วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อบังคับ กลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด ๒๔๙๕ ตอน 2

3. ออกจากราชการเพราะมีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก.ทุจริตต่อหน้าราชการ
ข. กระทำความผิดต้องรับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดอันต้องระวางโทษ ไม่เกินลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เสียหายแก่ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
ค. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นคนล้มละลาย เพราะทำหนี้สินขึ้นด้วยความทุจริตหรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่ง อันแสดงว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งตำแหน่งหน้าที่อย่างร้อยแรง
ง. ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้อยแรง
จ. เปิดเผยความลับของทางราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
ฉ. ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
ช. ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป
ซ. หนีราชการทหารในเวลาประการ
ณ. ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
การออกจากราชการเพราะมีความผิดซึ่งไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตาม ข. และ ค. ให้ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตั้งแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่ถ้าเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการอยู่ก่อนแล้ว ให้ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตั้งแต่วันสั่งพักราชการ
๒. เกณฑ์คำนวณเบี้ยหวัดนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ ๗ ให้คำนวณตามส่วนแบ่งของเงินเดือนสุดท้าย โดยจ่ายเป็นรายเดือนดังนี้
๑. มีเวลาราชการไม่ถึง ๑๕ ปี ได้ ๑๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๒. มีเวลาราชการ ๑๕ ปี แต่ไม่ถึง ๒๕ ปี ได้ ๒๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๓. มีเวลาราชการ ๒๕ ปี แต่ไม่ถึง ๓๐ ปี ได้ ๓๐ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๔. มีเวลาราชการ ๓๐ ปี แต่ไม่ถึง ๓๕ ปี ได้ ๓๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๕. มีเวลาราชการ ๓๕ แต่ ถึง ๔๐ ปี ๓๕ หาร ๕๐ ของเงินเดือน
๖. มีเวลาราชการเกินกว่า ๔๐ ปี ขึ้นไป ให้แบ่งเป็นห้าสิบส่วนคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ เบี้นหวัดให้จำกัดจำนวนอย่างสูงไม่เกินเงินเดือนสุดท้าย

ไม่มีความคิดเห็น: