วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การจัดคลังและการเก็บรักษาพัสดุ ตอน 8

ข้อ ๑๒ ที่เก็บพัสดุตามคุณลักษณะเฉพาะ มี ๓ วิธีคือ
๑ พัสดุอันตราย เช่น ฟอสฟอรัสเก็บในน้ำ และ เอซิติลิน เก็บในที่แห้ง ไม่เช่นนั้นไปลุก
๒ พัสดุมีราคา เช่น นาฬิกา เครื่องเงิน ของที่ระลึก เก็บในที่ควบคุมความปลอดภัย
๓ พัสดุเสื่อมคุณสมบัติได้ง่าย ต้องทราบวิธีเก็บรักษาโดยเฉพาะ เช่นต้องเก็บในห้องเย็นหรือสถานที่ควบคุมอุณหภูมิ
ข้อ ๑๓ ทิศทางในการเก็บพัสดุ ทิศทางในการเก็บพัสดุเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดพื้นที่คลัง
๑ วิธีกอง คือ จัดวางในพาลเลทให้แน่น
๒ วางพาลเลทจากกำแพงก่อนเสมอ ซ้อนให้สูงที่สุดแล้วเรียงเข้าหาทางเดิน โดยหันหน้าออกทางเดินขวางเสมอ
๓ ความสูงเท่าที่พื้นคลังรับได้
๔ จัดวางแต่ละแถวให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
๕ พัสดุรายการใหญ่ส่วนมากให้กับคลังชั้นเดียวมาตรฐานคือ ขนาด ๒๐๐ x ๖๐๐ ฟุต
๒ ทิศทางการจัดวางในห้องพื้นที่ขนาดใหญ่ คือ
๑ แถวขวาง หันหลังชนกันเป็นแนวขนานกับความยาว
๒ การใช้เส้นทางถ้าไม่ค่อยได้ใช้งาน ทิศทางจะหันหลังออกสู่ทางเดินหลัก
๓ การขนออกจากกอง ขนที่ละแถวเริ่มจากทางเดินไปหาผนัง
๔ พัสดุรายการย่อย กองขนาดเล็กเก็บในชั้นเก็บของและวางติดกับทางเดินหลัก ความลึกของกองไม่เกิน ๑๐ ฟุต กองขนาดกลางหลังชนข้างกองใหญ่ ลึก ๑๐ – ๑๒ ฟุต
๓ การกำหนดทิศทางในการจัดวาง คือ
๑ วิธีทางถึงทาง ใช้กับพัสดุรายการเดียว
๒ หลังชนกัน ใช้กับพัสดุต่างรายการ และ
๓ หลังชนข้าง ให้กับพัสดุกองขนาดต่าง ๆ คละกัน
ข้อ ๑๔ พื้นที่สูญเปล่าแบบรวงผึ้ง คือ การเก็บพัสดุและนำออกจากกองทำให้เกิดพื้นที่ว่างแล้วไม่สามารถเก็บพัสดุอื่นได้ปกติเกิดจากการเก็บและเคลื่อนย้ายพัสดุไม่ถูกหลักการ ถ้าป้องกันไม่ได้ ก็ให้เกิดน้อยทีสุด ยึดหลักต่อไปนี้คือ
๑ จัดเก็บในแถวสั้น ๆ หลายแถว
๒ เรียงจากด้านหลัง
๓ เก็บให้สูงที่สุด
๔ วางแผนการจัดคลังใหม่ล่วงหน้า
๕ จัดพาลเลทให้แน่นที่สุด และ
๖ ขนพัสดุออกจากแถวให้หมดทีละแถว

ไม่มีความคิดเห็น: