นอาจสั่งการด้วยวาจาหรือเครื่องมือสื่อสาร แล้วให้มีหนังสือยืนยันโดยเร็วที่สุด
๑๑๕. การลาในระหว่างการเตรียมพร้อม การลาแต่ละครั้งให้พิจารณาอนุญาตได้ไม่เกิน ๗ วัน การลาต่อหรือเกิน ๗ วัน ต้องได้รับอนุญาตจากกองทัพเรือ
๑๑๖. การลาในขณะเตรียมพร้อมขั้นที่ ๑ ให้ผู้บังคับบัญชาระดับผู้บังคับการกรม ผู้บังคับหมวดเรือ ผู้บังคับการกองบิน หรือเทียบเท่า เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๑๑๗. การลาในขณะเตรียมพร้อมขั้นที่ ๒ ให้หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๑๑๘. การลาในขณะเตรียมพร้อมขั้นที่ ๓ ต้องได้รับอนุญาตจากกองทัพเรือ
๑๑๙. เหตุที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการรายงานด่วนคือ
๑. เรื่องที่เกี่ยวกับความประพฤติของทหาร ซึ่งเป็นไปในทางเสื่อมเสียเกียรติ หรือชื่อเสียงของทหารอย่างร้ายแรง หรือต้องหาในคดีอาญาเป็นคดีอุกฉกรรจ์
๒. เรื่องทหารถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส เนื่องจากทำลายชีวิตของตนเอง
๓. เมื่อเกิดโจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย การก่อวินาศกรรม หรือเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ขึ้นในบริเวณสถานที่ของราชการ หรือเรือ หรืออากาศยาน จนเป็นอันตรายแก่ชีวิต มนุษย์ หรือเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทรัพย์สินของทางราชการ
๔. เหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาท จนถึงใช้อาวุธทำการต่อสู่กันขึ้นในหมู่ทหารด้วยกันเอง หรือกับบุคคลอื่นจนถึงแก่ความตาย
๕. เมื่อเกิดโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร
๖. เมื่อเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ขึ้นแก่ทหาร จนถึงแก่ความตาย เช่น ถูกอาวุธ หรือกระสุนปืน ตกจากที่สูง รถคว่ำ เรือล่ม อากาศยานประสบอุบัติเหตุ
๗. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ อย่างร้ายแรง
๘. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกองทหาร เช่น มีผู้มาชักชวนให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือมีผู้คิจะทำร้ายผู้บังคับบัญชา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: